12272
ศูนย์เครือข่ายวิจัยฯเดินทางสำรวจพื้นที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองของโรงเรียนมีชัยพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์

ia

  • เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 รศ.บัญญัติ เหล่าไพบูลย์(รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาฯ) ผศ.ดร.ยุพิน ผาสุข(นักวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาฯ) และนายกฤษฎา เจริญมูล(ผู้ช่วยวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาฯ) ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่สำหรับรองรับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง พันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และไก่ชี เคเคยู 12 ของโรงเรียน มีชัยพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามถึงโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยจะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ให้นักเรียนหรือเกษตรกรในชุมชนที่มีความสนใจในด้านการเกษตร(ไก่พื้นเมือง) มาศึกษาเรียนรู้และถ้ามีความสนใจจะรับพันธุ์ไก่พื้นเมืองไปเลี้ยงสามารถรับพันธุ์ไก่ไปเลี้ยงได้เลย โดยประสานงานกับอาจารย์แก่นศรี ไชยโคตร คุณวัชรินทร์ และคุณวารี ซึ่งทางโรงเรียนมีชัยพัฒนาจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นแหล่งผลิตลูกไก่สู่ชุมชน และกระจายต่อโรงเรียนสาขากว่าอีก 80 โรงเรียน โดยพื้นที่เลี้ยงไก่ภายในโรงเรียนจะอยู่ โซนหลังโรงเรียนบริเวณสวนต้นมะม่วง โดยจะสร้างโรงเรือนมุมแผกขนาด 4 X 6 เมตร จำนวน 2 โรงเรือน และใช้ตาข่ายล้อมโรงเรือนเพื่อปล่อยพื้นที่ให้ไก่ใช้เดิน ทั้งสองโรงเรือนรองรับไก่ได้ 400 ตัว จากการสอบถามถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากสร้างคอกไก่เสร็จ จะเป็นเรื่องสัตว์ต่างๆ เช่น งู แมว และหนู ฯลฯ มากัดทำลายไก่พื้นเมืองได้ เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียน ติดลำแม่น้ำปลายมาศ ซึ่งจะมีสัตว์จำพวกนี้มารบกวนได้ ซึ่งทางโรงเรียนจะนำตาข่ายตาถี่มาล้อมคอกไก่กันไว้อีกชั้นนึ่ง จากการสอบถามและเดินดูงานภายในโรงเรียน มีกิจกรรมทางด้านการเกษตรมายมาย เช่น การทำมะนาวนอกฤดู การทำสวนมะม่วง การทำผักไฮโดรโปนิกส์ การทำการเกษตรสำหรับผู้พิการ (wheelchair agriculture) การเลี้ยงไก่ไข่โรงเรือนปิด ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนั้นจะมีแรงงานเกษตรเป็นฝ่ายดูแล โดยบางส่วนนักเรียนในโรงเรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ตามความสนใจของนักเรียน จะมีอาจารย์ด้านการเกษตรสอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงด้านการตลาด ทุกกิจกรรมการเกษตรนั้นจะให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง(Child-centered learning) เป็นการพัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กนักเรียน และเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาการเกษตรต่อไป ... [22/10/2014]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
1200 people like this