1.
ชื่อโครงการ: 
โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้วงจร PDCA (Plan – Do – Check – Act) ในการปฏิบัติงานของคณะเกษตรศาสตร์
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 7. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งพัฒนาการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งคุณภาพ
 
กลยุทธ์:  7.1 พัฒนารพบบประกันคุณภาพที่ดีและมีมาตรฐาน
 
มาตรการ:  7.1.1 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
 
ตัวชี้วัด:  9.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
กลยุทธ์:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
มาตรการ:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
ตัวชี้วัด:  9.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง: การเจรจาตกลงตัวชี้วัดข้อตกลงการปฏิบัติราชการ คณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
วงจร Deming หรือ PDCA เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการบริหารจัดการองค์การ ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน (Plan ) ขั้นตอนการปฏิบัติ (Do) ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check )และขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม(Act) ซึ่งวงจร PDCA จะก่อให้เกิดการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งที่วงจรหมุนครบรอบก็จะเป็นแรงส่งให้หมุนในรอบต่อไป วิธีการใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงก็จะถูกจัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน ซึ่งจะทำให้การทำงานมีการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด เราอาจเริ่มด้วยการปรับปรุงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การปรับปรุงที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายชีวิต การดำเนินงานในระดับบริษัท จนกระทั่งในระดับสถาบันการศึกษา หรือที่นำมาใช้ในระบบประกันคุณภาพการศึกษา ดังนั้นเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนางานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ และประยุกต์ใช้วงจร PDCA (Plan – Do – Check – Act) ในการปรับปรุงงานประจำและสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการทำงานแบบใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ การเจรจาตกลงตัวชี้วัดข้อตกลงการปฏิบัติราชการก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ PDCA ซึ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานคณะเกษตรศาสตร์มีการพัฒนาขึ้น
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
ผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ผู้ประสานงานสาขาวิชา และเลขานุการคณะฯ
คณะเกษตรศาสตร์
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ข้อตกลงการปฏิบัติราชการ คณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

ผลลัพธ์
1) รายงานข้อตกลงการปฏิบัติราชการ คณะเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ผลงานสำเร็จตามเป้าหมายร้อยละ 100
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและวิเทศสัมพันธ์
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นางสาวจุฬาลักษณ์ จันทร์เพชร
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 17/4/2557
    ว/ด/ป สิ้นสุด 17/4/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคาร AG08 คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนโครงการมีนาคม 57 - มีนาคม 57
2)
ขออนุมัติโครงการเมษายน 57 - เมษายน 57
3)
ดำเนินโครงการเมษายน 57 - เมษายน 57
4)
เขียนรายงานโครงการเมษายน 57 - เมษายน 57
17.
งบประมาณ
เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 คณะเกษตรศาสตร์(รหัส 0300) แผนงาน(งาน) งานจัดการศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ (รหัส 0201) งาน/โครงการ (โครงการย่อย) สนับสนุนการจัดการศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ (รหัส 020100001) กิจกรรม โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้วงจร PDCA (Plan – Do – Check – Act) ในการปฏิบัติงานของคณะเกษตรศาสตร์ (รหัส 121266) งบอุดหนุน-เงินอุดหนุนทั่วไป
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 คน x 30 บาท x 1 มื้อ)0,750
2)
ค่าอาหารกลางวัน (25 คน x 100 บาท x 1 มื้อ)2,500
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าวัสดุถ่ายเอกสาร 2,000
2)
ค่าวัสดุสำนักงาน 1,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 5,340
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวงจร PDCA
2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำวงจร PDCA มาประยุกต์ใช้ในการดำเนิน โครงการ/กิจกรรม ให้เกิดประสิทธิภาพ
19.
การติดตามประเมินผล
ใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ โดยมีประเด็นการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหาของการอบรม 2) ด้านวิทยากร 3) ด้านความรู้ความเข้าใจการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4) ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร/เอกสารประกอบการอบรม และ 5) ด้านความพึงพอใจ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
ความร่วมมือของบุคลากร
19.
การป้องกันความเสี่ยง
แจ้งเตือนก่อนถึงวันที่ทำการเจรจา
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นางสาวจุฬาลักษณ์ จันทร์เพชร
นักสารสนเทศ
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรุณี โชติษฐยางกูร
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและวิเทศสัมพันธ์
........../........../..........