1.
ชื่อโครงการ: 
การเชิญวิทยากรภายนอกมาบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านโรคพืช
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.4 กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนานักศึกษาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม
 
มาตรการ:  4.4.2 มาตรการที่ 2 สร้างบรรยากาศความเป็นวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในคณะเกษตรศาสตร์
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์: 
 
กลยุทธ์: 
 
มาตรการ: 
 
ตัวชี้วัด: 
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
(   ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิต ออกสู่ตลาดงานรองรับหลากหลายอาชีพ อาทิเช่น นักโรคพืชวิทยา นักวิชาการเกษตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อาจารย์ และนักวิจัย ทั้งในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญ การได้รับประสบการณ์ตรงและข้อแนะนำในการทำงานจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ประสบความสำเร็จในอาชีพทางด้านโรคพืช ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับวิชาชีพ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง กระตุ้นนักศึกษาให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียน และปรับปรุงตนเองให้พร้อมกับความต้องการของตลาดงานหรือสถานประกอบการอยู่เสมอ ดังนั้นทางสาขาวิชาฯ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพทางด้านโรคพืช เพื่อให้มีโอกาสสูงในการได้งานที่เหมาะสมกับตนเอง และประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานราชการ สถานประกอบการ หรือรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความร่วมมือกันในการทำงานในอนาคตได้
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ต่างๆ ด้านวิชาชีพโรคพืช
2) เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบความสำเร็จในการทำงานทางด้านโรคพืช
3) เพื่อทราบความต้องการของหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนต่อคุณสมบัติของนักศึกษา
4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และนักศึกษา
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
1. นักศึกษาสาขาโรคพืชวิทยา ในระดับปริญญาตรี ชั้นปี 3 และ 4 2. นักศึกษาสาขาโรคพืชวิทยา ในระดับบัณฑิตศึกษา 3. คณาจารย์ และบุคลากร ในสาขาโรคพืชวิทยา
ระยะเวลา 1 วัน วันที่ 22 พฤษภาคม 2560
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) - นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาสามารถพัฒนาความรู้และทักษะของตนเองให้เหมาะสมต่อความต้องการของตลาดงาน
2) นักศึกษาได้รับข้อมูลในการทำงานทางด้านโรคพืชจากผู้ที่ประสบ
3) เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
1) มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 75 เท่ากับ 5 คะแนน
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร สาขาโรคพืชวิทยา
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
อ.ดร.สุวิตา แสไพศาล
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 22/6/2560
    ว/ด/ป สิ้นสุด 22/6/2560
15.
สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร อาคาร Ag 07 ชั้น 2
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
วันจันทร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2560 9.00-9.15 น. คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 9.15-9.30 น. กล่าวเปิดการบรรยายพิเศษ โดยหัวหน้าสาขาวิชาฯ 9.30-10.30 น.บรรยายพิเศษเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานทางด้านโรคพืช โดย นางอุไร สุวรรณวงศ์ ตำแหน่ง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยอง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง 10.45-11.45 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานทางด้านโรคพืช โดย นางอุไร สุวรรณวงศ์ และรศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ 11.45-12.00 น. กล่าวปิดการบรรยาย โดยหัวหน้าสาขาวิชาฯ 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
17.
งบประมาณ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1)
ค่าตอบแทนวิทยากร1,800
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าเดินทางวิทยากร5,500
2)
ค่าอาหารกลางวัน3,600
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 10,900
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางด้านโรคพืชวิทยา
2) นักศึกษาทราบแนวทางในการพัฒนาตนเอง และได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพด้านโรคพืชจากวิทยากร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานได้อย่างเหมาะสมต่อความต้องการของตลาดงาน
3) อาจารย์ทราบความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันเพื่อการจัดการเรียนการสอน
4) สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา
19.
การติดตามประเมินผล
- นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

อ.ดร.สุวิตา แสไพศาล
ผู้ควบคุมโครงการ
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

รศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ผู้ประสานงานสาขาโรคพืชวิทยา
........../........../..........