18975
คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดอบรมเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น แช่แข็ง และการผสมเทียมไก่ รุ่นที่ 5

ia

  • เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น แช่แข็ง และการผสมเทียมไก่ รุ่นที่ 5 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพิน ผาสุข รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด วิทยากรโดยทีมนักวิจัยจาก ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และในวันที่ 17 มิถุนายน 2558 มีพิธีมอบวุฒิบัตร และปิดการฝึกอบรม โดยรองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีปิด และให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ฝึกอบรม ณ ห้อง 8003 อาคาร AG 08 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) เป็นโครงการภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งพัฒนาวิชาการด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ครบวงจรโดยใช้ไก่พื้นเมืองเป็นต้นแบบ และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์เครือข่าย ข้อที่ 3 สนับสนุนและเพื่อเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการของศูนย์เครือข่ายฯ แก่เครือข่ายนักวิชาการ นักวิจัย รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรม “เทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น, แช่แข็ง และการผสมเทียมไก่ รุ่นที่ 5” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 15 - 17 มิถุนายน 2558 ณ ห้อง 8003 อาคาร AG08 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาและการผสมเทียมนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพาะขยายไก่พันธุ์ดี ตลอดจนไก่ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยเฉพาะเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง ซึ่งมีบทบาทสูงในการเป็นเครื่องมืออนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์ในปัจจุบัน

    รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) กล่าวว่า “สำหรับในประเทศไทยนั้น องค์ความรู้ดังกล่าวมีการเผยแพร่น้อย ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคนิคดังกล่าวต่อการพัฒนาการเลี้ยงไก่ ซึ่งนักวิชาการ และบุคลากรของศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ ได้ผ่านการค้นคว้าทดลอง และต้องการส่งผ่านความรู้ รวมทั้งประสบการณ์ สู่นักวิชาการตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป ที่มีความสนใจอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์ และการผลิตไก่พื้นเมืองของประเทศต่อไป” ... [17/06/2015]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: กรรณิการ์ / กรรณิการ์/ติรชล
577 people like this