1.
ชื่อโครงการ: 
งานประเพณี 4 จอบ -การแข่งขันกีฬาทักษะและค่ายผู้นำอาสาพัฒนา
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.4 กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม
 
มาตรการ:  4.4.4 มาตรการที่ 4 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านการสร้างจิตสำนึก จิตสาธารณะ และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาตนเอง
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
( / ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
งานประเพณี 4จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการ จึงเป็นที่มาของงาน " กีฬา 4จอบ " ซึ่งสถาบันแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ คือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา         รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาทักษะทางการเกษตร และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสม โดยการลดกีฬาบางประเภทลง และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรให้มากขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาทักษะทางการเกษตร อาทิเช่น การแข่งขันจัดดอกไม้ การแข่งขันขยายพันธุ์พืช ติดตา – ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การแข่งขันวินิจฉัยโรคพืช การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การแข่งขันการตอนสุกร การแข่งขันทักษะการคล้องโคและล้มโค การจัดประกวดตู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร นิสิตและนักศึกษาทางการเกษตรด้วยกันเอง ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "กีฬา 4จอบ" เป็น "ประเพณี 4จอบ" เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ ความหมายของคำว่า “ 4จอบ ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4สถาบันที่ร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการประชุมตกลงให้คำว่า 4จอบ นั้นหมายถึง 4ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนิสิต และนักศึกษาจากสถาบันเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้มาเข้าร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4จอบแห่งชาติ เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 12 สถาบัน งานประเพณี 4จอบแห่งชาติ ได้มีการจัดงานขึ้นทุกปี ซึ่งก่อนการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ นั้น จะมีการจัดโครงการค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา เพื่อให้ผู้นำแต่ละสถาบันได้ประชุมหารือเตรียมความพร้อมก่อนการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิตและนักศึกษาของสถาบันต่างๆ
2) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
3) เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นิสิตและนักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
4) เพื่อให้นักศึกษารู้จักเสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
5) เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับนิสิต และนักศึกษา ในการเรียนรู้นอกห้องเรียน
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ

10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานผลการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาได้รู้ทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งการแนะนำและการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา
2) นักศึกษาที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกันได้สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความอบอุ่นและ มีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการทุกโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75ของกลุ่มเป้าหมาย
2) ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
หัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 22/12/2559
    ว/ด/ป สิ้นสุด 5/6/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ธันวาคม 59 - ธันวาคม 59
2)
ค่ายผู้นำ 4 จอบอสาพัฒนา ครั้งที่ 15
17.
งบประมาณ
งบประมาณเงินรายได้
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าสนับสนุน/ค่าอาหาร/ค่าเบี้ยเลี้ยง234,608
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 234,608
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) สร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาของสถาบันต่างๆ
2) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
3) คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาได้บำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
4) เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาด้านการเกษตรทั้ง 12 สถาบัน ที่เข้าร่วม งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 31 ต่อสังคม
5) เกิดการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านเกษตรและการประยุกต์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของ นิสิตและนักศึกษาด้านเกษตร 12 สถาบัน
19.
การติดตามประเมินผล
รายงานผลการดำเนินโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
1.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลง 2.จำนวนผู้เขาร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1.การวางแผนเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดโครงการ 2.การประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายสมโชค เพ็งลี
หัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผศ.ดร.ยุพิน ผาสุข
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
........../........../..........