21988
ศูนย์เครือข่ายวิจัยฯเดินทางนำไก่พื้นเมืองไปให้กับโรงเรียนมีชัยพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ia

  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ผศ.พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา (นักวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ) นางสาวศรัญญา ศิริปัญญา (นักวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ) และนายกฤษฎา เจริญมูล(ผู้ช่วยวิจัยศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ) ได้นำไก่พื้นเมือง 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 และไก่ชี เคเคยู 12 ไปให้กับโรงเรียนมีชัยพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการนำไปใช้ในการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร(การเลี้ยงไก่พื้นเมือง)ให้กับบุคคลที่สนใจและต่อยอดขยายผลพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เนื่องจากโรงเรียนมีชัยพัฒนา มีกิจกรรมทางการเกษตรที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานให้บุคคลภายนอกมาศึกษาดูงานและพัฒนาเป็นอาชีพหลักของตัวเอง หลายกิจกรรมในเขตโรงเรียน เช่น การทำมะนาวนอกฤดู การทำสวนมะม่วง การทำผักไฮโดรโปนิกส์ การปลูกเมล่อน การทำการเกษตรสำหรับผู้พิการ (wheelchair agriculture) การเลี้ยงไก่ไข่โรงเรือนปิด ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนั้นจะมีแรงงานเกษตรเป็นฝ่ายดูแล โดยบางส่วนนักเรียนในโรงเรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ตามความสนใจของนักเรียน จะมีอาจารย์ด้านการเกษตรสอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงด้านการตลาด เป็นการพัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กนักเรียน และเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาการเกษตรต่อไป ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) ได้นำไก่พื้นเมืองไปโรงเรียนมีชัย 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 จำนวน 210 ตัว และไก่ชี เคเคยู 12 จำนวน 190 ตัว อายุจะอยู่ในช่วง 5 สัปดาห์ ถึง 6 สัปดาห์ มีการทำวัคซีนนิวคลาสเซิล ฝีดาษ กัมโปโร และหลอดลมอักเสบไว้แล้ว ในส่วนของโรงเรือน จะแบ่งโรงเรือนเป็น 2 โรงเรือน แต่ละโรงเรือนมีขนาด 4X6 เมตร โดยล้อมตาข่ายให้ไก่พื้นเมืองมีพื้นที่สำหรับเดินขนาด 6X40 เมตร โรงเรือนมีลักษณะเป็นแบบเพิงหมาแหงน นำหญ้าคามาไพทำเป็นหลังคาสำหรับบังแดดบังฝน ทั้งนี้แต่ละโรงเรือนมีการแยกเลี้ยงไก่ต่างชนิดพันธุ์กัน โดยโรงเรือนที่ 1 เลี้ยงไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และโรงเรือนที่ 2 เลี้ยงไก่พันธุ์ชี เคเคยู 12 จากการสอบถามถึงเรื่องปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและมีความกังวลในเรื่อง สัตว์ต่างๆเช่น สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู และพวกสัตว์พวกแมว และหนู อาจจะมากัดทำลายไก่พื้นเมืองได้ เนื่องจากโรงเรือนติดลำแม่น้ำปลายมาศ ซึ่งจะมีสัตว์จำพวกนี้มารบกวนได้ ซึ่งทางโรงเรียนได้นำตาข่ายตาถี่มาล้อมคอกไก่กันไว้อีกชั้นนึ่งแล้ว ในเรื่องของการให้อาหาร ช่วงแรกจะเป็นการให้อาหารข้น(ชนิดเม็ด) จากนั้นจะทำการปรับอาหารไปเป็นวัสดุเหลือใช้จากท้องถิ่น จำพวก ข้าวปลาย รำที่เหลือจากโรงสีข้าว หรือเศษผัก/อาหารที่หาได้ตามสภาพ เพื่อจะได้เป็นการเลี้ยงไก่แบบลดต้นทุนค่าอาหาร จากการสอบถามผู้ปสานงานของทางโรงเรียนมีชัยพัฒนา อาจารย์แก่นศรี ไชยโคตร คุณวัชรินทร์ และคุณวารี ได้พูดคุยในเรื่องกิจกรรมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองทางโรงเรียนมีชัยพัฒนาจะนำกิจกรรมนี้ทำให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของนักเรียน ทั้งในรูปแบบการนำไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน ระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จนไปถึงขั้นนำไก่พื้นเมืองออกขาย เพื่อที่จะเสริมเป็นความรู้และพัฒนาทักษะทางด้านการเกษตรติดตัวนักเรียน ... [06/11/2014]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3
  • Reported/Photo by: /
1691 people like this