1.
ชื่อโครงการ: 
โครงการแก่งละว้า
2.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 4/10/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 30/9/2557
3.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการจัดการฟาร์มเพื่อเพิ่มผลผลิต และรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่
2) เพื่อทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในชุมชน โดยร่วมกันกำหนดหัวข้อวิจัย
3) เพื่อบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน วิชาการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำของนักศึกาาภาควิชาประมง
4.
สถานที่ดำเนินการ
บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
5.
วิธีการและขั้นตอนการดำเนินโครงการ
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
1)
แบ่งเกษตรกรแบ่งเกษตรกรเป็น 2 กลุ่มตามความสมัครใจ โดยจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 เกษตรกรกลุ่มที่ 1 เลี้ยงปลาด้วยอาหารทำเอง มีเกษตรกร 3 ราย 1.2 เกษตรกรกลุ่มที่ 2 เลี้ยงปลาด้วยอาหารเม็ดเกษตรกร 7 ราย
2)
จัดการฝึกอบรมการเลี้ยงปลาต้นทุนต่ำ
3)
ทำการเตรียมบ่อปลาอย่างดีเพื่อการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ
4)
ทดลองเลี้ยงปลานิลแปลงเพศด้วยอาหารธรรมชาติในระยะ 3 เดือนแรกก่อนให้อาหารเม็ดในระยะ หลัง
5)
นักศึกษาวิชาหลักการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการสำรวจและวัดขนาดบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละราย เพื่อจัดทำแผนผังฟาร์ม
6)
การสอนทำอาหารปลาไว้ใช้เองสำหรับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
7)
ติดตามผลการเลี้ยงปลาโดยสุ่มชั่งวัดขนาดปลา และวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกบ่อ เดือนละครั้ง 1 ครั้ง นาน 6 เดือน
8)
การแจกอาหารปลาให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
9)
ประชุมระดมความคิดเห็นการเลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ
10)
สรุปรายงานการวิจัย
6.
งบประมาณรายจ่ายจริง
100,000
   
ลำดับที่
รายการ
(บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
- 0,000
2)
- 0,000
1.2 ค่าใช้สอย
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 0,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
7.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเข้าใจวิธีการเลี้ยงปลานิลที่ถูกวิธี
2) เกษตรกรเข้าใจและสามารถผลิตอาหารเปลาอัดเม็ดไว้ใช้เองได้
3) เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสามารถถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเลี้ยงปลานิลให้กับเพื่อนบ้านที่สนใจในการเลี้ยงปลา
8.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานความก้าวหน้าโครงการฯ
2) รายงานการวิจัยโครงการฯ

ผลลัพธ์
1) กลุ่มผู้เลี้ยงปลามีความสามาถในการจัดการฟาร์มปลานิลของตัวเองได้
2) นักศึกษาสามารถเขียนแผนผังฟาร์มสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯได้
9.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) กลุ่มผู้เลี้ยงปลามีความสามาถในการผลิตอาหารปลาใช้เองได้
2) นักศึกษาสามารถเขียนแผนผังฟาร์มสัตว์น้ำให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯได้
.
สรุปภาพรวมความสำเร็จโครงการตามตัวชี้วัด
เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถผลิตอาหารปลาทำเองแบบอัดเม็ดได้ด้วยตนเอง และสามารถนำไปเลี้ยงปลาที่ตนเองเลี้ยงได้ พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอด ให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯได้อีกด้วย นอกจากนี้นักศึกษาทีี่ลงเรียนวิชา การสร้างฟาร์มสัตว์น้ำได้เข้าใจการเขียนแผนผังการสร้างฟาร์มสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาได้อย่างถ่องแท้
10.
การติดตามประเมินผล
พบว่า อาหารที่ทำเองมีต้นทุนต่ำกว่าอาหารที่ซื้อกิโลกรัมละ 0.75 บาท เกษตรกรส่วนมากมีภาระกิจอื่น คือไม่ได้ทำการเลี้ยงปลาเพียงกิจกรรมเดียว ทำให้ไม่มีเวลาที่จะทำอาหารเอง จึงอยากจะซื้ออาหารมากกว่าทำเอง อย่างไรก็ดี หากประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ สามารถผลิตอาหารได้ในปริมาณมาก เกษตรกรที่เป็นสมาชิก ยินดีซื้ออาหารจากกลุ่มฯ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดซื้อมีขนาดตัวใหญ่กว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดทำเอง อาจเป็นเพราะบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารทำเอง 1 บ่อนั้น เลี้ยงปลาที่มีความหนาแน่นมากกว่าปกติ (ดูรายละเอียดที่ตาราง 10) ส่วนบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารทำเองนั้นมีน้ำหนักปลาเฉลี่ยน้อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตต่างกัน
11.
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
1. น้ำในบ่อเลี้ยงปลามีค่าความเป็นด่างต่ำ ต้องใส่ปูนขาวบ่อย และใช้ในปริมาณมากกว่าพื้นที่อื่น 2. น้ำในบ่อปลาเขียวช้า อาหารธรรมชาติน้อยลูกปลาโตช้า เลี้ยงปลานาน 6 เดือน ปลามีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 72 – 164 กรัม ยังไม่สามารถขายได้ ต้องใช้ระยะเวลาการเลี้ยงนานขึ้นเพื่อให้ได้ขนาดโตขึ้นและได้ราคา 3. ในเดือนเมษายน (เดือนที่ 6)วันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2557 เริ่มพบปัญหาปลาตาย และปัญหาปลิงใส 4.สภาพอากาศร้อนจัด และฝนตกหนักทำให้น้ำแยกชั้น
12.
ข้อเสนอแนะ
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการปลาตายควรติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทุกบ่อ และมีการใช้ปูนขาวอย่างต่อเนื่อง แต่จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
13.
ความเห็น/ข้อชี้แนะในการดำเนินงานครั้งต่อไป
1.ควรมีการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาตะเพียนเพื่อลดอัตราเสี่ยงการตายของปลานิล 2.ควรเพิ่มมูลค่าของปลาโดยการจัดอบรมใ้ห้กับกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการแปรรูปปลาอย่างง่าย
14.
ผ่านที่ประชุม
.
เมื่อวันที่
>
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้ทำรายงาน

นางสาวเพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว
รองศาสตราจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้ควบคุมโครงการ

อ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
........../........../..........