1886
คณะเกษตรฯ มข. ร่วมงานประกาศความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และพันธมิตร

ia

  • เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.สาวิตรี วงศ์ตั้งถิ่นฐาน รองคณบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ ผศ.ดร.ธีระ เกียรติมานะโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ผศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน ดร.สงัด ปัญญาพฤกษ์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานคณะ คณะเกษตรศาสตร์ และบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์ ร่วมงานประกาศความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และพันธมิตร โดย นายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ เลขานุการคณะทำงาน และกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศความร่วมมือเทคโนโลยีทรู 5G ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และพันธมิตรภาคการเกษตร ได้แก่ บ. ซีพีเอฟ โดย นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด โดย นายรักชาติ อรุณาทิตย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยนายอำนาจ บุตรทองคำวงษ์ ผู้จัดการส่วนคูโบต้าโซลูชั่น ในการนำเทคโนโลยี 5G แลนวัตกรรมมายกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรไทย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งภาคการเกษตร และปศุสัตว์ ภายใต้ ‘True 5G World of Agriculture’ ณ หมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    การผนึกกำลังในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมมือทั้งภาคนักวิชาการ-วิจัย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาคเอกชน ได้แก่บริษัทในเครือซีพี สยามคูโบต้า และทรู โดยร่วมกันนำเทคโนโลยี 5G มาช่วยพัฒนาภาคเกษตรกรรม โดยแบ่งเป็น 3 โครงการ ดังนี้

    1) Smart Farm ฟาร์มไก่อัจฉริยะ พัฒนาจากของเดิมที่ซีพีเอฟร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการนำ 5G มาทดลอง และติดตั้งอุปกรณ์ IOT เพิ่มเติม อาทิเช่น กล้อง AI เพื่อดูสุขภาพของไก่ และเพิ่มเซนเซอร์สำหรับโรงเรือน เพื่อทดสอบนวัตกรรมโรงเรือนไก่ที่ทันสมัย ประมวณผลผ่านแพลตฟอร์ม Smart Agriculture Solution และจัดเก็บบน Cloud

    2) Smart Crop แปลงข้าวโพดอัจฉริยะ เป็นการนำ5G ทำงานร่วมกับ อุปกรณ์ IOT ต่าง ๆ อาทิเช่น ระบบตรวจจับสภาพอากาศ ระบบการควบคุมน้ำ และการใช้โดรน AI มาตรวจสุขภาพของพืช และการใส่ปุ๋ย เพื่อนำมาใช้บริหารจัดการแปลงข้าวโพด ตลอดจนการวัดคุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากการเก็บเกี่ยว และการจัดเก็บข้อมูล

    3) Smart Farming Machines เครื่องจักรกลทางการเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยี 5G AR (Augmented Reality) มาทดลองใช้ในการซ่อมเครื่องจักรกลทางไกล โดยช่างผู้ชำนาญ เพิ่มความรวดเร็วทำให้เครื่องจักรกลมีสภาพพร้อมใช้งาน และทันต่อฤดูกาลเพาะปลูกผลผลิต โดยมีบริษัท ฟินน์ โซลูชั่น จำกัด เป็นผู้จัดทำคอนเทนต์ AR นอกจากนี้ยังมีการร่วมกันพัฒนาเครื่องจักรกลแบบไร้คนขับ เกษตรกรสามารถควบคุมทำงานของเครื่องจักรกลได้ด้วยเครื่องมือสื่อสารผ่านสัญญาณทรู 5G

    สำหรับการร่วมพลังกันในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของทุกภาคส่วน มาร่วมพัฒนาภาคเกษตรไทยให้แข็งแรง และยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้สูง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิอากาศ และการแข่งขันของโลก ด้วยการนำข้อมูลมาวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลต่อประเทศชาติในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำในด้านการผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ... [03/02/2020]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: กรรณิการ์ / กรรณิการ์
37 people like this