1.
ชื่อโครงการ: 
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 7. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 เป็นศูนย์กลางทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และประยุกต์ใช้ศิลปะและวัฒนธรรมไทยเพื่อรักษาคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
 
กลยุทธ์:  7.1 กลยุทธ์ที่ 1 การอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างคุณค่าศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
 
มาตรการ:  7.1.1 มาตรการที่ 1 ส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดี
 
กลยุทธ์:  6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดี
 
มาตรการ:  6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดี
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: ( / ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: ( / ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำและปลูกข้าวเลี้ยงประชากรภายในประเทศและประชากรโลกมานาน ข้าวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยและของโลก ในอดีต ชาวนาไทยปลูกข้าวโดยใช้แรงงานคนและสัตว์ มีการพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้เกิดวิถีชาวนาชนบทและประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา เช่น การลงแขก ช่วยแรงงานในการปักดำและเกี่ยวข้าว นวดข้าว การสู่ขวัญข้าว การแรกนา เป็นต้น สังคมไทยจึงเป็นสังคมชาวนาที่อบอุ่นและเกื้อกูลกัน ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการทำนามากขึ้น มีการจ้างแรงงานแทนการลงแขก ทำให้คนรุ่นใหม่ละทิ้งวัฒนธรรมที่ดีงาม สังคมจึงมีโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป อนึ่งทางคณะเกษตรศาสตร์ได้สร้างประเพณีการปลูกข้าวตามวิถีชาวนาไทย โดยบรรจุไว้ในหลักสูตร ในรายวิชาฝึกงานพื้นฐานพืชศาสตร์(พืชไร่) มีกิจกรรมในการทำงานร่วมกัน คือ การหว่านกล้า ปักดำต้นกล้า เก็บเกี่ยว และสู่ขวัญข้าว กิจกรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรมที่สอนให้อนุชน นักศึกษา สาขาเกษตรศาสตร์ ได้ซาบซึ้งประเพณีเก่าแก่ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทำนา เมื่อนักศึกษาได้ปลูกข้าวในแปลงฝึกงานแล้ว จึงจัดให้มีกิจกรรมสู่ขวัญข้าวขึ้น ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามสืบต่อไป
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการสู่ขวัญข้าว ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและร่วมกิจกรรม
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 134 181 และบุคลากรทั่วไป
แปลงฝึกงานนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้กิจกรรมการสู่ขวัญข้าว

ผลลัพธ์
1) ความซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการทำนา
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ผลการประเมินแบบสอบถามภายหลังจากการทำกิจกรรม
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 26/11/2559
    ว/ด/ป สิ้นสุด 26/11/2559
15.
สถานที่ดำเนินการ
แปลงฝึกงานนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ลงแขกเกี่ยวข้าวที่แปลงนาที่ใช้ฝึกงานนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กันยายน 60 - กันยายน 60
2)
การทำพิธีสู่ขวัญข้าวกันยายน 60 - กันยายน 60
17.
งบประมาณ
งบประมาณโครงการลงแขกเกี่ยวข้าวและสู่ขวัญข้าว
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารและเครื่องดื่ม16,000
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 16,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซาบซึ้งในวัฒนธรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวและสู่ขวัญข้าว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงานของวิถีชาวนาไทย
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลความพึงพอใจในการจัดงานสู่ขวัญข้าว
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
การเกิดฝนตก ซึ่งมักเกิดในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว
19.
การป้องกันความเสี่ยง
การจัดสถานที่สำรองที่มีหลังคาคลุม ด้านข้างโรงเรือนฝึกงาน
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายจิรวัฒน์ สนิทชน
รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ชุมชน
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

นายมนต์ชัย ดวงจินดา
คณบดี
........../........../..........