1.
ชื่อโครงการ: 
งานประเพณี 4 จอบ ครั้งที่ 31 “เกษตรลุกพระบิดา ถิ่นบินหลาแดนใต้”
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 3. การพัฒนานักศึกษา
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานักศึกษาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้และประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและร็เท่ากันการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถดำรงชีพอยู้ในสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
 
กลยุทธ์:  3.1 การสนับสนุนระบบการให้คำปรึกษา การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่งเสริมด้านจริยธรรมและคุณธรรม
 
มาตรการ:  3.1.2 การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงนักศึกษา
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
:
7.
หลักการและเหตุผล
งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการ จึงเป็นที่มาของงาน " กีฬา 4 จอบ " ซึ่งสถาบันแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ คือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาทักษะทางการเกษตร และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสม โดยการลดกีฬาบางประเภทลง และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรให้มากขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร อาทิเช่น การแข่งขันจัดดอกไม้ การแข่งขันขยายพันธุ์พืช ติดตา – ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การแข่งขันวินิจฉัยโรคพืช การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การแข่งขันการตอนสุกร การแข่งขันทักษะการคล้องโคและล้มโค การจัดประกวดตู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร นิสิตและนักศึกษาทางการเกษตรด้วยกันเอง ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "กีฬา 4 จอบ" เป็น "ประเพณี 4 จอบ" เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ ความหมายของคำว่า “ 4 จอบ ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันที่ร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการประชุมตกลงให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนิสิต และนักศึกษาจากสถาบันเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้มาเข้าร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว ๑๒ สถาบัน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้กำหนดให้จัดงานขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ.2555 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติจากภาคีสมาชิกทั้ง 12 สถาบัน มอบให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 30 “ 3 ทศวรรษ 4 จอบ เกษตรเมืองแคน ดินแดนดอกคูน” ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2555 เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการเกษตรให้มีความพร้อม ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิตและนักศึกษา ของสถาบันต่างๆ
2) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
3) เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นิสิตและนักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
4) เพื่อให้นักศึกษารู้จักเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
5) เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับนิสิต และนักศึกษา ในการเรียนรู้นอกห้องเรียน
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นิสิต นักศึกษา บุคลากร สถาบันการศึกษาด้านการเกษตรทั้ง 12 สถาบัน เข้าร่วม
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายการผลการดำเนินโครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 31

ผลลัพธ์
1) - นิสิต นักศึกษา บุคลากร สถาบันการศึกษาด้านการเกษตรทั้ง 12 สถาบัน ได้รู้จักกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการทุกโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
2) ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
หน่วยกิจการนักศึกษา งานบริการการศึกษา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 2/12/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 8/12/2556
15.
สถานที่ดำเนินการ
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
การแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร
2)
การแข่งขันกีฬาสากล
3)
กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น
4)
กิจกรรมทัศนศึกษา
5)
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
6)
กิจกรรมการสัมมนาร่วมระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ด้านกิจกรรมนักศึกษาและผู้นำนักศึกษาภาคีสมาชิก ๑๒ สถาบัน
7)
การประกวดกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์
17.
งบประมาณ
ใช้เงินรายได้จัดการศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 จำนวน 212,940 บาท ,งบประมาณจากบัญชี 4 จอบ ครั้งที่ 30 จำนวน 75,500 บาท รวม 288,440 บาท
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าเดินทางไปราชการ42,000
2)
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง94,386
3)
ค่าที่พัก76,500
4)
ค่าสนับสนุนนักศึกษา18,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าของที่ระลึก2,000
2)
ค่าสนันสนุนเข้าร่วมโครงการระดับคณะ30,000
3)
ค่าอัดฉีดนักศึกษา13,900
4)
ค่าทางด่วน0,745
5)
ค่าเสื้อสำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่5,643
6)
0,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 283,174
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) สร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต และนักศึกษา ของสถาบันต่างๆ
2) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
3) คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาได้บำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
4) นิสิต และนักศึกษา รู้จักเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
19.
การติดตามประเมินผล
1.ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการทุกโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน 2.ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
1.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง 2.จำนวนผู้เขาร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1.การวางแผนเพื่อนศึกษาแนวทางในการจัดโครงการ 2.การประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

ผศ.ดร.ยุพิน ผาสุข
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดี
........../........../..........