11465
คณะเกษตรศาสตร์ร่วมมือสกวนำผลงานวิจัยแก้ปัญหาการผลิตในชุมชน

ia

  • อาจารย์วีระ ภาคอุทัย อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการ การพัฒนาระบบการตัดสินใจและจัดการโซ่อุปทานพริกปลอดภัย จังหวัดแพร่ น่าน และชัยภูมิ อาจารย์ ดร. เยาวรัตน์ ศรีวรานันท์ นางสาวภัครมัย ดงใจ และนางสาวเกยูร ประยูรชาญ ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำผลงานวิจัยออกจัดกิจกรรม ฝึกอบรมและจัดนิทรรศการ แก้ไขปัญหาการผลิตพริกของเกษตรกร จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 จัดฝึกอบรมเกษตรกร จำนวน 191 คน และเจ้าหน้าที่เกษตร จำนวน 5 คน โดยมีนางลำเยาว์ วงศ์สุขสิน เกษตรอำเภอจัตุรัสเป็นประธานกล่าวเปิดงานฝึกอบรม ณ.ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลจัตุรัส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยอำเภอจัตุรัสมีพื้นที่ปลูกพริกมาก มีห้องเย็นที่สามารถเก็บพริกแห้งและมะขามเปียก จำนวน 5-6 แห่ง ทำให้อำเภอจัตุรัส เป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายพริกแห้งที่สำคัญของประเทศ แต่ปัญหาฝนแล้งและปัญหาโรคและแมลงที่เกิดกับพริกมีมาก อีกทั้งราคาพืชไร่ มีราคาสูงขึ้น ทั้งมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยส่งโรงงาน ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกพริกลดลง จากปีละ 24,000 ไร่ เหลือเพียง 5,200 ไร่ ทั้งที่อำเภอจัตุรัสเป็นแหล่งผลิตพริกยอดสน ที่มีความโดดเด่นในการนำไปทำเป็นพริกแห้งและพริกป่นเนื่องจากมีกลิ่นหอม ความเผ็ดปานกลาง จนได้ชื่อว่า “ เผ็ด แซบ หอม นัว หรือ เผ็ด กลมกล่อม” ทำให้ราคาพริกแห้งขายปลีกมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 180-200 บาท วันที่ 8 สิงหาคม 2556 จัดฝึกอบรม เรื่อง เพิ่มแนวทาง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกพริก ตำบลวะตะแบก จำนวน 105 คน เจ้าหน้าที่เกษตร จำนวน 4 คน โดยมีนายทองใบ พรามจร เกษตรอำเภอเทพสถิต เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ.ห้องประชุมอเนกประสงค์หลังที่ว่าการอำเภอ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ทั้งนี้เพราะอำเภอเทพสถิตมีพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 4,200 ไร่ เป็นพริกไร่หรือพริกฤดูฝนและปัจจุบันมีการพัฒนาระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดมากขึ้น ทำให้ปลูกพริกได้เร็วขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-กันยายน ปัญหาที่สำคัญคือราคาพริกตกต่ำ ปัญหาโรครากปมจากไส้เดือนฝอย โรคใบด่างหรือใบแก้วจากเชื้อไวรัส โรคต้นดำจากเชื้อรา วันที่ 9 สิงหาคม 2556 คณะนักวิจัยร่วมต้อนรับ นายพรศักดิ์ จีรนัณย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายพินิจ บุญวรรณ นายอำเภอจัตุรัส นางลำเยาว์ วงศ์สุขสิน เกษตรอำเภอจัตุรัส และหัวหน้าส่วนราชการ นางพิกุล มาลา เกษตรกรผู้นำพริกยอดสนระบบน้ำหยด และผู้นำชุมชน เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่ปลูกพริก ตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่โครงการวิจัยฯ ได้ดำเนินงานมาหลายปี เกษตรกรมีการรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนพริกปลอดสารพิษ ตำบลหนองบัวใหญ่ และได้ร่วมกิจกรรมเผยแพร่พริกปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ โดยทางสื่อโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 10 สิงหาคม 2556 ร่วมจัดนิทรรศการ โครงการพัฒนาพริก จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และกิจกรรมฝึกอบรม การเพิ่มมูลค่าพริกด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก จัดโดยจังหวัดชัยภูมิ มีนาย เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนที่หนึ่งเป็นประธาน มีเกษตรกรผู้ปลูกพริกและเจ้าหน้าที่ กว่า 1,000 คน เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านหนองโพนงาม หมู่ 14 ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ อาจารย์วีระ ภาคอุทัย กล่าวว่า โครงการวิจัยฯ ได้นำตัวอย่างพริกปลอดภัยที่สมาชิกโครงการฯ ได้ผลิต เช่น พริกพันธุ์ลูกผสม ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต พริกยอดสน ตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส เข้าร่วมจัดนิทรรศการ มีการมอบคู่มือการจัดการห่วงโซ่อุปทานพริกสดปลอดภัย ประมาณ 150 เล่ม ให้เกษตรกรที่ปลูกพริก และมีการสาธิตการขยายเชื้อราเมตตาไรเซียม เพื่อกำจัดแมลงปากกัดปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว แมลงวันพริก หนอนต่างๆ และปลวก ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างมากโดยเฉพาะคู่มือการจัดการห่วงโซ่อุปทานพริกสดปลอดภัย “ในการจัดฝึกอบรมครั้งต่อไป กำหนดไว้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2556 ณ.ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งน้าว อําเภอสอง จังหวัดแพร่” อาจารย์วีระ ภาคอุทัย กล่าวในที่สุด ... [19/08/2013]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3
  • Reported/Photo by: /
858 people like this