1.
ชื่อโครงการ: 
ศิษย์เก่าร่วมสอน และแนะแนวเตรียมความพร้อมสู่ตลาดงาน ด้านพืชไร่
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 8. ศิษย์เก่าสัมพันธ์
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้ศิษย์เก่าร่วมพัฒนาคณะ ก้าวไปเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ
 
กลยุทธ์:  8.1 พัฒนาระบบประสานงานกับศิษย์เก่า
 
มาตรการ:  8.1.1 สนับสนุนการดำเนินงานสร้างความร่วมมือกับศิษย์เก่าในรูปแบบต่างๆ
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
กลยุทธ์:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
มาตรการ:  8.ศิษย์เก่าสัมพันธ์ที่ดี
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
:
7.
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วย สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ มีนโยบายผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ กล่าวคือ มีสมรรถนะทั้งด้านวิชาการ และบุคลิกภาพ สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตหรือนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป และมีทัศนคติที่ดี มีความภาคภูมิใจต่อสาขาวิชาที่เรียน สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี มีความสามัคคี และมีความเอื้อเฟื้อเอื้ออาทร ปัจจุบันในแต่ละปีมีบัณฑิตสาขาพืชไร่ที่สำเร็จการศึกษาจำนวนมากจากหลากหลายสถาบันการศึกษา ส่งผลให้มีการแข่งขันในตลาดงานทางด้านพืชไร่ที่มากขึ้นด้วย การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าสัมภาษณ์งานและก่อนทำงาน จึงมีความจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งนอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจทางด้านวิชาการแล้ว ประสบการณ์ การใช้ชีวิตในการทำงานจากบัณฑิตรุ่นพี่ และแนวทางในการสัมภาษณ์งานจากฝ่ายบุคคลของบริษัทเอกชน จะช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดงาน ดังนั้น จึงได้มีการเสนอโครงการ ศิษย์เก่าร่วมสอน และแนะแนว เตรียมความพร้อมสู่ตลาดงานด้านพืชไร่ ของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และ 4 ของสาขาพืชไร่ โดยอาศัยบัณฑิตรุ่นพี่ที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทเอกชนเป็นวิทยากร เพื่อการถ่ายทอดความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาสาขาพืชไร่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ก่อนทำงานจริง
2) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่สนใจได้เรียนรู้ ประสบการณ์ และทัศนคติของการทำงาน จากประสบการณ์จริงของรุ่นพี่ที่จบ และทำงานแล้ว
3) เพื่อให้นักศึกษาสาขาพืชไร่ได้แนวคิด ประสบการณ์เพื่อเตรียมตัวก่อนสัมภาษณ์งานและก่อนทำงาน
4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และความสามัคคีกันระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่ แต่ละชั้นปี กับศิษย์เก่าที่จบไปแล้ว
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษาสาขาพืชไร่ ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 100 คน
พื้นที่/สถานที่ สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ คณะเกษตรศาสตร์
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) จัดกิจกรรมในโครงการศิษย์เก่าสอนน้อง จำนวน 1 ครั้ง
2) นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม รวมไม่น้อยกว่า 80 คน

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจ และทักษะในการเตรียมความพร้อมเพื่อสัมภาษณ์งาน และการทำงาน ก่อนออกไปประกอบวิชาชีพ มีความสัมพันธ์อันดี ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาพืชไร่
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ดร. ณัฐวุฒิ สิงห์คำ
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 6/10/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 6/10/2556
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องมะขาม อาคารปฏิบัติการกลางพืชสวน
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนข้อเสนอ/ขออนุมัติโครงการตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
2)
ส่งหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมโครงการตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
3)
ดำเนินการจัดทำโครงการตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
4)
เบิกจ่ายงบประมาณตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
5)
ประเมิน/รายงานผลการดำเนินโครงการพฤศจิกายน 56 - พฤศจิกายน 56
17.
งบประมาณ
เงินรายได้ของสาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์ฯ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
ค่าตอบแทนวิทยากร6,000
2)
ค่าไปราชการ อาจารย์พิเศษ6,130
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม12,970
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ถ่ายเอกสาร0,420
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 25,520
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
2) นักศึกษาสาขาวิชาพืชไร่ ได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจริงจากรุ่นพี่ที่จบ และทำงานแล้ว
3) เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักศึกษา และศิษย์เก่าที่จบไปแล้วของสาขาวิชาพืชไร่ หรือสาขาวิชาอื่นๆ
4) ได้รับประสบการณ์จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสัมภาษณ์
19.
การติดตามประเมินผล
ใช้แบบสอบถาม ผลความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการอยู่ระดับมาก
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
งบประมาณมีไม่เพียงพอและจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตาม
19.
การป้องกันความเสี่ยง
การจัดทำแผนประจำปีในส่วนของกิจกรรมนักศึกษา และประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายณัฐวุฒิ สิงห์คำ
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรเมศ บรรเทิง
ผู้ประสานงานสาขาพืชไร่
........../........../..........