8562
อาจารย์คณะเกษตรฯ มข.เสนอผลงานและร่วมวางแผนวิจัยยางกับ HRPP

ia

  • อาจารย์ ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร หัวหน้ากลุ่มวิจัย “การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (KDRN)” คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอผลงานการวิจัยด้านยางพารา เรื่อง Latex yield of Hevea brasiliensis poorly indicates soil drought ในการสัมมนาวิชาการนานาชาติ 4th HRPP Annual Scientific Seminar เรื่อง Towards Sustainable Development of Natural Rubber Production in Thailand and Southeast Asia จัดขึ้นโดย สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร และHevea Research Platform in Partnership (HRPP) มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 7 ประเทศ จำนวน 164 คน ในระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรม เซ็นทารา โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี (เว็บไซต์อ้างอิงhttp://hrpp.ku.ac.th/) ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ได้มีการประชุม 4th Meeting of HRPP Scientific Committee โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาและวิเทศสัมพันธ์ และ อาจารย์ ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในฐานะผู้แทนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมปรึกษาหารือถึงแผนการดำเนินงานทางด้านการวิจัยยางพารา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศไทย (HRPP) ซึ่งจากการประชุมได้กำหนดแนวทางความร่วมมือทางการวิจัยทางด้านยางพาราในอนาคต และสร้างความร่วมมือในระบบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาแบบสองปริญญาระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าการเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะวางแผนดำเนินการเพื่อพัฒนาสู่ระบบการเรียนการสอนดังกล่าวต่อไป Hevea Research Platform in Partnership: HRPP คือ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านยางพารา ซึ่งเป็นเครือข่ายทางวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือของ 4 สถาบันหลัก (Core Members) ของประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมวิชาการเกษตร และสถาบัน CIRAD แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Understanding, MOU) ร่วมกันทั้ง 4 สถาบัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551และในปัจจุบันมีสถาบันสมทบ 12 สถาบัน ประกอบด้วย สถาบันจากประเทศไทย 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และสถาบันจากประเทศฝรั่งเศส 6 สถาบัน ได้แก่ Montpellier SupAgro, INRA, IRD, University of Montpellier II, University Blaise Pascal of Clermont-Ferrand และ University du Maine of Le Mans โดยวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายฯ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดจนผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยางพารา อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเครือข่ายระหว่างสถาบันทางวิชาการที่ดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย และพัฒนายางพาราของทั้งสองประเทศ โดยในปัจจุบันมีโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสมาชิกของสถาบันในเครือข่าย มากกว่า 20 โครงการ (ขอบคุณที่มา :Surat News Online http://goo.gl/h00oM) ... [31/10/2012]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2
  • Reported/Photo by: /
1049 people like this