1.
ชื่อโครงการ: 
โครงการแก่งละว้า
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 5. การบริการวิชาการ
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งการบริการวิชาการทางการเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
 
กลยุทธ์:  5.1 การบริหารจัดการหน่วยบริการวิชาการ
 
มาตรการ:  5.1.1 การบริหารจัดการด้านการบริการวิชาการ
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
:
7.
หลักการและเหตุผล
กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญมีสมาชิกรวม 15 ราย ใช้น้ำจากพื้นที่ลุ่มน้ำแก่งละว้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ดินเค็ม ทำให้น้ำมีความเค็มระหว่าง 0 – 18 พีพีที ผันแปรตามฤดูกาล จากการสำรวจพบว่า เกษตรกรเลี้ยงปลามีอัตรารอดตายต่ำ ผลผลิตน้อย ปลาโตช้า ต้นทุนการเลี้ยงสูง ทำให้มีรายได้น้อย เกษตรกรต้องการทำอาหารเม็ดและเพาะขยายพันธุ์ปลาด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและพึ่งพาตนเอง ซึ่งข้าพเจ้าเคยดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มปลานิล” เมื่อปี พ.ศ. 2554 – 2555 มีข้อสรุปการจัดการฟาร์มปลานิลที่ใช้ต้นทุนต่ำ คือเริ่มตั้งแต่การเตรียมบ่อ การอนุบาล และวิธีการเลี้ยงปลาที่ใช้อาหารเม็ดใน 4 เดือนสุดท้ายของการเลี้ยง ทำให้มีต้นทุนที่คิดเฉพาะค่าลูกพันธุ์และอาหารในการเลี้ยงปลา 4.07 – 9.88 บาท/ผลผลิตปลา 1 กิโลกรัม ผันแปรตามปริมาณอาหารที่ใช้ ดังนั้น ควรที่จะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปลานี้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่เป้าหมาย โดยดำเนินการแบบบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชาหลักการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำ เป็นการทำงานที่สอดคล้องกับพื้นที่เป้าหมาย และนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ประสงค์ให้ทำการวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการ ให้สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปใช้ได้จริง อีกทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยใช้การจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง ช่วยแก้ปัญหาการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มผลผลิต และรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่
2) เพื่อทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในชุมชน โดยร่วมกันกำหนดหัวข้อวิจัย
3) เพื่อบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน วิชาการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำของนักศึกาาภาควิชาประมง
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบ้านหนออนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น จำนวน 10 คน
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานความก้าวหน้าโครงการฯ
2) รายงานการวิจัยโครงการฯ

ผลลัพธ์
1) กลุ่มผู้เลี้ยงปลามีความสามาถในการจัดการฟาร์มปลานิลของตัวเองได้
2) นักศึกษาสามารถเขียนแผนผังฟาร์มสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯได้
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) กลุ่มผู้เลี้ยงปลามีความสามาถในการผลิตอาหารปลาใช้เองได้
2) นักศึกษาสามารถเขียนแผนผังฟาร์มสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯได้
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
รศ.ดร.เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 4/10/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด
15.
สถานที่ดำเนินการ
บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
แบ่งเกษตรกรแบ่งเกษตรกรเป็น 2 กลุ่มตามความสมัครใจ โดยจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 เกษตรกรกลุ่มที่ 1 เลี้ยงปลาด้วยอาหารทำเอง มีเกษตรกร 3 ราย 1.2 เกษตรกรกลุ่มที่ 2 เลี้ยงปลาด้วยอาหารเม็ดเกษตรกร 7 ราย ตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
2)
จัดการฝึกอบรมการเลี้ยงปลาต้นทุนต่ำตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
3)
ทำการเตรียมบ่อปลาอย่างดีเพื่อการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
4)
ทดลองเลี้ยงปลานิลแปลงเพศด้วยอาหารธรรมชาติในระยะ 3 เดือนแรกก่อนให้อาหารเม็ดในระยะ หลังตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
5)
นักศึกษาวิชาหลักการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการสำรวจและวัดขนาดบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละราย เพื่อจัดทำแผนผังฟาร์มกุมภาพันธ์ 57 - กุมภาพันธ์ 57
6)
การสอนทำอาหารปลาไว้ใช้เองสำหรับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีนาคม 57 - มีนาคม 57
7)
ติดตามผลการเลี้ยงปลาโดยสุ่มชั่งวัดขนาดปลา และวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกบ่อ เดือนละครั้ง 1 ครั้ง นาน 6 เดือนพฤศจิกายน 56 - เมษายน 57
8)
การแจกอาหารปลาให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีนาคม 57 - มีนาคม 57
9)
ประชุมระดมความคิดเห็นการเลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญสิงหาคม 57 - สิงหาคม 57
10)
สรุปรายงานการวิจัยกันยายน 57 - กันยายน 57
17.
งบประมาณ
100,000
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
-0,000
2)
-0,000
1.2 ค่าใช้สอย
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 0,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเข้าใจวิธีการเลี้ยงปลานิลที่ถูกวิธี
2) เกษตรกรเข้าใจและสามารถผลิตอาหารเปลาอัดเม็ดไว้ใช้เองได้
3) เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสามารถถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเลี้ยงปลานิลให้กับเพื่อนบ้านที่สนใจในการเลี้ยงปลา
19.
การติดตามประเมินผล
พบว่า อาหารที่ทำเองมีต้นทุนต่ำกว่าอาหารที่ซื้อกิโลกรัมละ 0.75 บาท เกษตรกรส่วนมากมีภาระกิจอื่น คือไม่ได้ทำการเลี้ยงปลาเพียงกิจกรรมเดียว ทำให้ไม่มีเวลาที่จะทำอาหารเอง จึงอยากจะซื้ออาหารมากกว่าทำเอง อย่างไรก็ดี หากประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ สามารถผลิตอาหารได้ในปริมาณมาก เกษตรกรที่เป็นสมาชิก ยินดีซื้ออาหารจากกลุ่มฯ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดซื้อมีขนาดตัวใหญ่กว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดทำเอง อาจเป็นเพราะบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารทำเอง 1 บ่อนั้น เลี้ยงปลาที่มีความหนาแน่นมากกว่าปกติ (ดูรายละเอียดที่ตาราง 10) ส่วนบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารทำเองนั้นมีน้ำหนักปลาเฉลี่ยน้อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตต่างกัน
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
อากาศร้อนจัด ผนวกกับฝนตกหนัก ทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยลง อาจทำให้ปลาตายได้
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ติดตั้งเอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

อ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดีคณะเกษตรศาสตร์
........../........../..........