DEADLINE
ห้ามพลาด...การนำเสนอผลงานวิจัยในประชุมวิชากาฤเกษตรครั้งที่
20
วันสุดท้ายของการส่งต้นฉบับออนไลน์
15 พฤศจิกายน 2561 เวลา 24.00 น.
หมายเหตุ: บรรณาธิวารประชุมวิชาการเกษตรครั้งที่ 20 ขอสงวนสิทธิ์ยังไม่รับพิจารณาบทความวิจัยที่ไม่จัดเตรียมบทความวิจัยตามข้อกำหนดของประชุมวิชาการและขอส่งคืนต้นฉบับเพื่อให้ผู้เขียนปรับแก้ไขให้ถูกต้อง
|
Download ตัวอย่างการเตรียมหน้าแรก (pdf)
Download Template การเตรียมหน้าแรก (doc)
Download Template การเตรียมเนื้อหา (doc)
Download Checklist ก่อนส่งเรื่อง (pdf)
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
- ผู้นำเสนอปากเปล่า และนำเสนอโดยโปสเตอร์ จะต้องจัดเตรียมต้นฉบับ ตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
- เรื่องที่จะนำเสนอในการประชุมวิชาการต้องลงทะเบียน (registration) ผ่านระบบออนไลน์
ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference20
- เรื่องที่จะลงตีพิมพ์ต้องเป็นบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชาทางการเกษตรและไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดมาก่อน และไม่เป็นการแปลจากบทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารมาก่อน
- ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ โดยมี ความยาวไม่เกิน 6 หน้า พิมพ์บนกระดาษพิมพ์สั้น (A4 หรือ 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว) ระยะขอบ 1 นิ้ว (ไม่ต้องจัด 2 คอลัมน์) จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสาร MS-Word version 2007 เป็นต้นไป ใช้รูปแบบอักษร Cordia New ขนาด 14 pts. หรือ Times New Roman ขนาด 11 pts. เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด บันทึกชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อผู้เขียนที่เป็นชื่อแรกของบทความ หากมีบทความมากกว่า 1 เรื่อง ให้ระบุหมายเลขต่อท้ายชื่อ
- มีหัวข้อตามลำดับ ดังนี้
ชื่อเรื่อง: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ชื่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานผู้เขียน: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 300 คำ และให้ระบุคำสำคัญและ
Key words: (เรียงตามลำดับความสำคัญ) ไม่เกิน 5 คำ ท้าย Abstract
บทนำ: แสดงความสำคัญของปัญหา การตรวจเอกสาร และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
วิธีการศึกษา: ควรเขียนให้กระชับและมีลำดับการอธิบายที่เหมาะสม ประกอบด้วยหน่วยทดลอง เทคนิคการเก็บข้อมูล แผนการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม และระบุสถานที่และช่วงเวลาดำเนินการวิจัยอย่างชัดเจน
ผลการศึกษา: บรรยายผลการวิจัย หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือรูปประกอบ (ถ้ามี) ตารางและรูปประกอบให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด
วิจารณ์: (อาจรวมกับผลการศึกษา) ควรประกอบด้วยหลักการที่เป็นผลมาจากการวิจัยเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น ปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต และแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์์
สรุป: (อาจรวมกับวิจารณ์) ไม่ควรซ้ำซ้อนกับการแสดงผล แต่เป็นการสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
คำขอบคุณ:(ถ้ามี) สำหรับผู้ช่วยเหลืองานวิจัย หรือการเตรียมเอกสาร (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย ) แหล่งทุนหน่วยงาน หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง: เขียนตามรูปแบบในข้อ 7
- การอ้างอิงในเนื้อเรื่องให้ใช้ระบบ ชื่อ-ปี เช่น ศักดิ์ และสิทธ์ (2526) รายงานว่า... หรือ ... (ศักดิ์ และสิทธิ์, 2526) กรณีที่ผู้เขียน 3 คนขึ้นไป ให้ใช้ ศักดิ์ และคณะ (2526) รายงานว่า
หรือ Smith et al. (2526) กรณีที่มีหลายรายงานอ้างอิงเรื่องเดียวกัน ให้ใช้
(ศักดิ์ และสิทธิ์, 2526; กานพลู, 2538; Smith, 2005) โดยเรียงตามปีที่พิมพ์ และภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
- ตารางและภาพประกอบเว้นระยะห่าง 1 บรรทัด โดยจัดพิมพ์แทรกในเนื้อเรื่อง และให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด การใส่หมายเหตุ (footnote) ของตารางให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงคำอธิบาย เช่น 1/, 2/ เป็นต้น ชื่อตารางให้วางอยู่เหนือตาราง เช่น Table 1 Genetic parameter estimation of
. ส่วนชื่อภาพประกอบให้วางอยู่ใต้ภาพ เช่น Figure 1 The relationship between
. การแสดงนัยสำคัญทางสถิติให้ใช้สัญลักษณ์ "*" หรือ "**" สำหรับ P<0.05 และ P<0.01 ตามลำดับ หน่วยในตาราง (รวมถึงในเนื้่อเรื่อง) ให้ใช้ระบบเมตริกซ์และใช้อักษรย่อ เช่น 100 %, 10 mg/ml (มก./มล.) เป็นต้น และหากมีการแสดงค่าเฉลี่ยและค่า P-value ต้องแสดงค่า standard error of mean (SEM) ประกอบด้วย
- เอกสารอ้างอิง (references) ซึ่งได้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง และบรรณานุกรม (bibliography) ซึ่งใช้ประกอบการเขียนแต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อเรื่องให้เขียน ดังนี้
- เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ เรียงลำดับตามตัวอักษรและสระ และตามจำนวนผู้เขียน กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปี
- การอ้างอิงวารสาร (journal) ถ้าวารสารมีชื่อย่อให้ใช้ชื่อย่อ
พัชนี เค้ายา, ประสิทธิ์ ใจศิล, สนั่น จอกลอย, และนิมิตร วรสูตร. 2546. ความเป็นไปได้ในการผลิต |
|
เมล็ดพันธุ์งาลูกผสมเพื่อการค้า. แก่นเกษตร 32:6373. |
Yedidia, I., N. Benhamou, and I. Chet. 1999. Induction of defense response in cucumber |
|
plants (Cucumis sativus L.) by the biocontrol agent Trichoderma harzianum. |
|
Appl. Environ. Microbiol. 65:1061-1070. |
- ตำรา (textbook) หรือหนังสือ (ระบุสำนักพิมพ์ และ ชื่อเมือง ไม่ต้องระบุจำนวนหน้า)
สมภพ ฐิตะวสันต์. 2537. หลักการผลิตพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. |
Shaeffer, R. L., W. Mendenhall, and L. Ott. 1996. Elementary Survey Sampling. 5th Edition. |
|
Duxbury Press, CA. |
- วิทยานิพนธ์
กนกพรรณ โสมาศรี. 2544. ศักยภาพของเชื้อราใน ดินสำหรับการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม |
|
(Meloidogyne incognita) เชิงชีววิธีในมะเขือเทศ.วิทยานิพนธ์ปริญญา |
|
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. |
Granum, M. 2003. A comparative study on the effect of cassava hay supplementation in |
|
swamp buffaloes. M. S. Thesis. Khon Kaen University, Khon Kaen. |
- เรื่องย่อยในตำราหรือเอกสารที่มีผู้เขียนแยกเรื่องกันเขียน และมีบรรณาธิการ
Robinson, P. H., E. K. Okine, and J. J. Kennelly. 1992. Measurement of protein digestion in |
|
ruminants. P.121-125. In: S. Nissen. Modern Methods in Protein Nutrition and |
|
Metabolism. Academic Press, CA. |
- ประชุมวิชาการ (Proceedings) ควรเลือกใช้ประชุมวิชาการที่มีผู้ตรวจอ่าน
เมธี สุกุลธนาศร, สมิต ยิ้มมงคล, สมเกียรติ ประสานพานิช, และเลอชาติ บุญเอก. 2550. การใช้ผิวถั่วเหลืองเพื่อทดแทน |
|
มันเส้นในอาหารสำหรับโคขุน. น. 297-305. ใน: ประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 3 เรื่องยุคใหม่กับการ |
|
เปลี่ยนแปลงปศุสัตว์ไทย 23 มกราคม 2550. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. |
- สื่อวิชาการทาง website ควรเลือกที่เป็นข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ
ประพฤทธิ์ จงใจภักดิ์, จเร กลิ่นกล่อม, และทวีศิลป์ จีนด้วง. 2549. 3 การสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ |
|
พื้นเมืองพันธุ์แดง: ค่าอัตราพันธุกรรมและคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะเศรษฐกิจในไก่ |
|
พื้นเมือง. http://www.dld.go.th/breeding/r/49/ 09_hen_ebv.pdf. |
|
ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2550. |
FDA. 2001. Effect of the use of antimicrobials in food-producing animals on pathogen load: |
|
Systematic review of the published literature. http://www.fda.gov/cvm/ |
|
antimicrobial/pathrpt.pdf. Accessed 14 Dec. 2001. |
ขั้นตอนการตรวจแก้ไขและการยอมรับให้นำเสนอในประชุมวิชาการ
- ผู้เขียนส่งต้นฉบับผ่านทาง online ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference20
- กองบรรณาธิการพิจารณาบทความเบื้องต้น หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการเตรียมต้นฉบับ กองบรรณาธิการจะปฏิเสธต้นฉบับและแจ้งผู้เขียนทราบทันที
- ต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (ทั้งภายในและภายนอก) ตรวจอ่านเพื่อพิจารณาผล และ/หรือ ให้คำแนะนำปรับแก้ไข เรื่องที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจอ่าน อย่างน้อย 2 ท่านจึงจะยอมรับให้นำเสนอในการประชุมวิชาการได้
- กรณีที่บทความได้รับการพิจารณาให้ผ่านโดยมีเงื่อนไขให้แก้ไขปรับปรุง หากผู้เขียนไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธต้นฉบับดังกล่าว
- การติดต่อผู้เขียนเพื่อการตรวจแก้ไข หรือตอบรับ/ปฏิเสธ ต้นฉบับ กระทำผ่านทาง
online และผู้เขียนสามารถติดตามสถานภาพของต้นฉบับที่ส่งได้ที่ http://ag2.kku.ac.th/conference20
|