1.
ชื่อโครงการ: 
"พัฒนานักศึกษาเกษตรศาสตร์ด้านจิตอาสา และจิตสาธารณะ"
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.4 กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม
 
มาตรการ:  4.4.4 มาตรการที่ 4 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านการสร้างจิตสำนึก จิตสาธารณะ และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาตนเอง
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด:  3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: ( / ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ด้วยชุมนุมอาสาเกษตร ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการค่ายอาสาพัฒนาและเผยแพร่วิชาการเกษตร เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านการเกษตรสู่ชุมชนที่มีความต้องการองค์ความรู้ด้านการเกษตร ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในระหว่างการปิดภาคเรียน ดังนั้นฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ได้เล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ซึ่งมุ่งเน้นให้นักศึกษามีจิดอาสา และจิตสาธารณะ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนทั้งยังสามารถเป็นการฝึกหรือพัฒนาตนเองนอกห้องเรียนอีกด้วย
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาจัดกิจกรรมนักศึกษา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการกิจกรรมนักศึกษา
3) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างนิสิต นักศึกษาคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมงาน
4) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถทางด้านวิชาการเกษตรและการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน
5) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ ของสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมงาน
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ และชุมชนต่างๆ
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายการผลการดำเนินโครงการค่ายฯ และกิจกรรมอื่นๆ

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาพัฒนาทักษะด้านวิชาการด้านการเกษตร โดยได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ร้อยละเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
หัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 4/1/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 30/4/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น และคณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ค่ายอาสาพัฒนาและเผยแพร่วิชาการเกษตร ปีการศึกษา 2559 มกราคม 60 - มกราคม 60
2)
พัฒนาศักยภาพชุมนุมนักศึกษา ปีการศึกษา 2559 มกราคม 60 - มกราคม 60
3)
ปิดแปลงและพัฒนาแปลงเมษายน 60 - เมษายน 60
17.
งบประมาณ
งบประมาณเงินรายได้
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหาร/ค่าสนับสนุนต่างๆ96,600
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 130,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะฯ มีความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ สามารถสร้างความร่วมมือและประสานงานในด้านต่างๆ ต่อไป
2) นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาที่เรียนมากขึ้น และสามารถนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาได้
3) นักศึกษามีจิตสำนึกในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
4) ประชากรและเยาวชนในหมู่บ้านมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม มีความภาคภูมิใจ ในอาชีพการเกษตร
5) นักศึกษามีความสามัคคี และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
1.การวางแผนเพื่อนศึกษาแนวทางในการจัดโครงการ 2.การประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเห็นความสำคัญของโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายสมโชค เพ็งลี
หัวหน้าหน่วยกิจการนักศึกษา
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผศ.ดร.ยุพิน ผาสุข
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
........../........../..........