1.
ชื่อโครงการ: 
ค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา ครั้งที่ 12
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 3. การพัฒนานักศึกษา
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานักศึกษาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้และประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและร็เท่ากันการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถดำรงชีพอยู้ในสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพและคุณธรรม
 
กลยุทธ์:  3.1 การสนับสนุนระบบการให้คำปรึกษา การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่งเสริมด้านจริยธรรมและคุณธรรม
 
มาตรการ:  3.1.3 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านการสร้างจิตสำนึก จิตสาธารณะ ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาตนเอง
 
ตัวชี้วัด:  9.2 (4) ผลการดำเนินงานก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นประโยชน์และ/หรือสร้างคุณค่าต่อสังคม
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
:
7.
หลักการและเหตุผล
ค่ายอาสาพัฒนา 4 จอบ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นเพิ่มเติมจาการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตและนักศึกษาด้านการเกษตร ได้เข้าไปศึกษา เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่จะมีผลกระทบต่อการเกษตรในปัจจุบัน ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโอกาสอันดีในการส่งเสริมนิสิต นักศึกษาเกษตรได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนชนบท และนำทักษะความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ปลุกฝังจิตอาสา สร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะ ด้านการพัฒนานักศึกษา โดยให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคนในการจัดกิจกรรมค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา ครั้งที่ 12 ได้มอบหมายให้ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดโครงการค่ายดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 – 24 พฤษภาคม 2557 ณ วัดซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก และสถานีวิจัยและฝึกอบรมบึงราชนก ตำบลพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้แนวคิด “ลูกพระนเรศเกษตรไทย สานสายใยค่ายผู้นำ”
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมนักศึกษา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการกิจกรรมนักศึกษา
3) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างนิสิต นักศึกษาคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมงาน
4) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
5) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ ของสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมงาน
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานผลการดำเนินโครงการค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา ครั้งที่ 12

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาและบุคลากรสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
หน่วยกิจการนักศึกษา งานบริการการศึกษา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 19/5/2557
    ว/ด/ป สิ้นสุด 24/5/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
จัดเขียนโครงการ
2)
เสนอขออนุมัติจัดกิจกรรม
3)
ดำเนินกิจกรรมตามกำหนดการ
4)
สรุปและจัดทำเล่มรายงานผลการจัดกิจกรรม
17.
งบประมาณ
ใช้งบประมาณเงินรายได้ของคณะเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2557
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการ8,640
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าที่พัก15,000
2)
ค่าสนับสุนเข้าร่วมโครงการ6,000
3)
ค่าสนับสนุนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ4,800
4)
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง10,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าของที่ระลึก2,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 46,440
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาและบุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี 4 ภาคของสมาชิกภาคี 4 จอบ
2) นักศึกษาและบุคลากรมีความสามัคคี และร่วมกันทำงานเป็นทีม
3) นิสิต นักศึกษามีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาน
4) นักศึกษาและบุคลากรสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
การประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายสมโชค เพ็งลี
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผศ.ดร.ยุพิน ผาสุข
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
........../........../..........