ia

......หมวดสัตว์ปีก

หมวดสัตว์ปีกมีการเลี้ยงสัตว์ปีกในหมวด ได้แก่ นกกระทาไข่ ไก่ไข่ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงไก่พันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งบริการในการดำเนินการวิจัยของนักศึกษา และยังดำเนินการเลี้ยงสัตว์ปีกและเพิ่มความสามารถในการผลิต ทำให้มีรายได้เพิ่มจากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งของการผลิตในหมวด ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ของภาควิชาฯ เช่นโครงการสัตว์ปีกเชิงธุรกิจ ทำให้การสร้างรายได้ของหมวดไม่สูงมากนัก สำหรับส่วนของสมรรถนะการผลิตของหน่วยสัตว์ปีกมีดังนี้

จำนวนสัตว์ปัจจุบัน (สำรวจเมื่อ 31 ก.ค. 49)

จำนวน (สำรวจเมื่อ 31 ก.ค. 49)

ผลผลิตปี
2548-2549

เป้าหมายปี
2549-2550

เป้าหมายอีก
15 ปี

เพศผู้

เพศเมีย

นกกระทา

87

630

500

500

ไก่ไข่พันธุ์ ซีพีบราวน์

-

1,943

1,000

1,000

ไก่ไข่พันธุ์ โรดไอร์แลนแดง

15

78

100

100

ไก่ไข่พันธุ์ บาร์พลีมัทร็อค

10

84

100

100

ไก่ไข่พันธุ์ เล็กฮอร์นขาว

15

100

100

100

ไก่ลูกผสม (โรด X บาร์)

-

71

50

-

ทำลายไข้หวัดนก

-

-

-

-

ไก่พื้นเมือง

15

71

50

-

สมรรถนะการผลิต

จำนวนไข่นกกระทา (ฟอง)

48,943

40,000

40,000

จำนวนไข่ไก่พันธุ์ซีพีบราวน์ (ฟอง)

62,406

150,000

150,000

จำนวนไข่ไก่พันธุ์โรดไอร์แลนแดง (ฟอง)

8,398

8,000

8,000

จำนวนไข่ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค (ฟอง)

6,580

6,000

6,000

จำนวนไข่ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นขาว (ฟอง)

6,209

6,000

6,000

จำนวนไข่ไก่พันธุ์(โรด X บาร์) (ฟอง)

7,290

7,000

-

 

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                                                      33 ไร่     
อาคารโรงเรือนทดลอง พื้นที่รวมของอาคารประมาณ              5 ไร่

  1. โรงเรือนแม่พันธุ์ไก่ไข่
  2. โรงฟักไข่
  3. โรงเรือนไก่เนื้อระบบเปิด
  4. โรงเรือนไก่เนื้อระบบปิดปรับอากาศต้นแบบ
  5. โรงเรือนเป็ด/ห่าน
  6. โรงเรือนไก่ไข่ระบบปิดปรับอากาศ (ชำรุด)

ในส่วนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตลอดจนการบริการวิชาการด้านการฝึกอบรมต่างๆนั้น ทางหมวดสัตว์ปีกต้องเตรียมสัตว์ปีกประเภทแม่พันธุ์ไก่ไข่ 200 ตัว จำนวนลูกไก่เนื้อ 2,000 ตัว และไก่พื้นเมือง 500 ตัวต่อปี

 


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตสัตว์ปีกพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการจัดการเลี้ยงไก่เนื้อ และไก่ไข่เบื้องต้น การให้อาหาร การจัดการคอก การป้องกันกำจัดโรคสัตว์ปีกที่สำคัญเช่น ไข้หวัดนก เป็นต้น

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตสัตว์ปีก สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการจัดการการฟักไข่ การกกลูกไก่ การให้อาหารไก่เนื้อและไก่ไข่ การตรวจสุขภาพและการป้องกันโรคในสัตว์ปีก การฉีดยาให้วัคซีน การผสมเทียมสัตว์ปีก การถ่ายพยาธิ การตอน การวางแผนผังฟาร์ม ฝึกการเลี้ยงไก่เนื้อและการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 6 รายวิชา

ได้แก่ 117 101 การผลิตสัตว์เบื้องต้น, 117 331 กายวิภาคศาสตร์, 117 401 การผลิตสัตว์ปีก, 117 432 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง, 117 437 พฤติกรรมสัตว์, 117 439 การฟักไข่, 117 461 สุขศาสตร์สัตว์
เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการฟาร์มสัตว์ปีกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย การศึกษาโครงสร้างกายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ปีกเปรียบเทียบกับสุกร และสัตว์เคี้ยวเอื้อง ความแตกต่างของสายพันธุ์สัตว์ปีก การเก็บตัวอย่างเลือด การฝึกเลี้ยงไก่เนื้อจำนวน 20 ตัวต่อนักศึกษา 1 คน ตั้งแต่อายุ 1 วันจนถึงน้ำหนักส่งตลาด มีการฝึกวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการจัดการ จำนวนนักศึกษา 75 คน/วิชา และต้องเตรียมไก่เนื้อให้กับอาจารย์ผู้สอนไก่ไข่แม่พันธุ์ 200 ตัว/ปี และไก่เนื้อประมาณ 1,500 ตัว/ปี

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดสัตว์ปีกให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตสัตว์ปีกหลายชนิด ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด ห่าน และนกกระทา เช่น การจัดการลดปัญหาไข่ไม่มีเชื้อ อัตราการฟักออกต่ำ การใช้สมุนไพรเสริมสุขภาพการผลิต การลดต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ เป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 4-6 เรื่องต่อปี

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 4 คน, ปริญญาเอก จำนวน 4 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านสรีรวิทยา

การวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำน้ำเชื้อแช่แข็ง การจัดการด้านอาหารที่มีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ และระบบสรีรทางเดินอาหาร การใช้สมุนไพร เช่น ขมิ้นชันเพื่อลดความเครียดและลดการเกิดอนุมูลอิสระในไก่เนื้อ

งานวิจัยด้านการผลิตและโภชนศาสตร์สัตว์ปีก

ปัจจุบันหมวดสัตว์ปีกมีโครงการวิจัยทางด้านการใช้สมุนไพรในสัตว ์เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง สกว และ วช ที่เล็งเห็นประโยชน์ทางด้านการผลิตไก่เนื้อและไก่ไข่ที่ปลอดภัยจากสารปฏิชีวนะ และการจัดการสุขภาพของสัตว์ปีกด้วยสารธรรมชาติ โดยร่วมมือกับทางคณะสัตว์แพทย์และคณะเภสัชศาสตร์

งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์

ภาควิชาสัตวศาสตร์ได้รับโครงการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำและไก่พันธุ์ชีภายใต้การสนับสนุนของ สกว.-มหาวิทยาลัยขอนแก่น-และมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน เพื่อสร้างไก่พื้นเมืองที่มีการเจริญเติบโตดีมีรสชาติอร่อย มีความนุ่มเนื้อสูง เลี้ยงง่าย อัตราการตายต่ำ เหมาะแก่เกษตรกรและผู้ผลิตทางการค้า นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากโครงการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและสกว.ในการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการทนร้อน การมีพฤติกรรมก้าวร้าว (เพื่อการคัดเลือกไก่ชนที่มีลักษณะดี) พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเก่ง การฟักไข่ การให้ไข่ดก เป็นต้น


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดสัตว์ปีกมีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในหลายด้าน เช่น การผสมเทียมสัตว์ปีก การเลี้ยงไก่พื้นเืมือง โดยมีการจัดอบรมอย่างน้อย 1-2 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-30 คน

การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต

มีการสนับสนุนผลผลิตไข่ให้กับชมรมต่างๆของมหาวิทยาลัย เช่น ค่ายอาสาพัฒนา ชุมนุมสัตวศาสตร์ ค่ายสาธารณสุข ฯลฯ และกิจกรรมรับน้องของภาควิชาฯและคณะต่างๆ และมีการสนับสนุนไก่พื้นเมืองสู่เกษตรกร ผ่านโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพื้นที่เป้าหมาย ร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม โดยส่งเสริมแก่เกษตรกร โดยเป็นการบริการวิชาการในลักษณะบูรณาการผ่านทางการบริหารส่วนท้องถิ่น และกรมปศุสัตว์

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดสัตว์ปีกให้บริการด้านเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการผลิตสัตว์ปีกให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของผู้นำท้องถิ่น (อบต) นักวิจัยจากต่างประเทศ และผู้สนใจอื่นๆไม่ต่ำกว่า 100 คนต่อปี เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีระบบฟาร์มการผลิตไก่เนื้อระบบปิดปรับอุณหภูมิ (Evaporative cooling system) ที่ทันสมัยที่สุดเมื่อเทียบในหน่วยงานราชการ เป็นโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกขนาดย่อม มีประสิทธิภาพเทียบได้กับภาคเอกชน มีระบบการให้น้ำและอาหารอัตโนมัติ เป็นต้นแบบที่เกษตรกรสามารถเข้าชมได้เนื่องจากทางภาคเอกชนส่วนใหญ่ไม่สามารถให้บริการด้านนี้ได้ ให้บริการด้านการจัดการพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง การจัดการโรงฟัก การกก การเลี้ยงดูไก่รุ่น การผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ไก่พื้นเมือง โดยให้บริการทั้งเกษตรกร และนักวิชาการต่างมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ เช่น ลาว ภูฐาน เป็นต้น


แนวทางการพัฒนา

เนื่องจากแผนการผลิตสัตว์ปีกสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยในปัจจุบันนั้นจัดว่าเพียงพอเป็นไปตามแผนในแต่ละปี ทางหมวดสัตว์ปีกจึงเน้นนโยบายในการเพิ่มจำนวนไก่เนื้อด้านการผลิตเชิงธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้ตามนโยบายการพึ่งตนเองและเป็นการสร้างชื่อเสียงด้านการเป็นต้นแบบการผลิตจากโรงเรือนสัตว์ปีกระบบปิดต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัย แต่ยังขาดในงบประมาณบางส่วนเพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพเต็มที่ ได้แก่ 1) วางระบบรั้วเพื่อแยกส่วนเป็นฟาร์มสาธิตที่เป็นส่วนของการผลิตสัตว์ปีกออกจากส่วนของการผลิตสุกร และ 2) สร้างถนนลูกรังหรือลาดยางเชื่อมต่อจากทางเข้าสู่โรงเรือนและระหว่างโรงเรือนต่อโรงเรือน เนื่องจากต้องมีการใช้รถบรรทุกชนาดใหญ่เข้าขนไก่ออกจากโรงเรือนเมื่อครบรอบการผลิต ซึ่งมีไก่ประมาณ 20,000 ตัว ต่อรอบการผลิต และเนื่องจากในแต่ละปีจะมีการผลิตประมาณ 5-6 รอบ ดังนั้นสภาพถนนปัจจุบันที่ดินแดงไม่สามารรองรับได้


แผนที่หมวดสัตว์ปีก

ดูรายละเอัียดแผนที่หมวดสัตว์ปีก >> คลิ้กที่นี่


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดสัตว์ปีก >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2550
  • สอนวิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง/ปี รวมจำนวนนักศึกษา 380 คน
  • สอนวิชา 117 384 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง/ปี รวมจำนวนนักศึกษา 70 คน
  • สอนบทปฏิบัติการวิชา 117 401 การผลิตสัตว์ปีก ภาคปลาย จำนวนนักศึกษา 77 คน
  • บริการวิชา 117 411 ตัวอย่างไข่ไก่ ไข่นกกระทา
  • บริการวิชา 117 331 ลูกไก่ จำนวน 30 ตัว ไก่ไข่จำนวน 20 ตัว
  • บริการวิชา 117 461 การตรวจสุขภาพสัตว์ วัดอุณหภูมิ อัตราการหายใจ และสังเกตลักษณะภายนอกของสัตว์ จำนวน 300 ตัว
  • บริการวิชา 117 451 สำหรับผสมพันธุ์ พันธุ์ไก่โรดฯ พันธุ์ไก่บาร์ฯ พันธุ์ไก่เล็กฮอร์น จำนวน 300 ตัว นกกระทา 500 ตัว
  • บริการวิชา 117 452 สำหรับปรับปรุงพันธุ์ พันธุ์ไก่โรดฯ พันธุ์ไก่บาร์ฯ พันธุ์ไก่เล็กฮอร์น จำนวน 300 ตัว นกกระทา 500 ตัว
  • 2549
  • สอนวิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง/ปี รวมจำนวนนักศึกษา 278 คน
  • สอนวิชา 117 384 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง / ปี จำนวนนักศึกษา 70 คน
  • สอนบทปฏิบัติการวิชา 117 401 การผลิตสัตว์ปีก ภาคปลาย จำนวนนักศึกษา 76 คน
  • บริการวิชา 117411 การจัดการโรงฟัก และการฟักไข่ อ.สจี กัณหาเรียง ตัวอย่างไก่พ่อพันธุ์เพื่อศึกษาระบบสืบพันธุ์สัตว์ปีกเพศผู้จำนวน 2 ตัว และตัวอย่างไข่ไก่ ไข่นกกระทาชนิดละ 3 ฟอง
  • บริการวิชา 117331 อ.ยุพิน ผาสุข ไก่เล็กจำนวน 24 ตัว ไก่ไข่จำนวน 10 ตัว
  • บริการวิชา 117432 อ.เทวินทร์ วงษ์พระลับ รีดน้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์ จำนวน 15 ตัว
  • บริการวิชา 117461 สุขศาสตร์สัตว์ อ.ยุพิน ผาสุข การตรวจสุขภาพสัตว์ วัดอุณหภูมิ อัตราการหายใจและสังเกตลักษณะภายนอกของสัตว์ในโรงเรือนไก่ไข่ 7/13
  • บริการวิชา 117452 พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อ.ยุพิน ผาสุข พันธุ์ไก่ไข่ลูกผสม ไก่ไข่เล็กฮอนร์ ไก่ไข่โรดฯ นกกระทาญี่ปุ่น อย่างละ 20 ตัว
  • 2548
  • สอนวิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง/ปี รวมจำนวนนักศึกษา 240 คน
  • สอนวิชา 117 384 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้ง / ปี จำนวนนักศึกษา 74 คน
  • สอนบทปฏิบัติการวิชา 117 401 การผลิตสัตว์ปีก ภาคปลาย จำนวนนักศึกษา 59 คน
  • ให้ความอนุเคราะห์ไก่ไข่พันธุ์โรดฯ, บาร์ฯ, เล็กฮอร์น จำนวน 300 ตัว สำหรับการสอนวิชา 117 461 สุขภาพสัตว์
  • ให้ความอนุเคราะห์ไก่ไข่พันธุ์โรดฯ, บาร์ฯ, เล็กฮอร์น และนกกระทา จำนวน 1,500 ตัว สำหรับการสอนวิชา 117 452 พันธุ์ศาสตร์สัตว์และการผสมพันธุ์
  • ให้ความอนุเคราะห์ไก่ไข่พันธุ์โรดฯ, บาร์ฯ, เล็กฮอร์น จำนวน 500 ตัว สำหรับการสอนวิชา 117 451 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2550
  • ให้บริการโรงเรือนเปิด สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การใช้ประโยชน์ของสิ่งเหลือทิ้งจากระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง และกรดซิตริกเป็นอาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง ของ นางสาว ยุภาวรรณ ศรีชุบล่วง นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือน 1/18 สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ เรื่องผลของระดับเมล็ดงาดำ และระดับไขมันในอาหารต่อสมรรถนะการผลิตและคุภาพซากของไก่เนื้อของ นายสว่าง กุลวงษ์ นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือน 2/20 สำหรับงานวิจัย เรื่อง ศึกษารูปแบบการจัดการ การสุขาภิบาลสัตว์ปีกหลังบ้าน ที่ปราศจากโรคระบาดไข้หวัดนก ของ นายพิทักษ์ ศรีประย่า ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ให้บริการโรงเรือน 1/18 สำหรับงานวิจัยเรื่อง ผลของการเสริม...ในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก ปริมาณ และคุณภาพเนื้อในเป็ดเนื้อ ของ นายพิทักษ์ ศรีประย่า ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 2549
  • ให้บริการโรงเรือนไก่เนื้อ 4/40 สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลของการเสริมสารสกัดสมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis Paniculata) ในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพ และภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ ของ นางสาวกมลทิพย์ พิลาแดง นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการไก่พ่อพันธุ์โรงเรือน 7/13 สำหรับทำวิทยานิพนธ์ เรื่องการศึกษาการเก็บรักษาน้ำเชื้อไก่พื้นเมืองในรูปของการแช่แข็ง นายสราวุธ ศรีงาม นักศึกษาปริญญาเอก
  • ให้บริการโรงเรือนไก่พื้นเมือง และไก่พื้นเมืองตัวผู้และตัวเมีย สำหรับการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง อิทธิพลของวิธีการผสมพันธุ์ต่ออัตราการผสมติด อัตราการฟัก และสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองไทย Name:Sithixay Kaylath นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือนไก่เนื้อ 4/40 สำหรับทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การเสริมกล้วยดิบและใบฝรั่งผงในอาหารต่อสุขภาพ ภูมิคุ้มกันโรคในไก่เนื้อ นางสาวพุทธิพร สุรสอน นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือนเป็ด 2/20 สำหรับทำวิทยานิพนธ์ เรื่องผลของการใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูง และเอ็นไซม์ไฟเตส จากเชื้อรา นางสาวอุษณีย์ สร้อยเพชร นักศึกษาปริญญาโท
 
  • 2548
  • ให้ความอนุเคราะห์เลือดไก่ ไก่ไข่พันธุ์โรดไอแลน์แดง ไก่ไข่พันธุ์บราพลีมัทร็อกลาย ไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น จำนวน 30 ตัว สำหรับการทำปัญหาพิเศษเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบค่าโลหิตวิทยาพื้นฐานของไก่ไข่สามสายพันธุ์” ของนายจิรพงษ์ ตาแสง และ นายคัทตย์ ขันธ์ธา นักศึกษาปริญญาตรี
  • ให้บริการโรงเรือนไก่พื้นเมือง (1/18) สำหรับการทำวิจัยเรื่อง “อัตราส่วนที่เหมาะสมของไพลในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม” ของ ผศ.บงกช นพผล ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ให้บริการโรงเรือนไก่พื้นเมือง (1/18) สำหรับการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้มันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานในไก่ระยะเล็กและไก่ระยะไข่” ของนายธันวา ไวยบท นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือนเป็ด (2/20) สำหรับการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้มันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานในไก่ระยะเล็กและไก่ระยะไข่” ของนายธันวา ไวยบท นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือนไก่พื้นเมือง (5/43) สำหรับการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การใช้ใบมันสำปะหลังแห้งบดป่นเป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารที่มีต่อการย่อยได้ สมรรถนะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากเป็ดลูกผสม” ของนายกิตติศักดิ์ คำพะทา นักศึกษาปริญญาโท
  • ให้บริการโรงเรือนไก่พื้นเมือง (5/43) สำหรับการทำวิจัยเรื่อง “การใช้สมุนไพร กระเทียม ทดแทนยาปฏิชีวนะในอาหารไก่เนื้อ ไก่ไข่” ของรศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2550
  • อบรมเรื่องอาชีพทางการเกษตรรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง...ทหารกองประจำการมณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 60 คน ในระหว่าง วันที่ 19-23 มี.ค. 50 เรื่องการเลี้ยงไก่
  • 2549
  • นักศึกษาภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ วิชา 118427 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบบูรณาการชั้นปีที่ 4 จำนวน 35 คน ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. 2549 และวันที่ 30 มิ.ย. 2549
 
  • 2548
  • ให้ความอนุเคราะห์ไก่พ่อพันธุ์ จำนวน 40 ตัว สำหรับวิชา 715 542 การผสมเทียมและเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ให้ความอนุเคราะห์น้ำเชื้อไก่ แก่นายอุทิศ เชื้อบัณฑิตและนายวิทูลย์ คำกระจาย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (นักเรียน สควค.) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มีการศึกษาดูงานจากโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองบังคับการกรมทหารราบที่ 8 ค่ายสีหราชเดโชไชย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
  • มีการศึกษาดูงานการเลี้ยงไก่ไข่ ของนักเรียนระดับอนุบาล 2 พร้อม อาจารย์ จำนวน 100 คน โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2546)
  • ให้ความอนุเคราะห์พันธุ์นกกระทา จำนวน 250 ตัว สำหรับโรงเรียนคำม่วง จ.กาฬสินธุ์