1.
ชื่อโครงการ: 
การฝึกปฏิบัติการผลิตพืชไร่แบบครบวงจร
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 3. การพัฒนานักศึกษา
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานักศึกษาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้และประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและร็เท่ากันการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถดำรงชีพอยู้ในสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
 
กลยุทธ์:  3.1 การสนับสนุนระบบการให้คำปรึกษา การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่งเสริมด้านจริยธรรมและคุณธรรม
 
มาตรการ:  3.1.3 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านการสร้างจิตสำนึก จิตสาธารณะ ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาตนเอง
 
ตัวชี้วัด:  2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร2.1 คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด:  2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร2.1 คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ชีวิตในรั้วสีเขียวของนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ดังเช่น สังคมชนบทได้เปลี่ยนไปเป็นสังคมเมือง ทำให้การเรียนอย่างพึ่งพาอาศัยกันกลายเป็นการเรียนเพื่อใช้เป็นเพียงใบเบิกทางในการทำงานอย่างเดียว การทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม สถาบัน และตัวนักศึกษาเองลดน้อยลง ทำให้นักศึกษาขาดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ขาดความสามัคคี ขาดการเข้าสังคม และที่สำคัญคือไม่รู้จักการทำงานเป็นทีม แม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า คุณลักษณะเด่นของ บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ พร้อมทำงาน (มีประสบการณ์พร้อมปฏิบัติงานในวิชาชีพ, พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ตลอดชีวิต) เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานจริง ดังนั้น จึงได้มีการเสนอโครงการกิจกรรมเสริมทักษะการเกษตร ทางด้านการวางแผนการผลิตและการตลาดพืชไร่แบบครบวงจร เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และสร้างรายได้ ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งจากการรวมกลุ่มของนักศึกษา สาขาพืชไร่ ชั้นปีที่ 3
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขบวนการผลิตพืชและการจัดการผลผลิต
2) เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นกลุ่มและช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร
3) เพื่อให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4) เพื่อเป็นการหารายได้ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆของกลุ่มนักศึกษา
5) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจ
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ จำนวน 85 คน
นักศึกษา 85 คน ร่วมฝึกการผลิตพืชแบบครบวงจร ในฤดูแล้ง 2556/57
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และอาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน

ผลลัพธ์
1) ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความเอื้อเฟื้อ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาพืชไร่
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นายพลัง สุริหาร
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 1/11/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 28/2/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
หมวดพืชไร่ สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ปลูกข้าวโพดรับประทานฝักสดเพื่อจำหน่ายผลผลิตฝักสด และผลิตเมล็ด พันธุ์จำหน่ายพฤศจิกายน 56 - กุมภาพันธ์ 57
2)
วางแผนการผลิตและการตลาดพฤศจิกายน 56 - มกราคม 57
17.
งบประมาณ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าวัสดุการเกษตร10,000
2)
ค่าจ้างเหมาเตรียมดิน ไถพรวน ดูแลแปลงปลูก5,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 15,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษามีประสบการณ์และความพร้อมที่จะไปประกอบอาชีพจริง
2) นักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่ แต่ละชั้นปี มีความสามัคคี
3) นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
4) เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้สำหรับบุคคลที่สนใจ
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินและการสังเกต
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
1.งบประมาณ 2.สถานที่ และสภาพแวดล้อม
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1.การจัดทำแผนประจำปีในส่วนของกิจกรรมนักศึกษา 2.วางแผนควบคุม และควบคุมก่อนระหว่างการดำเนินการโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายพลัง สุิริหาร
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

นายปรเมศ บรรเทิง
ผู้ประสานงานสาขาพืชไร่
........../........../..........