1.
ชื่อโครงการ: 
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 5. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัย
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
 
กลยุทธ์:  5.4 กลยุทธ์ที่ 4 นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การสร้างมูลค่าและการใช้ประโยชน์เพื่อสังคม
 
มาตรการ:  5.4.2 มาตรการที่ 2 การสร้างเครือข่ายงานวิจัยทั้งผู้สนับสนุนทุนวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง: โครงการที่ต้องดำเนินงานร่วมกัน
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
( / ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
กระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เกษตรซึ่งนอกเหนือจากการศึกษาภาคทฤษฎีแล้วยังต้องมีภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการควบคู่กันไปด้วย ในการทำปฏิบัติการนั้นผู้ใช้ห้องปฏิบัติการจะใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการใช้สารเคมีหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นไปได้ ดังนั้น อันตรายหรืออุบัติเหตุจากการทำปฏิบัติการอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อหากผู้ทำปฏิบัติการไม่ระมัดระวังหรือประมาทเลินเล่อ ผลที่จะเกิดตามมาอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือเกิดอันตรายกับร่างกายตั้งแต่เล็กน้อยกระทั่งอาจถึงขั้นสูญเสียชีวิตก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการและผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการในโอกาสต่างๆ ได้รับความปลอดภัยและปฏิบัติงานในห้องห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง ตลอดจนเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน การฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรที่รับผิดชอบและนักศึกษาที่ใช้บริการห้องปฏิบัติการของคณะฯ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เกษตรจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ นักวิจัย และนักศึกษาที่ทำปฏิบัติการให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการทำปฏิบัติการอย่างปลอดภัย
2) เพื่อลดความเสี่ยงของอุบัติภัยที่อาจเกิดจากความไม่รู้หรือไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในงานที่ปฏิบัติ
3) เพื่อให้ส่งกำจัดหรือทำลายสารเคมีที่ใช้งานแล้วและสารติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
4) เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรและห้องปฏิบัติการต่างๆ ของคณะฯ เข้าสู่มาตรฐานระดับสากล
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
30 คน
เป็นการฝึกอบรมให้ความรู้ เรื่อง ความปลอดภัย ณ ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถให้ความสำคัญของความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการได้เพิ่มมากขึ้น

ผลลัพธ์
1) ผู้ผ่านการอบรมมีความรับผิดชอบดูแลห้องปฏิบัติการ และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการได้
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลห้องปฏิบัติการ และนักศึกษาที่ใช้ห้องปฏิบัติการตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น
2) ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3) รายงานการเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีอันตรายและสารติดเชื้อมีจำนวนลดลง
4) ห้องปฏิบัติการที่บุคลากรเข้ารับการอบรม สามารถจัดทำแผนการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการได้
5) ห้องปฏิบัติการมีความพร้อมที่จะก้าวสู่มาตรฐานสากลในด้านการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้น
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ดร.เกษสุดา เดชภิมล
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 22/8/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 22/8/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
ศูนย์ศึกษาค้นคว้าฯ คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเพื่อเพิ่มพูนทักษะของการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในห้องปฏิบัติการต่างๆ ของคณะเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อดังต่อไปนี้
2)
ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติทั่วๆไปในการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เกษตร
3)
การจำแนกประเภทและการทำงานกับสารเคมีอันตราย
4)
อุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
5)
การจัดการขยะอันตรายและที่เกิดจากสารเคมีและสารติดเชื้อ
6)
ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงในห้องปฏิบัติการ
7)
การจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
17.
งบประมาณ
13500
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
ค่าตอบแทนวิทยากร 3,600
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 40 คนๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ)2,400
2)
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 40 คนๆ ละ 100 บาท) 4,000
3)
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่ม (จำนวน 30 เล่มๆ ละ 100 บาท)3,000
4)
ค่าจ้างทำป้ายไวนิล (จำนวน 1 แผ่นๆ ละ 400 บาท)0,500
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 13,500
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) บุคลากรและนักศึกษาที่ทำปฏิบัติการสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
2) รายงานการเกิดอุบัติภัยที่มีสาเหตุจากสารเคมีอันตรายและสารติดเชื้อมีจำนวนลดลง
19.
การติดตามประเมินผล
การตรวจเยี่ยมจากคณะกรรมการห้องปฏิบัติการกลางคณะเกษตรศาสตร์
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย อาจไม่ครบตามที่กำหนดไว้
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ประชาสัมพันธ์และใช้วิธีเจาะจงถึงหน่วยงาน
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

ดร.เกษสุดา เดชภิมล
หัวหน้าศูนย์ศึกษาค้นคว้าฯ
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ดร.เกษสุดา เดชภิมล
หัวหน้าศูนย์ศึกษาค้นคว้า
........../........../..........