1.
ชื่อโครงการ: 
บัณฑิตถ่ายทอดประสบการณ์การหางานทำ และแสดงความยินดีกับบัณฑิต
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 8. ศิษย์เก่าสัมพันธ์
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้ศิษย์เก่าร่วมพัฒนาคณะ ก้าวไปเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ
 
กลยุทธ์:  8.1 พัฒนาระบบประสานงานกับศิษย์เก่า
 
มาตรการ:  8.1.2 การส่งเสริมศิษย์เก่าให้เป็นทรัพยากรด้านการพัฒนานักศึกษา การสะท้อนผลหลักสูตร และการระดมทุนจากศิษย์เก่าเพื่อสนับสนุนกิจการของคณะเกษตรศาสตร์
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
กลยุทธ์:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
มาตรการ:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
:
7.
หลักการและเหตุผล
ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2510 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตทางการเกษตรออกไปรับใช้สังคม และร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งบัณฑิตของสาขาวิชาพืชไร่ มีส่วนร่วมสร้างชื่อเสียง จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่ใช้บัณฑิตเหล่านี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดให้มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2556 ในวันที่ 16 ธันวาคม 2556 และเพื่อเป็นการแสดงความภาคภูมิใจ ชื่นชมและยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ จึงพิจารณาเห็นควรให้จัดโครงการ “บัณฑิตถ่ายทอดประสบการณ์การหางานทำ และแสดงความยินดีกับบัณฑิต ”
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อร่วมแสดงความชื่นชมและยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่
2) เพื่อให้นักศึกษาได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากบัณฑิตฯ
3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างนักศึกษา และบุคลากรสาขาพืชไร่ทุกคน
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
จำนวน 230
บัณฑิตสาขาวิชาพืชไร่ จำนวน 73 คน มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพืชไร่ จำนวน 13 คน นักศึกษาปัจจุบันระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา จำนวน 114 คนคณาจารย์ และบุคลากร จำนวน 30 คน
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาปัจจุบันที่เข้าร่วมกิจกรรมมีแรงบันดาลใจที่จะมุมานะในการศึกษา
2) นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความภาคภูมิใจและเกิดความรักความผูกพันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
3) นักศึกษาปัจจุบันที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะในการวางแผนการทำงานร่วมกัน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาพืชไร่
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นางสาวพรทิพย์พา ชุมแวงวาปี และนายวัชชิระ สอนผา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 14/12/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 14/12/2556
15.
สถานที่ดำเนินการ
ณ บริเวณลานน้ำพุ และห้อง 5126W อาคาร AG05 สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนข้อเสนอ/ขออนุมัติโครงการพฤศจิกายน 56 - พฤศจิกายน 56
2)
ส่งหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมโครงการธันวาคม 56 - ธันวาคม 56
3)
ดำเนินการโครงการธันวาคม 56 - ธันวาคม 56
4)
เบิกจ่ายงบประมาณธันวาคม 56 - ธันวาคม 56
5)
ประเมิน/รายงานผลการดำเนินโครงการมกราคม 57 - มกราคม 57
17.
งบประมาณ
เงินรายได้ของสาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม6,000
2)
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้าย/อุปกรณ์ตกแต่ง3,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าวัสดุการเกษตร14,000
2)
ค่าวัสดุก่อสร้าง 6,990
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 29,990
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ เกิดความรู้สึกยินดี อบอุ่น ภาคภูมิใจและเกิดความรักความผูกพันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันซึ่งจะก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกัน
2) นักศึกษาปัจจุบันมีแรงบันดาลใจที่จะมุมานะในการศึกษา เพื่อให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต
19.
การติดตามประเมินผล
ใช้แบบสอบถามในการประเมินผลความพึงพอใจโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
งบประมาณมีไม่เพียงพอ และจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
การจัดทำแผนประจำปีในส่วนของกิจกรรมนักศึกษา และประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรเมศ บรรเทิง
ผู้ประสานงานสาขาพืชไร่
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.ประภัสสร เตชะประเสริฐวิทยา
รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน
........../........../..........