3784
คณะเกษตรฯ มข. รับมอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

ia

  • เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00 น. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการในการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิด โดยคุณบรรเจิด หอมบุญมา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายธุรกิจไก่ไข่ บมจ. ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการฯ และความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคม คุณสมภพ มงคลพิทักษ์สุข ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจไก่ไข่ บมจ. ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) กล่าวมอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิดฯ และอุปกรณ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวขอบคุณ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณบดีคณะต่างๆ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะผู้บริหารและบุคลากรเครือเจริญโภคภัณฑ์ และสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้อย่างคับคั่ง ณ ห้องสิริคุณากร 3 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    คุณบรรเจิด หอมบุญมา กล่าวว่า “เมื่อปีพุทธศักราช 2539 เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส ได้มอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิด ขนาดความจุแม่ไก่ 5,000 ตัว ให้กับภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อประโยชน์ด้านการเรียน-การสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการ จากนั้น ในโอกาสที่ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าพบ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ได้มีดำริให้ปรับปรุงโรงเรือนดังกล่าว ให้มีความทันสมัย เพื่อให้นักศึกษามีสถานที่สำหรับเรียนรู้ และฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อยู่ภายในมหาวิทยาลัย เป็นการเตรียมความพร้อมและความชำนาญงาน ทั้งด้านการผลิตและการตลาด ในรูปแบบ “โครงการความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคม” อันจะนำสู่การต่อยอดอาชีพเมื่อก้าวออกไปประกอบกิจการงานในอนาคต และได้มอบหมายให้ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดย สายธุรกิจไก่ไข่ เข้ามาสนับสนุนการดำเนินโครงการ”

    คุณสมภพ มงคลพิทักษ์สุข กล่าวว่า “การที่ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ปลูกฝังพวกเราทุกคนในองค์กรมาโดยตลอดว่า การทำงานของเรา ต้องยึดมั่นในหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ ซึ่ง 2 ข้อที่ต้องมาก่อน คือ ประโยชน์ของประเทศชาติ และ ประโยชน์ของประชาชน สุดท้ายจึงเป็น ประโยชน์ขององค์กร ดังนั้นเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุน การเรียน-การสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงพร้อมเข้าสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียน-การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และ กิจกรรมเพื่อสังคม ของภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ระยะแรก ซีพีเอฟประเทศไทย ได้เข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตไข่ไก่ทั้งหมด พร้อมๆ ไปกับการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาด จนกระทั่งปัจจุบัน บุคลากรในคณะเกษตรศาสตร์ สามารถบริหารจัดการการตลาดผลผลิตไข่ไก่ได้เอง มากกว่าร้อยละ 50 เชื่อมั่นว่า ด้วยศักยภาพของบุคลากรในคณะเกษตรศาสตร์ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถร่วมกันพัฒนาให้โครงการนี้ ขยายผลเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป รวมถึงสามารถบริหารจัดการโครงการ ให้เกิดกองทุนหมุนเวียน เป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับชุมชน และก่อเกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในอนาคต”

    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย กล่าวว่า “รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) กำจัด (มหาชน) หรือ CPF ได้สนับสุนนกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น เสมอมา การที่ผู้บริหารระดับสูงสุด ของครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการเรียน การสอน การวิจัย และที่สำคัญ ได้มอบโครงการความร่วมมือทางวิชาการและกิจการเพื่อสังคม ซึ่งบริษัทต้องการให้โครงการนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีคติพจน์ คือ วิทยา จริยา และปัญญา มีการเรียนการสอนประกอบด้วย 26 คณะ จำนวนบุคลากรทั้งหมด 11,345 คน นักศึกษา 39,506 คน ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีผู้คนอยู่หนาแน่น สามารถที่จะรองรับผลผลิตไข่ไก่ ได้ หากเห็นจุดนี้ก็จะสามารถเอาโครงการ นี้จุดสร้างแรงผลักดันให้นักศึกษา ที่ที่มีความสนใจ ในการเรียนรู้การทำธุรกิจ เข้ามาเรียนรู้การจัดทำแผนธุรกิจ หรือแผนการตลาดไข่ไก่ ได้ในอนาคต ซึ่งก็จะเป็นต้นแบบอีกรูปแบบหนึ่งในการบ่มเพาะนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ และ มีศักยภาพสูง ไปรับใช้สังคมต่อไป”

    รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา กล่าวว่า “โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่หลังใหม่นี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติและสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ และบุคลากรของคณะฯ โดยในช่วงต้นบริษัทได้ส่งผู้แทนที่เป็นศิษย์เก่าของคณะฯ มาช่วยให้ความรู้ การจัดการผลิต การดูแลระบบและการดำเนินกิจการเพื่อให้กิจการสามารถเริ่มต้นได้ จากนั้นให้คณะฯเป็นผู้ดำเนินการและดูแลในลักษณะการบูรณาการระหว่างคณะวิชา นักศึกษา ศิษย์เก่า มีการทำงานร่วมกันภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือทางวิชาการ นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ยังจัดทำบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ซึ่งได้นำมูลไก่ที่เกิดขึ้นลำเลียงสู่ระบบเพื่อผลิตเป็น CBG สำหรับใช้ในการเติมพาหนะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขณะเดียวกันกากมูลที่เหลือจากการหมักแก๊ส ยังนำมาบรรจุเป็นปุ๋ยมูลไก่เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับทางโครงการอีกทางหนึ่งด้วย”

    โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการในการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิด ประกอบด้วย โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบปิดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ 1 หลัง ความจุไก่ไข่ยืนกรง 20,016 ตัว ตู้ฟักไข่ จำนวน 3 ตู้ ความสามารถฟักไข่ 15,000 ฟอง และตู้เกิด จำนวน 1 ตู้ ความจุไข่ฟัก 5,000 ฟอง ในส่วนโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่นั้น เนื่องจากซีพีเอฟประเทศไทยเห็นว่า คณะเกษตรศาสตร์ มีความสามารถบริหารจัดการผลผลิตได้เองภายในมหาวิทยาลัย จึงออกแบบและติดตั้งระบบจัดการการเลี้ยงแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อให้จัดการผลผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ... [20/02/2018]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: กรรณิการ์ / กรรณิการ์, วีรวัฒน์, มาริสา
129 people like this