DEADLINE
ห้ามพลาด...การนำเสนอผลงานวิจัยในประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 19
วันสุดท้ายของการส่งต้นฉบับออนไลน์
29 กันยายน 2560
หมายเหตุ: บรรณาธิวารประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 19 ขอสงวนสิทธิ์ยังไม่รับพิจารณาบทความวิจัยที่ไม่จัดเตรียมบทความวิจัยตามข้อกำหนดของประชุมวิชาการและขอส่งคืนต้นฉบับเพื่อให้ผู้เขียนปรับแก้ไขให้ถูกต้อง

Download ตัวอย่างการเตรียมหน้าแรก (pdf)
Download Template การเตรียมหน้าแรก (doc)
Download Template การเตรียมเนื้อหา (doc)
Download Checklist ก่อนส่งเรื่อง (pdf)

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ

  1. ผู้นำเสนอปากเปล่า และนำเสนอโดยโปสเตอร์ จะต้องจัดเตรียมต้นฉบับ ตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
  2. เรื่องที่จะนำเสนอในการประชุมวิชาการต้องลงทะเบียน (registration) ผ่านระบบออนไลน์ ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference19
  3. เรื่องที่จะลงตีพิมพ์ต้องเป็นบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชาทางการเกษตรและไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดมาก่อน และไม่เป็นการแปลจากบทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารมาก่อน
  4. ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ โดยมี ความยาวไม่เกิน 6 หน้า พิมพ์บนกระดาษพิมพ์สั้น (A4 หรือ 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว) ระยะขอบ 1 นิ้ว (ไม่ต้องจัด 2 คอลัมน์) จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสาร MS-Word version 2007 เป็นต้นไป ใช้รูปแบบอักษร Cordia New ขนาด 14 pts. หรือ Times New Roman ขนาด 11 pts. เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด บันทึกชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อผู้เขียนที่เป็นชื่อแรกของบทความ หากมีบทความมากกว่า 1 เรื่อง ให้ระบุหมายเลขต่อท้ายชื่อ
  5. มีหัวข้อตามลำดับ ดังนี้

    ชื่อเรื่อง: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานผู้เขียน: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    บทคัดย่อ: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 300 คำ และให้ระบุคำสำคัญและ
    Key words: (เรียงตามลำดับความสำคัญ) ไม่เกิน 5 คำ ท้าย Abstract
    บทนำ: แสดงความสำคัญของปัญหา  การตรวจเอกสาร และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
    วิธีการศึกษา:  ควรเขียนให้กระชับและมีลำดับการอธิบายที่เหมาะสม ประกอบด้วยหน่วยทดลอง เทคนิคการเก็บข้อมูล แผนการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม และระบุสถานที่และช่วงเวลาดำเนินการวิจัยอย่างชัดเจน
    ผลการศึกษา: บรรยายผลการวิจัย หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือรูปประกอบ (ถ้ามี) ตารางและรูปประกอบให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด
    วิจารณ์: (อาจรวมกับผลการศึกษา) ควรประกอบด้วยหลักการที่เป็นผลมาจากการวิจัยเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น ปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์์
    สรุป: (อาจรวมกับวิจารณ์) ไม่ควรซ้ำซ้อนกับการแสดงผล แต่เป็นการสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
    คำขอบคุณ:(ถ้ามี)  สำหรับผู้ช่วยเหลืองานวิจัย หรือการเตรียมเอกสาร (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย ) แหล่งทุนหน่วยงาน หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
    เอกสารอ้างอิง: เขียนตามรูปแบบในข้อ 7

  6. การอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใช้ระบบ ชื่อ-ปี เช่น ศักดิ์ และสิทธ์ (2526) รายงานว่า... หรือ ... (ศักดิ์ และสิทธิ์, 2526) กรณีที่ผู้เขียน 3 คนขึ้นไป ให้ใช้ ศักดิ์ และคณะ (2526) รายงานว่า… หรือ Smith et al. (2526)   กรณีที่มีหลายรายงานอ้างอิงเรื่องเดียวกัน ให้ใช้ … (ศักดิ์ และสิทธิ์, 2526; กานพลู, 2538; Smith, 2005) โดยเรียงตามปีที่พิมพ์ และภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
  7. ตารางและภาพประกอบเว้นระยะห่าง 1 บรรทัด โดยจัดพิมพ์แทรกในเนื้อเรื่อง และให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด การใส่หมายเหตุ (footnote) ของตารางให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงคำอธิบาย เช่น 1/, 2/ เป็นต้น ชื่อตารางให้วางอยู่เหนือตาราง เช่น Table 1 Genetic parameter estimation of ….  ส่วนชื่อภาพประกอบให้วางอยู่ใต้ภาพ เช่น Figure 1 The relationship between …. การแสดงนัยสำคัญทางสถิติให้ใช้สัญลักษณ์ "*" หรือ "**" สำหรับ P<0.05 และ P<0.01 ตามลำดับ หน่วยในตาราง (รวมถึงในเนื้่อเรื่อง) ให้ใช้ระบบเมตริกซ์และใช้อักษรย่อ เช่น 100 %, 10 mg/ml (มก./มล.) เป็นต้น และหากมีการแสดงค่าเฉลี่ยและค่า P-value ต้องแสดงค่า standard error of mean (SEM) ประกอบด้วย
  8. เอกสารอ้างอิง (references) ซึ่งได้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และบรรณานุกรม (bibliography) ซึ่งใช้ประกอบการเขียนแต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อเรื่องให้เขียน ดังนี้
    1. เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ เรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ และตามจำนวนผู้เขียน กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี
    2. การอ้างอิงวารสาร (journal) ถ้าวารสารมีชื่อย่อให้ใช้ชื่อย่อ
    3. พัชนี เค้ายา, ประสิทธิ์  ใจศิล, สนั่น  จอกลอย, และนิมิตร วรสูตร.  2546.  ความเป็นไปได้ในการผลิต
        เมล็ดพันธุ์งาลูกผสมเพื่อการค้า.  แก่นเกษตร 32:63–73.
      Yedidia, I., N. Benhamou, and I. Chet.  1999.  Induction of defense response in cucumber
        plants (Cucumis sativus L.) by the biocontrol agent Trichoderma harzianum
        Appl. Environ. Microbiol. 65:1061-1070.
    4. ตำรา (textbook) หรือหนังสือ (ระบุสำนักพิมพ์ และ ชื่อเมือง ไม่ต้องระบุจำนวนหน้า)
      สมภพ ฐิตะวสันต์.  2537.  หลักการผลิตพืช.  สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
      Shaeffer, R. L., W. Mendenhall, and L. Ott.  1996.  Elementary Survey Sampling.  5th Edition. 
        Duxbury Press, CA.
    5. วิทยานิพนธ์
    6. กนกพรรณ โสมาศรี.  2544. ศักยภาพของเชื้อราใน  ดินสำหรับการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม
        (Meloidogyne incognita) เชิงชีววิธีในมะเขือเทศ.วิทยานิพนธ์ปริญญา
        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
      Granum, M.  2003.  A comparative study on the effect of cassava hay supplementation in
        swamp buffaloes. M. S. Thesis.  Khon Kaen University, Khon Kaen.
    7. เรื่องย่อยในตำราหรือเอกสารที่มีผู้เขียนแยกเรื่องกันเขียน และมีบรรณาธิการ
    8. Robinson, P. H., E. K. Okine, and J. J. Kennelly. 1992. Measurement of protein digestion in
        ruminants. P.121-125. In: S. Nissen.  Modern Methods in Protein Nutrition and
        Metabolism. Academic Press, CA.
    9. ประชุมวิชาการ (Proceedings) ควรเลือกใช้ประชุมวิชาการที่มีผู้ตรวจอ่าน
    10. เมธี สุกุลธนาศร, สมิต ยิ้มมงคล, สมเกียรติ ประสานพานิช, และเลอชาติ บุญเอก.  2550.  การใช้ผิวถั่วเหลืองเพื่อทดแทน
        มันเส้นในอาหารสำหรับโคขุน. น. 297-305. ใน: ประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 3 เรื่องยุคใหม่กับการ
        เปลี่ยนแปลงปศุสัตว์ไทย 23 มกราคม 2550. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
    11. สื่อวิชาการทาง website ควรเลือกที่เป็นข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ
    12. ประพฤทธิ์  จงใจภักดิ์, จเร  กลิ่นกล่อม, และทวีศิลป์  จีนด้วง. 2549. 3 การสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่
        พื้นเมืองพันธุ์แดง: ค่าอัตราพันธุกรรมและคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะเศรษฐกิจในไก่
        พื้นเมือง. http://www.dld.go.th/breeding/r/49/ 09_hen_ebv.pdf.
        ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2550.
      FDA. 2001. Effect of the use of antimicrobials in food-producing animals on pathogen load:
        Systematic review of the published literature. http://www.fda.gov/cvm/
        antimicrobial/pathrpt.pdf. Accessed 14 Dec. 2001.

 ขั้นตอนการตรวจแก้ไขและการยอมรับให้นำเสนอในประชุมวิชาการ

  • ผู้เขียนส่งต้นฉบับผ่านทาง online ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference19
  • กองบรรณาธิการพิจารณาบทความเบื้องต้น หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเตรียมต้นฉบับ กองบรรณาธิการจะปฏิเสธต้นฉบับและแจ้งผู้เขียนทราบทันที
  • ต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (ทั้งภายในและภายนอก) ตรวจอ่านเพื่อพิจารณาผล และ/หรือ ให้คำแนะนำปรับแก้ไข เรื่องที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจอ่าน อย่างน้อย 2 ท่านจึงจะยอมรับให้นำเสนอในการประชุมวิชาการได้
  • กรณีที่บทความได้รับการพิจารณาให้ผ่านโดยมีเงื่อนไขให้แก้ไขปรับปรุง หากผู้เขียนไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธต้นฉบับดังกล่าว 
  • การติดต่อผู้เขียนเพื่อการตรวจแก้ไข หรือตอบรับ/ปฏิเสธ ต้นฉบับ กระทำผ่านทาง online  และผู้เขียนสามารถติดตามสถานภาพของต้นฉบับที่ส่งได้ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference19

คำแนะนำในการเตรียมโปสเตอร์

  1. โปสเตอร์ขนาด 90x90 ซม.
  2. ควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
    ชื่อเรื่อง: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานผู้เขียน: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อเรื่อง: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานผู้เขียน: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ไม่ต้องใส่บทคัดย่อ
    บทนำ: แสดงเนื้อหาโดยย่อของ ความสำคัญของปัญหา  การตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
    วิธีการศึกษา:  ควรเขียนให้กระชับและเป็นลำดับที่เหมาะสม ประกอบด้วยหน่วยทดลอง เทคนิคการเก็บ/การวิเคราะห์ข้อมูลหรือตัวอย่าง แผนการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติ และรายละเอียดสำคัญอื่นๆ พอสังเขป
    ผลการศึกษา: แสดงผลการวิจัย โดยใช้ตารางหรือรูปประกอบ และมีการบรรยายที่จำเป็น วิจารณ์: (อาจรวมกับผลการศึกษา) ควรประกอบด้วยหลักการที่ได้จากผลการวิจัยเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น ปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
    สรุป: (อาจรวมกับวิจารณ์) ไม่ควรซ้ำซ้อนกับการแสดงผล แต่เป็นการสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
    คำขอบคุณ:(ถ้ามี)  สำหรับผู้ช่วยเหลืองานวิจัย หรือการเตรียมเอกสาร (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย ) แหล่งทุนหน่วยงาน หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
    เอกสารอ้างอิง: ควรมีการอ้างอิงเฉพาะที่เป็นหลักสำคัญกับงานวิจัย เขียนตามรูปแบบของการเตรียมต้นฉบับ อนุโลมให้ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่าปกติได้ ้
  3. ไม่เป็นการตัด (cut) จากต้นฉบับมาแปะ (paste) ลงในโปสเตอร์ ควรเรียบเรียงโดยย่อจากต้นฉบับมาลงในโปสเตอร์ มีจำนวนตารางและภาพประกอบที่เหมาะสม
  4. ผู้นำเสนอต้องนำโปสเตอร์ไปติดในบริเวณที่จัดไว้ ในเช้าวันที่ 29 มกราคม 2561
  5. ผู้นำเสนอต้องอยู่ประจำโปสเตอร์เพื่อนำเสนอและตอบข้อซักถามแก่ผู้ที่สนใจ ในวันที่ 29 มกราคม 2561 เวลาจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง

คำแนะนำในการเตรียมนำเสนอภาคบรรยาย

  1. ให้ผู้นำเสนอจัดทำสไลด์ โดยโปรแกรม MS-Power point version 2007 ความยาวไม่เกิน 12 นาที (ซักถามอีก 3 นาที) กำหนดชื่อไฟล์โดยใช้ชื่อผู้นำเสนอ เป็นภาษาอังกฤษ หากมีมากกว่า 1 เรื่อง ให้ใส่หมายเลขต่อท้ายชื่อ
  2. ให้ส่งไฟล์นำเสนอที่ฝ่ายโสตฯ ของงานประชุมวิชาการล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  3. การนำเสนอควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
    ชื่อเรื่อง: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ชื่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานผู้เขียน: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ไม่ต้องใส่บทคัดย่อ
    บทนำ: แสดงความสำคัญของปัญหา  การตรวจเอกสาร และวัตถุประสงค์ของของงานวิจัย โดยย่อ
    วิธีการศึกษา:  ควรเขียนให้กระชับและเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม ประกอบด้วยหน่วยทดลอง เทคนิคการเก็บข้อมูล แผนการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติ และรายละเอียดสำคัญอื่นๆ พอสังเขป
    ผลการศึกษา: บรรยายสรุปผลการวิจัย หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือรูปประกอบ (ถ้ามี) ตารางและรูปประกอบให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด
    วิจารณ์: (อาจรวมกับผลการศึกษา) ควรประกอบด้วยหลักการที่ออกมาจากการวิจัย เปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น ปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
    สรุป: (อาจรวมกับวิจารณ์) ไม่ควรซ้ำซ้อนกับการแสดงผล แต่เป็นการสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
    คำขอบคุณ:(ถ้ามี)  สำหรับผู้ช่วยเหลืองานวิจัย หรือการเตรียมเอกสาร (แต่มิได้มีชื่อเป็นผู้เขียนร่วม) แหล่งทุนหน่วยงาน หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
    ไม่ต้องใส่เอกสารอ้างอิง
  4. ไม่เป็นการตัด (cut) จากต้นฉบับมาแปะ (paste) ลงในสไลด์ ควรเรียบเรียงโดยย่อจากต้นฉบับมาลงในสไลด์ มีจำนวนตารางและภาพประกอบที่เหมาะสม