1.
ชื่อโครงการ: 
การพัฒนาเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความชัดเจน เหมาะสม มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับภาระงานที่รับผิดชอบอยู่
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 7. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งพัฒนาการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งคุณภาพ
 
กลยุทธ์:  7.1 พัฒนารพบบประกันคุณภาพที่ดีและมีมาตรฐาน
 
มาตรการ:  7.1.2 บูรณาการระบบการประกันคุณภาพและการประเมินผลการปฏิบัติงานไปสู่การพัฒนางานประจำ
 
ตัวชี้วัด:  9.1 (6) มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
กลยุทธ์:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
มาตรการ:  7. การพัฒนาคุณภาพและระบบประกันคุณภาพ
 
ตัวชี้วัด:  9.1 (6) มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง: การชี้แจงวิธีการบันทึกผลการปฏิบัติราชการผ่านระบบออนไลน์
    ลักษณะโครงการ: ( / ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์และวัดผลดำเนินงานเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการบริหารจัดการ การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานจะไม่สามารถทำได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพหากปราศจากฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เป็นจริง ถูกต้องตรงกันทุกระดับตั้งแต่ระดับบุคคล ภาควิชา คณะวิชา และสถาบัน ตลอดจนเป็นข้อมูลที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ระบบสารสนเทศที่ดี มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการและส่งผลต่อคุณภาพในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงานประจำ การตรวจสอบประเมิน ตลอดจนถึงการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการพัฒนาโปรแกรม E-Workload สำหรับบันทึกภาระงานของบุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ เพื่อเพื่อให้การใช้งานโปรแกรม E-Workload เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ จึงได้รับมอบหมายให้จัดโครงการการชี้แจงวิธีการบันทึกภาระงานผ่านระบบออนไลน์
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการใช้งานโปรแกรม E-workload
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
บุคลากรคณะเกษตรศาสตร์ทุกคน
บุคลากรระดับข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานผลการปฏิบัติภาระงานของบุคลากรที่จัดเก็บไว้ในโปรแกรม E-WORKLOAD

ผลลัพธ์
1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้ให้เกิดการจัดการความรู้ภายในคณะเกษตรศาสตร์
2) ร้อยละบุคลากรที่มีการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม E-WORKLOAD ต่อบุคลากรทั้งหมด
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มเป้าหมาย
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและวิเทศสัมพันธ์
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นางสาวจุฬาลักษณ์ จันทร์เพชร
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 9/1/2557
    ว/ด/ป สิ้นสุด 9/1/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 อาคาร AG08 คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนเสนอโครงการมกราคม 57 - มกราคม 57
2)
จัดเตรียมเอกสารสำหรับโครงการมกราคม 57 - มกราคม 57
3)
ดำเนินโครงการมกราคม 57 - มกราคม 57
4)
ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณมกราคม 57 - มกราคม 57
5)
จัดทำรายงานโครงการมกราคม 57 - มกราคม 57
17.
งบประมาณ
จากงบประมาณเงินรายได้ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป แผนงบประมาณ เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลผลิต/โครงการ ผู้สำเร็จการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุน โครงการการพัฒนาเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความชัดเจน เหมาะสม มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับภาระงานที่รับผิดชอบอยู่
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (200 คน x 30 บาท x 1 มื้อ)6,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าวัสดุถ่ายเอกสาร 3,000
2)
ค่าวัสดุสำนักงาน 1,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 10,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) มีข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ โดยมีประเด็นการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหาของการสัมมนา 2) ด้านวิทยากร 3) ด้านความรู้ความเข้าใจการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4) ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร/เอกสารประกอบการสัมมนา 5) ด้านความพึงพอใจ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
1. บุคลากรเข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2. เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาขณะดำเนินการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1. ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้บุคลากรทุกระดับเห็นความสำคัญของโครงการย 2. ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก่อนดำเนินการอย่างน้อย 1 วัน
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นางสาวจุฬาลักษณ์ จันทร์เพชร
นักสารสนเทศ
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรุณี โชติษฐยางกูร
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและวิเทศสัมพันธ์
........../........../..........