1.
ชื่อโครงการ: 
การจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิต และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชน
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 5. การบริการวิชาการ
    เป้าประสงค์: คณะเกษตรศาสตร์มุ่งการบริการวิชาการทางการเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
 
กลยุทธ์:  5.2 การบริการวิชาการเพื่อสร้างความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม (University of social responsibiligy)
 
มาตรการ:  5.2.1 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจและเอกชน
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  5. การบริการวิชาการ
 
กลยุทธ์:  5. การบริการวิชาการ
 
มาตรการ:  5. การบริการวิชาการ
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
กลุ่มอาชีพในพื้นที่ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่นประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาชีพจักสานบ้านชาด หมู่ 3 และกลุ่มทอผ้าไหม ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความรู้น้อยในการจัดทำบัญชีของการผลิตสินค้าของกลุ่ม นอกจากนี้ กลุ่มมีการดำเนินงานของกลุ่มที่ไม่ต่อเนื่องจริงจัง ไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ ทั้งในการผลิต การตลาด โดยเฉพาะในเรื่องของการบันทึกข้อมูลและการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ภายในกลุ่ม รวมถึงปัญหาด้านการตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการจัดการของกลุ่มผลิตสินค้าชุมชนได้ และจากการสำรวจเบื้องต้นทั้งสองกลุ่มต้องการให้มีการจัดอบรมในเรื่องของการจัดทำบัญชี ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ต้นทุน รายรับ รายจ่ายต่าง ๆ และการตลาดรวมถึง package ของสินค้า ดังนั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลส่วนท้องถิ่นจึงได้ขอความร่วมมือมายังภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ "การจัดทำับัญชีต้นทุนการผลิต การจัดการตลาด และการบรรจุภัณฑ์ ของกลุ่มสินค้าชุมชน" ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ และทราบถึงประโยชน์ของการจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการจัดการตลาด และการบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชน รวมถึงสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสอนให้รู้จักความพอประมาณ คำนึงถึงหลักการและเหตุผล ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง และสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำบัญชีภายในครัวเรือน เพื่อวางแผนการใช้จ่ายและกิจกรรมต่าง ๆ ภายในครัวเรือนได้ในอนาคต ดังนั้นทางภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตรจึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิต การจัดการตลาด และการบรรจุภัณฑ์ ของกลุ่มสินค้าชุมชน" ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะทำการอบรมและช่วยออกแบบการบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต การตลาด และการจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชน
2) เพื่อให้เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของกลุ่มสินค้าชุมชนและนำไปจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการตลาดของกลุ่มสินค้าชุมชนได้
3) เพื่อให้เกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชนให้ีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
กลุ่มสินค้าชุมชนสามารถจัดทำบัญชีต้นทุน
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2) จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 50 คน
3) จำนวนกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มสินค้าชุมชนที่ทำบัญชีต้นทุนการผลิตการจัดการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชนได้สำเร็จ ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
4) บัญชีต้นทุนการผลิตและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของแต่ละพื้นที่อบรม

ผลลัพธ์
1) กลุ่มสินค้าชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิต การจัดการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชนได้ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนการผลิตได้
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ผศ.ดร.สุภาภรณ์ พวงชมภู
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 1/10/2556
    ว/ด/ป สิ้นสุด 30/9/2557
15.
สถานที่ดำเนินการ
กลุ่่มเกษตรกร ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
2)
จัดเตรียมเนื้อหาและเอกสารประกอบการบรรยายตุลาคม 56 - ตุลาคม 56
3)
ประชาสัมพันธ์และติดต่อกลุ่มสินค้าชุมชน เป้าหมายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพฤศจิกายน 56 - ธันวาคม 56
4)
การฝึกอบรมและจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในแต่ละพื้นที่มกราคม 57 - มีนาคม 57
5)
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์เมษายน 57 - พฤษภาคม 57
6)
การติดตามการทำบัญชีต้นทุนการผลิตการจัดการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชน ในแต่ละพื้นที่ จะทำในลักษณะระดมความคิดร่อมกันมิถุนายน 57 - สิงหาคม 57
7)
การวิเคราะห์และประเมินผลกรกฎาคม 57 - สิงหาคม 57
8)
การจัดทำรายงานกันยายน 57 - กันยายน 57
17.
งบประมาณ
50000
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 50,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) กลุ่มเกษตกรสามารถจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิต การจัดการตลาด การบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มสินค้าชุมชนได้ รวมถึงสามารถวิเคราะห์ผลตอบแทนการผลิตได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการด้านการเงินในธุรกิจในอนาคต
2) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตรคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบุคลากรในโครงการ ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องของการจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิต การจัดการตลาด บรรจุภัณฑ์กอปรกับนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเผยแพร่สู่กลุ่มเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
3) นักศึกษาภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร สามมรถนำความรู้ด้านการทำบัญชี การจัดการตลาดการบรรจุภัณฑ์จากหลักสูตรที่เรียนมา และจากโครงการจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตของกลุ่มสินค้าชุมชน ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงได้
19.
การติดตามประเมินผล
1. มีการประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้แบบสอบถามในช่วงก่อนและหลังการฝึกอบรม 2.มีระบบการให้รางวัล (ประกาศนียบัตรและของที่ระลึก) สำหรับเกษตรกรที่ผ่านการทำบัญชีต้นทุนการผลิตและการตลาดของวิสาหกิจชุมชน 3. มีการติดตามผลจากการนำความรู้ ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนการผลิตของกลุ่มสินค้าชุมชน 4. มีการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อโครงการฝึกอบรมโดยใช้แบบสอบถามในช่วงหลังการฝึกอบรม
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ พวงชมภู
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.เพียรศักดิ์
หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร
........../........../..........