1.
ชื่อโครงการ: 
โครงการละว้า :โครงการการศึกษาคุณภาพการเลี้ยงปลาในพื้นที่ดินเค็ม
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 5. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
 
กลยุทธ์:  5.1 กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งในงานวิจัยที่เป็นความโดดเด่นของ มข. ไปสู่ระดับสากล
 
มาตรการ:  5.1.1 มาตรการที่ 1 กำหนดนโยบาย ทิศทาง และการกำหนดแนวทางการวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์
 
ตัวชี้วัด:  5.1 (2) มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  5. การบริการวิชาการ
 
กลยุทธ์:  5. การบริการวิชาการ
 
มาตรการ:  5. การบริการวิชาการ
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน การเลี้ยงปลาในพื้นที่แก่งละว้าซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็ม คณะเกษตรศาสตร์ ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยในเชิงพัฒนา แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บ้านหนองนางขวัญ มาเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน(2556-2559) โดยได้ส่งเสริมให้กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญทำอาหารเลี้ยงปลาเอง จากวัตถุดิบที่พอหาได้ในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังจัดการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาให้สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา ได้แก่ ปลาส้ม ปลาส้มไฮโซ ข้าวเกรียบปลา ปลาอบชานอ้อย ปลาแดดเดียว ปลาย่างอบกรอบ และน้ำพริกปลาหยองที่มีรสชาติดี ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเข้าจำหน่ายยังร้านค้า Agro outlet ของคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย และในปีงบประมาณ 2560 นักวิจัยผู้ดำเนินการโครงการแก่งละว้ามีความเห็นว่า ควรทำการศึกษาคุณภาพการเลี้ยงปลาในพื้นที่ดินเค็ม เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปส่งเสริมการเลี้ยงปลาในพื้นที่ดินเค็มอื่น ให้เป็นระบบที่ถูกต้องต่อไป เป็นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาอย่างยั่งยืน การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือในโครงการละว้า ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับกลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ และนักศึกษาภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ จะได้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติ เรียนรู้และวิจัยไปพร้อมกับเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม โครงการนี้จึงนับได้ว่าได้ประโยชน์หลายประการ ทั้งได้ผลงานวิจัยออกมาสู่ชุมชน และได้มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนของนักศึกษา และเป็นการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน คือตั้งแต่ต้นน้ำ จนกระทั่งปลายน้ำ อย่างแท้จริง
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญมีความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงปลาที่ถูกวิธีในพื้นที่ดินเค็ม
2) เพื่อทำงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรในชุมชน
3) เพื่อให้นักศึกษา ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ ได้ฝึกปฏิบัติ เรียนรู้และวิจัยไปพร้อมกับเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
1.นายสมพงษ์ ไชยสงค์ บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 2.นายทองนาค สีเคนา บ้านนาคำน้อย อ. น้ำพอง จ.ขอนแก่น และนักศึกษาภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.นายสมพงษ์ ไชยสงค์ บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 2.นายทองนาค สีเคนา บ้านนาคำน้อย อ. น้ำพอง จ.ขอนแก่น และนักศึกษาภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) การเจริญเติบโตและผลผลิตปลานิลที่เลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มและน้ำจืด
2) คุณภาพเนื้อปลานิลที่ได้จากการเลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มและพื้นที่น้ำจืด

ผลลัพธ์
1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา บ้านนาคำน้อย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่นมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องคุณภาพเนื้อปลาที่เลี้ยงในพื้นที่ดินเค็ม
2) ความร่วมมือแบบไตรภาคี ระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเกษตรกรบ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา บ้านนาคำน้อย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ผลการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 8/2/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 29/12/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
บ่อเลี้ยงปลานายสมพงษ์ ไชยสงค์ บ้านหนองนางขวัญ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และบ่อเลี้ยงปลานายนายทองนาค สีเคนา บ้านนาคำน้อย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
หารือและกำหนดแผนการปฏิบัติงานตุลาคม 59 - ตุลาคม 59
2)
ดำเนินงานตามแผนพฤศจิกายน 59 - สิงหาคม 60
3)
ประเมินผล จัดทำรายงานกันยายน 60 - กันยายน 60
4)
ติดตามประเมินผลกันยายน 60 - กันยายน 60
17.
งบประมาณ
งบประมาณยุทธศาสตร์โครงการแก่งละว้า
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
ค่าตอบแทน6,000
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารและเครื่องดื่ม4,000
2)
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 7,000
3)
เบี้ยเลี้ยงเดินทาง4,500
4)
ค่าส่งตรวจวิเคราะห์ปลา22,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าสำเนาและการจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม6,000
2)
วัสดุประชาสัมพันธ์0,500
3)
วัสดุสำนักงาน3,000
4)
วัสดุเกษตร10,000
6)
0,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
1)
-0,000
  รวมทั้งสิ้น 63,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญ และบ้านนาคำน้อยมีความรู้ และเข้าใจวิธีการเลี้ยงปลาที่ถูกวิธีในพื้นที่ดินเค็ม
2) เกิดเครือข่ายและต้นแบบความร่วมมือ สนับสนุนโครงการละว้า มข. ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ จังหวัดขอนแก่น
19.
การติดตามประเมินผล
1.แบบประเมินผล 2.การออกเยี่ยมติดตามผล
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
อากาศร้อนทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตที่ช้า และอาจตายได้
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ติดตั้งเครื่องตีน้ำไว้ในบ่อที่เลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับปลาเพื่อลดัตราการตายของปลา
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายจิรวัฒน์ สนิทชน
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

นายมนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดี
........../........../..........