1.
ชื่อโครงการ: 
บริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โครงการย่อย เล่าสู่กันฟังจากพี่สู่น้อง
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 3. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยที่เชื่อมโยงทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย และมีแนวทาง วิธีการหารายได้เพื่อการพึ่งตนเอง
 
กลยุทธ์:  3.1 กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ
 
มาตรการ:  3.1.1 มาตรการที่ 1 การปรับโครงสร้างการบริหารในสำนักคณบดีและภาควิชาให้มีประสิทธิภาพ
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
การบริหารจัดการและการขับเคลื่อนกลยุทธ์ของหน่วยงานไปสู่เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการนั้น ทรัพยากรบุคคลถือปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ การบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการนำความรู้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ได้มากที่สุด โดยมีกระบวนการในการสรรหาความรู้เพื่อถ่ายทอดและแบ่งปันไปยังบุคลากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและมีผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น และอีกวิธีหนึ่งได้แก่การถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากผู้ปฏิบัติงานอาวุโสที่อยู่ภายในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งบุคคลเหล่านั้นนับว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานจากประสบการณ์การทำงานที่สั่งสมมานานปี จากเหตุผลดังกล่าวคณะเกษตรศาสตร์จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ และพัฒนาฐานความรู้ภายในหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและบังเกิดผลต่อการปฏิบัติด้านพัฒนาองค์กร เพื่อให้เกิดการต่อยอดของความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากรุ่นสู่รุ่นโดยมุ่งเน้นให้บุคลากรเกิดการพัฒนาทักษะที่จะสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไป
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบของบุคลากรสายสนับสนุนคณะเกษตรศาสตร์
2) เพื่อสังเคราะห์งานของบุคลากรสายสนับสนุนทุกฝ่ายของคณะเกษตรศาสตร์ให้เป็นระบบ
3) เพื่อบูรณาการการจัดการความรู้สู่การพัฒนางานที่ปฏิบัติจริง
4) เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาการการทำงานของคณะเกษตรศาสตร์
5) เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนคณะเกษตรศาสตร์ และเพื่อให้บุคลากรได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากรุ่นสู่รุ่น
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
บุคลากรสายสนับสนุน และบุคลากรที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2560 คณะเกษตรศาสตร์
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) ได้กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบของบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะเกษตรศาสตร์
2) ได้แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาการการทำงานของคณะเกษตรศาสตร์
3) ได้วัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป

ผลลัพธ์
1) ได้กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบของบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะเกษตรศาสตร์
2) ได้แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาการการทำงานของคณะเกษตรศาสตร์
3) ได้วัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มเป้าหมาย
2) ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
นางสาวมลฑา แพงมา
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 18/9/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 18/9/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมอุทยานเทคโนโลยีการเกษตร
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เขียนโครงการ กำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของแต่ละหน่วยงาน
2)
จัดกิจกรรม การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการและการทำงานแต่ละหน่วยงาน
3)
มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานนำความรู้ที่ได้ไปสู่การปฏิบัติจริง ในการพัฒนาการจัดการและสรุปกระบวนการจัดการความรู้ วิเคราะห์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติจริง บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และนำเสนอระหว่างบุคลากรในงานสัมมนา
17.
งบประมาณ
36400
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม6,400
2)
ค่าอาหารกลางวัน20,000
3)
ค่าตกแต่งสถานที่3,000
4)
ค่าเครื่องเสียง3,000
1.3 ค่าวัสดุ
1)
ค่าไวนิล2,000
2)
ค่าวัสดุสำนักงาน2,000
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 36,400
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) บุคลากรสายสนับสนุนได้แนวทางการพัฒนาไปสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และบุคลากรจะมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
2) บุคลากรสายสนับสนุนได้รับการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถทำให้มีโอกาสพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป
3) เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานและเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
บุคลกรสายสนับสนุนไม่เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือไปยังทุกหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมโครงการ โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายสงัด ปัญญาพฤกษ์
หัวหน้าสำนักงานคณบดี
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา
รองคณดีฝ่ายบริหาร
........../........../..........