2407
กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อม และต้นไม้ในระบบฟาร์ม

ia

  • เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560 กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อ “หลักการจัดการสารอินทรีย์ชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อม และต้นไม้ในระบบฟาร์มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา วิตยากร แรมโบ หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี แสนจันทร์ ดร.พฤกษา หล้าวงษา ดร.ธนภัทร์สกรณ์ สุกิจประภานนท์ อาจารย์ประจำสาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.เบ็ญจพร กุลนิตย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.สมชาย บุตรนันท์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร นักวิจัยของกลุ่ม ร่วมกับ ดร.พิจิกา ทิมสุกใส และ นายณัฐพงษ์ วงษ์มา อาจารย์ประจำสาขาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของกลุ่มอีกจำนวน 5 คน และผู้ช่วยวิจัยของกลุ่มวิจัยจำนวน 4 คน โดยกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีผู้เข้าอบรมจำนวน 120 คน และจัดการประชุมกลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

    หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ได้กล่าวแนะนำกลุ่มวิจัยฯและสมาชิกในกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ ได้บรรยายให้หลักการและองค์ความรู้ เรื่อง หลักการการจัดการสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อม และ เรื่อง บทบาทของต้นไม้ในระบบการทำฟาร์ม เน้นที่ต้นไม้ในนาข้าว ในวิถีชีวิตและทรัพยากรดินของคนอีสาน และรองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี แสนจันทร์ ได้บรรยายให้หลักการและองค์ความรู้ เรื่อง การใช้ถ่านเป็นวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มประมาณ 20-25 คน และให้ร่วมอภิปรายในประเด็นต่างจากการบรรยายในข้อข้อแรก ทั้งนี้ การจัดอบรมของกลุ่มวิจัยฯ ในครั้งนี้ นอกจากเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการสารอินทรีย์ชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดและแรงบันดาลใจในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย และด้านอื่นๆ ต่อไป

    นอกจากนี้ หัวหน้าและสมาชิกกลุ่มวิจัยฯ ได้จัดการประชุมเพื่อวางแผนการวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้มีความเข้มแข็งในการวิจัยสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน พัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักวิจัยของกลุ่ม และสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่สู่สังคมต่อไป ... [02/03/2017]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: มรกต สิงหะสุริยะ / ดร.เบ็ญจพร กุลนิตย์, วิมลศิริ พิงไธสง, SISAVANH XAYAVONG
218 people like this