1.
ชื่อโครงการ: 
ส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ เลี้ยงไก่พื้นเมือง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์*
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 8. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 เป็นองค์กรที่มีความห่วงใยต่อสังคม
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ คณะเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้วยวัฒนธรรมขององค์กรที่กอปรด้วยความห่วงใย ความใส่ใจ และการดูแลชุมชนและสังคม
 
กลยุทธ์:  8.2 กลุทธ์ที่ 2 สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
 
มาตรการ:  8.2.2 มาตรการที่ 2 การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ฟาร์มเพื่อเป็นประตูชุมชนสัมพันธ์ในรูปแบบการรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย (University Social Responsibility, USR)
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เป็นเขตพื้นที่ภูเขาและพื้นที่สูง สภาพของภูเขาถูกแผ้วถางทำลาย เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร โดยมีการปลูกพืชไร่ชนิดต่างๆเช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงานและเริ่มมีการปลูกยางพาราบางส่วน พืชไร่ดังกล่าวมีการปลูกโดยระบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว พื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อย มักปลูกอ้อยปลายฝน (อ้อยข้ามแล้ง) ซึ่งมักปลูกราวเดือนพฤศจิกายน โดยมีการปล่อยดินว่าง หากไม่มีการปลูกพืชอายุสั้นชนิดอื่นร่วมในระบบ ก็น่าจะสามารถปลูกข้าวไร่ เพื่อเป็นการเสริมรายได้ เป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวให้พอเพียงสำหรับบริโภคและยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างคุ้มค่า อ.วิเชียรบุรี มีพื้นที่ราบลุ่มอยู่น้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นที่ลุ่มที่เป็นหุบระหว่างเนินเขา พื้นที่ดังกล่าวนี้ เกษตรกรใช้ปลูกข้าวนาสวนได้บ้าง แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค และพบว่าพื้นที่บางบริเวณที่เป็นน้ำซับ น้ำผุด พอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการบริโภคและเพื่อการเกษตรได้ เหมาะกับการทำไร่นาสวนผสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรได้ วิเชียรบุรี มีชื่อเสียงเรื่องไก่ย่าง ปัจจุบันผู้ประกอบการไก่ย่างใช้ไก่พันธุ์จากฟาร์ม จึงเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง หากเกษตรกรสามารถเลี้ยงไก่เองและใช้ไก่พันธุ์พื้นเมือง จะสามารถเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น และเนื้อไก่พื้นเมือง น่าจะเป็นจุดขายที่ดึงดูดผู้บริโภค วงจรตลาดก็จะหมุนเวียนในชุมชน จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม โครงการเกษตรต่างๆจะสัมฤทธิ์ผลได้ ก็ต้องอาศัยระบบการจัดการในการรวมกลุ่มดำเนินงานในรูปสหกรณ์ ทั้งเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกและสร้างอำนาจในการต่อรอง สหกรณ์จะเป็นโครงสร้างหลักในการดำเนินงานให้สำเร็จตามแผน การเพิ่มรายได้จากการทำเกษตรผสมผสาน ลดรายจ่ายในการซื้อข้าวบริโภคโดยเพิ่มผลผลิตจากการปลูกข้าวไร่ และการผลิตวัตถุดิบไก่พื้นเมืองในการประกอบธุรกิจไก่ย่างวิเชียรบุรี จะเป็นการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองและทำให้ระบบการเกษตรที่ อ.วิเชียรบุรีมีความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดการตัดไม้ทำลายป่า ชุมชนต้นน้ำป่าสักจะสามารถรักษาสภาพธรรมชาติซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติได้ ในระหว่างปีงบประมาณ 2556 – 2558 คณะเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกข้าวไร่พันธุ์สกลนคร และเลี้ยงไก่พื้นเมือง จากจำนวนเกษตรกร 5 ราย ในปีงบประมาณ 2556 เพิ่มเป็น 25 และ 40 ราย ในปีงบประมาณ 2557 และ 2558 ตามลำดับ จนทำให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการขยายผล มักประสบปัญหาเรื่องความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว ในปี 2559 จึงเน้นงานส่งเสริม เรื่องการรักษาความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์และการขยายพื้นที่โครงการ ตามจำนวนเกษตรกรที่มีความสนใจเพิ่มขึ้น และในปี 2560 จะทำเป็นศูนย์สาธิตเกษตรพอเพียงต่อไป
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับองค์กรต่างๆนอกมหาวิทยาลัย
2) เพิ่มความมั่นคงด้านอาหารของเกษตรกร ต.ซับผุด และ ต.ยางสาว อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ด้วยข้าวไร่ และไก่พื้นเมือง
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
พื้นที่โครงการศึกษาความเป็นไปได้ ในการสร้างพลับพลาทรงงาน สมเด็จพระเทพรัตนฯ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ความร่วมมือในเชิงพัฒนาชุมชน ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสถาบันภาคีอื่น

ผลลัพธ์
1) ความร่วมมือในเชิงพัฒนาชุมชน ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสถาบันภาคีอื่น
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) แบบประเมินผลโครงการ ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นายจิรวัฒน์ สนิทชน
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 1/11/2559
    ว/ด/ป สิ้นสุด 29/9/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
พื้นที่โครงการศึกษาความเป็นไปได้ ในการสร้างพลับพลาทรงงาน สมเด็จพระเทพรัตนฯ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ประชุมวางแผนร่วมกับเกษตรกรตุลาคม 59
2)
จัดอบรม field dayพฤศจิกายน 59 - พฤศจิกายน 59
3)
ขยายผลการดำเนินการจากปี 59พฤศจิกายน 59 - กันยายน 60
4)
สรุปผลการดำเนินงานกันยายน 60 - กันยายน 60
17.
งบประมาณ
งบประมาณโครงการวิเชียรบุรี
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
260000,000
1.2 ค่าใช้สอย
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 26,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) ความร่วมมือระหว่างสถาบันภาคีในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน
2) 1. ความร่วมมือระหว่างสถาบันภาคีในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน การพัฒนาต้นน้ำ การปลูกพืชไร่และเลี้ยงไก่พื้นเมือง
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
1.ผลการปฏิบัติงานที่อาจล่าช้าเนื่องจากจำนวนบุคลากรมีน้อย 2.งบประมาณไม่เพียงพอ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1.การวางแผนปฏิบัติงานให้กระจายทั้งปีงบประมาณ 2.กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3.หางบประมาณสมทบจากสถาบันภาคี
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายจิรวัฒน์ สนิทชน
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

นายมนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดี
........../........../..........