1.
ชื่อโครงการ: 
ส่งเสริมบัณฑิตศึกษาดูงานและเข้าร่วมประชุมวิชาการ/นำเสนอผลงาน
2.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี คณะเกษตรศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์: 4. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิต
    เป้าประสงค์: เป้าประสงค์ บัณฑิตจากคณะเกษตรศาสตร์ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ผู้ที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่ “พร้อมทำงาน” อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
 
กลยุทธ์:  4.2 กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
 
มาตรการ:  4.2.1 มาตรการที่ 1 การจัดระบบสนับสนุนการเรียนการสอน
 
ตัวชี้วัด: 
3.
ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นยุทธศาสตร์:  2. การผลิตบัณฑิตที่ดี
 
กลยุทธ์:  2. การผลิตบัณฑิตที่ดี
 
มาตรการ:  2. การผลิตบัณฑิตที่ดี
 
ตัวชี้วัด:  2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร2.1 คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4.
ความเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น
ชื่อโครงการที่เกี่ยวข้อง:
    ลักษณะโครงการ: (   ) โครงการให้ผลผลิต/ผลลัพธ์แก่โครงการอื่น
(   ) โครงการที่ต้องดำเนินร่วมกัน
(   ) โครงการที่นำผลผลิต/ผลลัพธ์จากโครงการมาใช้
5.
ประเภทโครงการ
: (   ) งานประจำ
(   ) พัฒนางานประจำ
( / ) งานผลักดันยุทธศาสตร์
6.
ลักษณะโครงการ
: (   ) โครงการใหม่
(   ) โครงการต่อเนื่อง
7.
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลหลายชนิดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตดี ดังนั้นการสร้างนักศึกษาให้กลายเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นที่จะต้องให้ทั้งวิชาการความรู้ และทักษะความชำนาญเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ ตลอดจนการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อเป็นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเข้าใจความต้องการในการเลือกที่จะศึกษาสาขาที่ถนัดและสนใจของตนเอง เป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญจำเป็น การเรียนรู้ผ่านการศึกษาดูงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการต่อยอดไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้ สาขาวิชาพืชสวนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยเฉพาะการศึกษาดูงานและการเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ อันเป็นการเปิดโลกทัศน์และทำให้นักศึกษามีโอกาสรับฟังการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัยทางด้านพืชสวนในระดับประเทศ ในครั้งนี้ได้สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมรับฟัง การประชุมการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ภายใต้หัวข้อ สู่ก้าวใหม่ของพืชสวนไทย: The 17th National Horticultural Congress เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาพืชสวนได้มีโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ได้เรียนรู้กับสถานการณ์ปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพ และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อไป
8.
วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานทางวิชาการ เสริมสร้างความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ทางด้านการผลิตพืช ให้แก่บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์
9.
กลุ่มเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการ
บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 (ตลอดปีงบประมาณ2562)
10.
ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ
ผลผลิต
1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เข้าร่วม "การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17"
2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เข้าร่วมประชุมวิชาการภายในประเทศ

ผลลัพธ์
1) นักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน
11.
ดัชนีวัดความสำเร็จ
12.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับนโยบาย
สาขาพืชสวน
13.
ผู้รับผิดชอบโครงการระดับปฏิบัติการ
อ.ดร.ชานนท์ ลาภจิตร
14.
ระยะเวลา
ว/ด/ป เริ่ม 1/10/2561
    ว/ด/ป สิ้นสุด 30/9/2562
15.
สถานที่ดำเนินการ
ประชุมวิชาการในประเทศ
16.
วิธีการดำเนินการและขั้นตอนกิจกรรม
มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
   
ลำดับ
กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน/ปี ที่เริ่ม-สิ้นสุด
1)
เข้าร่วม "การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17" ณ จังหวัดเชียงใหม่
2)
ประชุมวิชาการภายในประเทศ 1 คนต่อ1ครั้ง
17.
งบประมาณ
   
ลำดับที่
รายการ
งบประมาณ (บาท)
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
1)
ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศตลอดทั้งปีงบประมาณ15,300
2)
ค่าจ้างเหมารถตู้วันละ (3,500x5วัน)17,500
3)
ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ 1คน (240x5วัน)1,200
4)
ค่าที่พัก (1ห้องx1,500x4คืน)6,000
1.3 ค่าวัสดุ
1.4 ค่าครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง
  รวมทั้งสิ้น 40,000
  หมายเหตุ ถัวเฉลี่ยทุกรายการ  
18.
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1) นักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน
19.
การติดตามประเมินผล
20.
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
19.
การป้องกันความเสี่ยง
     

 

 

ลงชื่อ.........................................ผู้ควบคุมโครงการ

นายชานนท์ ลาภจิตร
อาจารย์
........../........../..........

 

ลงชื่อ....................................ผู้อนุมัติโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน
........../........../..........