1.
ชื่อโครงการ: 
การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ ภาคต้น 2556 ระยะที่ 2
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. การวิจัย
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีแลนวัตกรรมทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
 
กลยุทธ์:  4.2 การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย
 
มาตรการ:  4.2.1 การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
 
ตัวชี้วัด:  4.2 ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  4. การวิจัย
 
กลยุทธ์:  4. การวิจัย
 
มาตรการ:  4. การวิจัย
 
ตัวชี้วัด:  4.2 ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ด้วย สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ มีนโยบายพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กล่าวคือ มีสมรรถนะในด้านการวิจัย และสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตหรือนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป การจัดการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจ การตั้งโจทย์วิจัย การวางแผนการวิจัยและการดำเนินการวิจัย และการวิเคราะห์ผลการทดลอง กิจกรรมโครงการนี้เป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาการวิจัยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นคณะวิชาชั้นนำของภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือเป็นสถาบันชั้นนำในการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อตอบสนองปัญหาของชุมชน สังคม และประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จในนโยบายดังกล่าว การดำเนินงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานอยู่ในระดับดี ตลอดจนต้องมีการวางแผนการทำงานที่ดีเพื่อให้งานวิจัยบรรลุสู่จุดหมายตามเวลาที่กำหนด ดังนั้น สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากการร่วมแนะนำการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์ทั้งสาขาพืชไร่ และเพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
2) เพื่อเพิ่มศักยภาพงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากการร่วมแนะนำการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์ทั้งสาขาพืชไร่
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก สาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ จำนวน 29 คน คณาจารย์สาขาพืชไร่ จำนวน 16 คน
พัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีสมรรถนะในด้านการวิจัย และสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตหรือนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) จัดกิจกรรมในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2556
2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและคณาจารย์เข้าร่วมกิจกรรม รวมไม่น้อยกว่า 40 คน/ครั้ง

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจ และมีการเตรียมความพร้อมในแผนการปฏิบัติงานวิจัยของตนเอง ตลอดจนสามารถสำเร็จการศึกษาตามแผนที่กำหนด
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาพืชไร่
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นายนันทวุฒิ จงรั้งกลาง
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 1/9/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 4/10/2556
15.
สถานที่ดำเนินการ
สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนข้อเสนอ/ขออนุมัติโครงการตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
2)
ส่งหนังสือเชิญบุคลากรและแจ้งนักศึกษา เข้าร่วมโครงการ ปฏิบัติการระยะที่ 1 ประจำ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2556ตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
3)
ปฏิบัติการระยะที่ 2 ประจำ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2556ตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
4)
เบิกจ่ายงบประมาณตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
5)
ประเมินผล/รายงานการดำเนินโครงการพฤศจิกายน 56 - พฤศจิกายน 56
17.
งบประมาณ
รายได้ บัณฑิตศึกษา/ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา /จัดการศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่าง / กลางวัน และเครื่องดื่ม4,000
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 4,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชไร่ สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
2) เพิ่มศักยภาพงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความหน้าเชื่อถือและมีมาตรฐานมากขึ้น จากการร่วมแนะนำการปฏิบัติงานวิจัยของคณาจารย์ทั้งสาขาพืชไร่
19.
การติดตามประเมินผล
แบบสอบถาม และการนำเสนอของนักศึกษา
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
งบประมาณมีไม่เพียงพอและจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1. การจัดทำแผนประจำปีในส่วนของกิจกรรมนักศึกษา 2. ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายนันทวุฒิ จงรั้งกลาง
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรเมศ บรรเทิง
ผู้ประสานงานสาขาพืชไร่
........../........../..........