1.
ชื่อโครงการ: 
โครงการมหาวิทยาลั่้่ัยขอนแก่น
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 3. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยที่เชื่อมโยงทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย และมีแนวทาง วิธีการหารายได้เพื่อการพึ่งตนเอง
 
กลยุทธ์:  3.2 กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก
 
มาตรการ:  3.2.2 มาตรการที่ 2 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  1. ระบบบริหารจัดการที่ดี
 
กลยุทธ์:  1. ระบบบริหารจัดการที่ดี
 
มาตรการ:  1. ระบบบริหารจัดการที่ดี
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในรูปแบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) ตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ 1895/2559 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นคราวประชุมครั้งที่ 8/2559 มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการที่กำหนดไว้ในระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพรองรับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะเกษตรศาสตร์ก็เป็นคณะนำร่องการใช้งาน และเพื่อนำความรู้ลงสู่ระดับหน่วยงานและภาควิชา ดังนั้น หน่วยพัสดุ จึงได้โครงการจัดอบรมการจัดซื้อจัดจ้างในรูปแบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) ขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตรงตามนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กร
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ สามารถจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในรูปแบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) ได้
2) เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านพัสดุ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยและเข้าใจหลักการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่การเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายในคณะเกษตรศาสตร์ และต่างคณะ รวมจำนวน 50 คน
อบรมการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในรูปแบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) ให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานผลการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์
1) ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำความรู้จากการอบรม ไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
หน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ คณะเกษตรศาสตร์
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 30/3/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 30/3/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดจัดซื้อจัดสินค้าและบริการที่กำหนดไว้ในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Market) มีนาคม 60 - มีนาคม 60
17.
งบประมาณ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 150 บาท7,500
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 7,500
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) บุคลากรที่รับผิดชอบในด้านการพัสดุ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้
2) ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยและเข้าใจหลักการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
19.
การติดตามประเมินผล
ใช้แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
การที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อจัดจ้างวิธีใหม่ จะทำให้ปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างผิดพลาดได้ และไม่เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ขอความร่วมมือไปยังหัวหน้าภาควิชา / หน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าร่วมการฝึกอบรมโครงการ แจ้งให้ทราบถึงความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้โปรแกรม KKU e-Market ในการจัดซือจัดจ้างสินค้าและบริการตาม นโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นางศิริวรรณ งามเจริญวงศ์
นักวิชาการพัสดุ ระดับชำนาญการพิเศษ
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
........../........../..........