1.
ชื่อโครงการ: 
การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 5. การบริการวิชาการ
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งการบริการวิชาการทางการเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
 
กลยุทธ์:  5.1 การบริหารจัดการหน่วยบริการวิชาการ
 
มาตรการ:  5.1.2 การพัฒนาหน่วยประสานงานบริการวิชาการ
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
( / ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำรายได้จากการส่งออกมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจัยสำคัญเนื่องมาจากได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่การปลูกเลี้ยง การปรับปรุงพันธุ์ และการขยายพันธุ์ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีบทบาทสำคัญต่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้ในเชิงการค้า ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว ในส่วนของการปรับปรุงพันธุ์ การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ จะทำให้ได้ต้นอ่อนมากกว่าการเพาะในสภาพธรรมชาติ ประมาณ 90% เทคนิคการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ ยังมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ซึ่งพบในประเทศไทย จำนวน 1,176 ชนิด และมีการกระจายพันธุ์อยู่เป็นจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ของศูนย์ศึกษาค้นคว้าฯ มีงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ ซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว และในช่วงที่ผ่านมา มีนักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป มาติดต่อขอความรู้ ขอศึกษาดูงาน อยู่เนืองๆ การให้ความรู้และทักษะการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการประกอบอาชีพ งานอดิเรก และช่วยปลูกฝังความคิดด้านการอนุรักษ์กล้วยไม้ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดน้อยลงในสภาพธรรมชาติ
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยใ้ช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2) เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่ระบบงานการผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการ
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป จำนวน 15 คน
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ผู้ผ่านการอบรมมีความเข้าใจในเทคนิคการขยายพันธุ์กล้วยไม้

ผลลัพธ์
1) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะในการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า 15 รายต่อปี และมีผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
คณบดี
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 5/8/2557
    ว/ด/ป สิ้นสุด 5/8/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ศูนย์ศึกษาค้นคว้าฯ คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ภาคบรรยาย
2)
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น
3)
กล้วยไม้ : จำแนก การผลิตเพื่อการค้าและการอนุรักษ์พันธู์
4)
ภาคปฏิบัติ
5)
การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
6)
การผสมเกสรกล้วยไม้
7)
การฟอกฆ่าเชื้อฝักและเนื้อเยื่อกล้วยไม้
8)
การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
9)
การย้ายเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณ
10)
การย้ายปลูกและดูแลรักษาต้นกล้ากล้วยไม้
17.
งบประมาณ
12000
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
วิทยากร (บรรยาย 2 ชั่วโมง x 600 บาท)1,200
2)
วิทยากร (ปฏิบัติ 5 ชั่วโมง x 2 คน x 600 บาท)6,000
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ)1,000
2)
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร0,701
3)
ค่าป้ายไวนิลและเอกสารประกอบการอบรม0,370
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าสารเคมีและวัสดุเกษตร0,263
2)
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์2,466
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 12,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) ผู้เข้ารับอบรมมีความรู้และทักษะในการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
19.
การติดตามประเมินผล
ผู้ผ่านการอบรมสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของการปฏิบัติการได้อย่างถูกวิธี
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
จำนวนผู้เข้ารับการอบรมไม่ได้จำนวนตามเป้่าหมาย เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน
19.
การป้องกันความเสี่ยง
การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นางฐิติพร พิทยาวุธวินิจ
นักวิทยาศาสตร์ (ชำนาญการพิเศษ)
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดี
........../........../..........