1.
ชื่อโครงการ: 
เปิดบ้านต้อนรับสาขาพืชสวน (Open House)
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.3 กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบการรับเข้าที่มีความหลากหลาย
 
มาตรการ:  4.3.1 มาตรการที่ 1 สร้างระบบและกลไกเพื่อจูงใจคนที่มีคุณภาพให้เข้ามาศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
กลยุทธ์:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
มาตรการ:  3. การพัฒนานักศึกษา
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
( / ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
นักศึกษา เป็นกำลังอันสำคัญ ที่จะก้าวออกไปเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและบุคลากรที่ขับเคลื่อนองค์กร สังคม และประเทศชาติ ซึ่งการสร้างนักศึกษาให้กลายเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นที่จะต้องให้ทั้งวิชาการความรู้ และทักษะความชำนาญเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ ตลอดจนการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อเป็นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเข้าใจความต้องการในการเลือกที่จะศึกษาสาขาที่ถนัดและสนใจของตนเอง เป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญจำเป็น การปฐมนิเทศนักศึกษาที่เข้าสู่สาขาวิชาจึงช่วยสร้างความกระจ่างแก่ผู้เรียน ก่อนจะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้ นอกจากนี้การทบทวนความรู้ผ่านทางกิจกรรมนอกชั้นเรียน ยังช่วยกระตุ้นความสนใจ และสร้างความเข้าใจและจำจดในเนื้อหาวิชาการได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งการลงมือปฏิบัติเป็นบันไดขั้นถัดมา ที่ช่วยเชื่อมต่อวิชาการความรู้และการปฏิบัติจริงเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพและก่อเกิดความเข้าใจ ตลอดจนความชำนาญมากยิ่งขึ้นด้วย
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
กลุ่มผู้รับบริการเป้าหมาย นักศึกษาในสาขาวิชาพืชสวน
อาคารสาขาพืชสวนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงแรมชั้นนำ
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) รายงานผลสัมฤทธิ์การปฐมนิเทศนักศึกษา

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาเลือกศึกษาในด้านที่ชอบได้ พร้อมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับวิชาการดีขึ้น มีการปฏิบัติงานทางพืชสวนได้ถูกต้อง และมีคุณสมบัติของการเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ 80% นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาหรือทำงานวิจัยในสายงานที่ชอบได้
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาพืชสวน
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ผศ.ดร.ภาณุพล หงษ์ภักดี
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 18/2/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 18/2/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
อาคารปฏิบัติการสาขาพืชสวน
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
ให้ความรู้โดยการบรรยาย และตอบข้อซักถาม โดยคณาจารย์ในสาขาพืชสวน
2)
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียนเข้างาน
3)
9.00 – 12.00 น. ข้อกำหนดหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน - การลงทะเบียนเรียน และการวางแผนการศึกษา - แขนงวิชาในพืชสวน และแนวทางในการทำวิจัย - แนวทางการประกอบอาชีพ หลังสำเร็จการศึกษา - ถาม-ตอบ ข้อซักถาม
4)
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
5)
13.00 – 14.00 นักศึกษาพืชสวนชั้นปีที่ 3 พบอาจารย์ที่ปรึกษา
6)
14.00-16.00 กิจกรรม "เปิดบ้านต้อนรับ" จัดแสดงผลงาน และอุปกรณ์ ปฏิบัติการในแต่ละสายงานด้านพืชสวน เช่น ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ และ พืชผัก
7)
16.00 เสร็จสิ้นกิจกรรม
17.
งบประมาณ
15000
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าจ้างเหมาเตรียมจัดแสดงผลงาน 3,500 บาท X 3 สายงาน10,500
2)
ค่าจ้างเหมาตกแต่งสถานที่ 1,000
3)
ค่าอาหารว่าง 100 คน X 35 บาท3,500
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 15,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาสาขาพืชสวนมีการพัฒนาไปสู่ความเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ นักศึกษา เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
ระยะเวลาดำเนินการไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเวลาที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
ใช้เงินสำรองในการดำเนินงาน
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายภาณุพล หงษ์ภักดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ



........../........../..........