1.
ชื่อโครงการ: 
กิจกรรมพบปะสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องโรคพืช
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.4 กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม
 
มาตรการ:  4.4.2 มาตรการที่ 2 สร้างบรรยากาศความเป็นวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในคณะเกษตรศาสตร์
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาทางการเกษตรในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ ในการแก้ปัญหาและให้บริการวิชาการทางด้านการเกษตร จนเป็นที่ยอมรับของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนโยบายและพันธะกิจที่สำคัญ คือ การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับศิษย์เก่า และการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างคณะฯ และศิษย์เก่า ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน โดยการแนะแนวทางในการทำงานจากศิษย์เก่าให้แก่ศิษย์ปัจจุบัน และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนทางด้านโรคพืชด้วย อีกทั้งสืบเนื่องด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดให้มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี 2558 เพื่อเป็นการแสดงความภาคภูมิใจ ชื่นชมและยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาวิชาโรคพืชวิทยา จึงพิจารณาเห็นควรให้จัดโครงการ “พบปะสัมพันธ์ฉันท์น้องพี่โรคพืช” ประจำปีการศึกษา 2559 ขึ้น
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) 1. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนะนำแนวทางในการทำงานให้แก่นักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 3, 4 และบัณฑิตศึกษา
2) 2. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3, 4 และบัณฑิตศึกษาในการเลือกประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
1. คณาจารย์, อาจารย์อาวุโส และบุคลากรสาขาโรคพืชวิทยา 2. นักศึกษาสาขาโรคพืชวิทยา ในระดับปริญญาตรี ชั้นปี 3,4 และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 3. ศิษย์เก่า สาขาโรคพืชวิทยา 4. บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาโรคพืชวิทยา
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) - คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ผลลัพธ์
1) 1. นักศึกษาชั้นปีที่ 3,4 และบัณฑิตศึกษานำคำแนะนำจากศิษย์เก่ามาแรงบันดาลใจในการศึกษา และเป็นแนวทางในการเลือกประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา อีกทั้งนำประสบการณ์ในการทำงานจากศิษย์เก่ามาปรับใช้ได้กับตนเองในการทำงานได้
2) 2. เกิดการสร้างเครือข่าย และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ครูอาจารย์ และบุคลากรในสาขาฯ
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) 1. มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาโรคพืชวิทยา
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
ผปส.โรคพืชวิทยา/อ.สุวิตา แสไพศาล
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 13/12/2559
    ว/ด/ป สิ้นสุด 13/12/2559
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องปฏิบัติการ 1 สาขาโรคพืชวิทยา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร ชั้น 4 อาคารAG07 คณะเกษตรศาสตร์
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
จัดพิมพ์โครงการฯ ขออนุมัติโครงการ ขออนุมัติการเงิน หนังสือเชิญเข้าร่วม คำสั่งคณะกรรมการพฤศจิกายน 59 - ธันวาคม 59
2)
จัดกิจกรรม ส่งเอกสารเบิกจ่ายพฤศจิกายน 59 - ธันวาคม 59
17.
งบประมาณ
งบประมาณเงินรายได้ ระดับปริญญาตรี
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าอาหารกลางวัน7,000
2)
ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่3,000
3)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม2,100
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 12,100
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) 1. นักศึกษาชั้นปีที่ 3,4 และบัณฑิตศึกษาได้รับคำแนะนำ และได้รับประสบการณ์ที่ดีในการทำงานจากรุ่นพี่ศิษย์เก่า
2) 2. นักศึกษาชั้นปีที่ 3,4 และบัณฑิตศึกษามีแรงบันดาลใจที่จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทำให้เกิดความพยายามและแรงจูงใจในการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
3) 3. ศิษย์ปัจจุบันได้ทำความรู้จักกับศิษย์เก่ามากยิ่งขึ้น เกิดความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน
4) 4. บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืชวิทยา เกิดความภาคภูมิใจ อบอุ่น และเกิดความรักความผูกพันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสถาบันการศึกษา
19.
การติดตามประเมินผล
แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นางสาวสุวิตา แสไพศาล
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รองศาสตราจารย์วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัน์
ผู้ประสานงานสาขาโรคพืชวิทยา
........../........../..........