วิสัยทัศน์
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งมั่นที่จะเป็นคณะวิชาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตร
เป็นผู้นำด้านการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน และเป็นขุมปัญญาของอีสานและสังคม

พันธกิจ
เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจ ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะเกษตรศาสตร์จึงได้กำหนดพันธกิจ 4 ด้านของคณะ เพื่อใช้เป็นกรอบของการดำเนินงานดังนี้
(1) การผลิตบัณฑิต เพื่อให้ได้บัณฑิตเกษตรศาสตร์ที่กอปรด้วย วิทยา จริยา และปัญญา และมีคุณภาพตามที่ได้กำหนดไว้
(2) การวิจัย เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการเกษตร
(3) การบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้สังคมได้รับความรู้และข้อมูลทางวิชาการเกษตร
(4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้สังคมตระหนักถึงภูมิปัญญาเกษตรพื้นบ้าน รวมถึงศิลปะวัฒนธรรมของสังคมเกษตรและสังคมไทยโดยรวม

ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์

เป้าประสงค์ (Goals)

  • ระบบบริหารจัดการที่ดี
  • คณะเกษตรศาสตร์มีระบบบริหารจัดการที่ดีที่สร้างคุณภาพชีวิตและความผาสุกในการปฏิบัติกงานของบุคลากรในองค์กร (healthy organization) ควบคู่กับการสร้างธรรมาภิบาลและมารตรฐานการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (high performance organization)
  • การผลิตบัณฑิตที่ดี
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ มีคุณธรรมและจริยธรรม ทมีทักษะและความรับผิดชอบในการทำงาน รวมทั้งการใช้ชีวิตในสังคม ใฝ่รู้และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต และมีสมรรถนะระดับสากล สามารถแข่งขันกับนานาติได้ บนพื้นฐานความเป็นไทย
  • การพัฒนานักศึกษา
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานักศึกษา ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความรู้ และประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถดำรงชีพอย฿่ในสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพ
  • การวิจัย
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่ตอบสนองต่อการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
  • บริการวิชาการ
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งการบริการวิชาการทางการเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
  • การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่าในระดับชาติและนานาชาติ
  • การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งพัฒนาการประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งคุณภาพ

 

  • ศิษย์เก่าสัมพันธ์
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้ศิษย์เก่าร่วมพัฒนาคณะฯ ก้าวไปเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ
  • การบริหารจัดการทรัพยากร ชุมชนสัมพันธ์ และทรัพย์สินทางปัญญา
  • คณะเกษตรศาสตร์ได้รับการยอมรับจากสังคมและชุมชน มีการบริหารจัดการทรัพยากรและทรัพย์สินที่ดี
  • การมุ่งสู่ความเป็นสถาบันชั้นนำทางการเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียน
  • คณะเกษตรศาสตร์มุ่งสร้างความร่วมมือและเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการวิจัยและบริการวิชาการในภูมิภาคเอเชีย

ค่านิยม : 
ค่านิยมหลักของคณะเกษตรศาสตร์ คือ “ร่วมมือร่วมใจ ใฝ่ศึกษา พัฒนาวิชาการ ประสานชุมชน” 

แผนผังเชิงยุทธศาสตร์การบริหารคณะเกษตรศาสตร์

ประวัติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

           อาชีพเกษตรกรรม ผูกพันและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนไทยมาเนิ่นนานความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสัญญาณบอกเหตุ ุที่ทำให้การเกษตรแบบดั้งเดิมต้องเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันที่แน่นอนของอนาคต เมื่อทรัพยากรน้อยลง ประชากรที่มากขึ้น ผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ ์เริ่มกลับให้ผลผลิตที่ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ธรรมชาติกับภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดไม่เพียงพอ ที่จะพลิกฟื้น ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งเช่นในอดีตกลับมาได้อีกต่อไป เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องชี้นำสังคมเกษตรกรรมของภูมิภาคให้มีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาค จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยกระแสความต้องการ อย่างยิ่งยวดท่ามกลางภารกิจที่ท้าทาย

           พ.ศ. 2505 เมื่อคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรัฐบาลมอบหมายให้เป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาภูมิภาค มีมติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้น และได้เลือกคณะวิชาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งศึกษาจากโครงสร้างความต้องการในการพัฒนา ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของคณะเกษตรศาสตร์ และ 2 ปีถัดมา เจตนารมย์ของการวางรากฐานการศึกษาและขยายโอกาสแก่ที่ห่างไกลเกิดเป็นรูปธรรม เมื่อนักศึกษารุ่นแรกของคณะเกษตรศาสตร์จำนวน 49 คน เข้ามาศึกษา จวบจน พ.ศ. 2510 วันสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของสถาบันแห่งนี้ และยังเป็นภาพที่ผู้คนจำนวนมากได้รำลึงถึง เมื่อพสกนิกรชาวอีสานได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีขององค์เหนือหัวชาวไทยครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิต ิ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 10 ธันวาคม 2510 โดยใช้อาคารที่ทำการหลังแรกของคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างโดยรัฐบาลนิวซีแลนด์เป็นสถานที่ประกอบพิธี 

          ในฐานะของคณะวิชาที่มากกว่าการเป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม แก้ไขปัญหาทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้เทคนิค วิธีสู่การพัฒนาอาชีพและสังคม ให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากรซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงาน ที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิตสู่สังคมทั้งในภูมิภาค และที่อื่นๆ ในฐานะของคณะวิชา ที่มากกว่าการ เป็นเพียงแหล่งวิชาความรู้ของผู้เข้ามาศึกษาเท่านั้น ยังได้ทำหน้าที่เป็น แหล่งวิชาการของสังคมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ทางการเกษตร พร้อมกับการแสวงหาความรู้ เทคนิควิธี สู่การพัฒนาอาชีพและสังคมให้เจริญก้าวหน้า จากความรู้ความสามารถของบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์และข้าราชการ ผู้คอยสนับสนุนการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันอย่าง เป็นระบบปัจจุบันเรามีอาจารย์ ์กว่า 113 คน ข้าราชการกว่า 78 คน และเปิดทำการสอนแก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่จำนวนมากกว่า 2,186 คน ในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชา สูงกว่าปริญญาตรีทั้งปริญญาโท 16 สาขาวิชา และ ปริญญาเอก 9 สาขาวิชาสามารถผลิตบัณฑิต
สู่สังคมทั้งในภูมิภาคและที่อื่นๆ ทั่วประเทศกว่า 5,500 คน

เพื่อให้การแบ่งภาระงานทางวิชาการมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงแบ่งสายงานออกเป็น
ภาควิชาต่างๆ 5 ภาควิชา คือ

1. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร เป็นการรวม 5 สาขาวิชา เข้าด้วยกัน คือ สาขาวิชากีฏวิทยา เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวกับสัตว์ประเภท แมลง สาขาวิชาโรคพืชวิทยา หาความเกี่ยวพันกับระบบเกษตรกรรม ทั้งด้านศัตรูพืช การนำมาใช้ประโยชน์ การจัดการ การอนุรักษ์ การประยุกต์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ค้นคว้าหาสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค ที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตร และหนทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ สาขาวิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงาน ที่มีบทบาทในการวิเคราะห์สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ เพื่อใช้ในการทำการเกษตร เรียนรู้นำ
เทคโนโลยีมาเพื่อจัดการแก้ไขปัญหา สภาพทรัพยากร สาขาวิชาพืชไร่ศึกษาค้นคว้าพืชไร่ การปรับปรุงพันธุ์เทคนิค วิธีการเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าการลงทุน ตลอดจนการศึกษาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สาขาวิชาพืชสวน ศึกษาจัดการระบบพืชสวน ส่งเสริมการบำรุงพันธุ์ และการขยายพันธุ์ ระบบการ จัดการผลผลิตของพืชสวนทุกชนิด 
2. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นในด้านการจัดการ ทรัพยากรเกษตร ทั้งใน ระบบธุรกิจ และระบบสหกรณ์ นำวิทยาการที่ใช้ วิเคราะห์การตลาดมาเพื่อประเมินผลตอบแทน ต่อเกษตรกรและผู้ผลผลิต
3 . ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร เป็นภาควิชาที่มีบทบาทสำคัญของระบบ เกษตรกรรมในปัจจุบัน เพื่อที่จะรับและถ่ายทอดเทคนิควิธีที่เหมาะสมผ่านสื่อต่างๆ ไปยังเกษตรกร ให้เกิดความรู้ ความสามารถ ในการผลิต
4 . ภาควิชาสัตวศาสตร์ ศึกษาค้นคว้าวิทยาการด้านการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยการบำรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การดูแลเรียนรู้หลักโภชนศาสตร์เพื่อการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการจัดการผลผลิตและการแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงสัตว์
5 . ภาควิชาประมง เป็นการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยง ศึกษาสภาพแวดล้อมคุณภาพน้ำที่มีผลต่อสัตว์น้ำ

         เพื่อให้ทุกภาควิชาสามารถทำงานได้ครบวงจร คือ การเรียนการสอน ที่เน้นการฝึกภาคปฏิบัติ การค้นคว้าวิจัยของคณาจารย์จากทุกสาขาวิชาการเกษตร ตลอดจนการทำหน้าที่เป็นแหล่งความรู้ของประชาชนที่
เข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรม จึงจัดให้มีหมวดงานไร่ ซึ่งเป็นเสมือนสนามฝึกงานกระจายออกไปตามลักษณะของภาควิชา 
นอกจากนี้คณะเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานด้านการทดลอง ที่มีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และเป็นการขยายผลงานด้านการเกษตรที่ทันสมัย ให้เป็นที่รู้จักของ ชุมชนภายนอก จึงมีการจัดตั้งสถานีฟาร์มฝึกนอกพื้นที่ มหาวิทยาลัย 2 แห่ง คือ สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม
เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับพืชผักและไม้เมืองหนาว เนื่องจากบริเวณที่ตั้งเป็นทำเลที่สวยงามและบรรยากาศร่มรื่น จึงได้จัดบริเวณเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน มีที่พักและห้องประชุม 
เพื่อการจัดฝึกอบรมได้อีกด้วย สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกร จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ ใช้เป็นที่ทดลองด้านการปศุสัตว์และการเกษตรด้านอื่นๆ

         ในการจัดการศึกษา นักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นเบื้องต้นของทุกสาขาวิชา อันเป็นการปูพื้นฐาน ทางวิชาการ จนกว่าจะถึงหลักสูตรที่แต่ละคนเลือกเข้าสู่สาขาวิชาที่มีความสนใจ เมื่อถึงเวลานั้นผู้เรียนจะได้รับความรู้ ที่เข้มข้น ทั้งในชั้นเรียนและการฝึกปฏิบัติ โดยหลักสูตรการเรียนการสอนจะมีการพัฒนาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพการณ์ ์ในปัจจุบัน นักศึกษาจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นประสบการณ์จริง ด้วยการฝึกทั้งในสถานประกอบการ แปลงเพาะปลูก ฟาร์มปศุสัตว์ อันเป็นความร่วมมือที่มาจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ซึ่งเล็งเห็นความ สำคัญของการศึกษา การเรียนการสอนได้มีการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยมาใช้ อุปกรณ์ เครื่องมือ ตำราต่างๆ เพียงพอที่นักศึกษา ใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า ภายใต้คำแนะนำจากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะ ผู้ถ่ายทอดความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อสังคม คณะเกษตรศาสตร์ ยังได้มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติแก่ นักศึกษาที่สนใจเข้าเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษอีกด้วย งานด้านการค้นคว้าวิจัยเป็นภารกิจด้านหนึ่ง ที่คณะเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในฐานะที่คณะเกษตรศาสตร์เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญของภูมิภาค และกำลังขยาย บทบาทออกไปสู่ต่างประเทศ จึงได้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยการวิจัย ส่วนใหญ่เพื่อการแก้ไขปัญหาการเกษตร และการแสวงหาเทคนิควิธีหรือความรู้ใหม่ๆ นำมาสู่การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ราคาประหยัด แต่มีคุณภาพทัดเทียมต่างประเทศ และเพื่อให้ผล แห่งความก้าวหน้าอันมาจากความเพียรพยายามของคณาจารย์ ได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน อย่างแท้จริง คณะเกษตรศาสตร์ จึงส่งเสริมให้เกิดงานด้านการบริการวิชาการสู่ชุมชน ทั้งรูปแบบการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา และการศึกษาดูงาน ของเกษตรกรมีการจัดทำเอกสารคู่มือและสื่อการเรียนรู้ที่เกษตรกรจะนำไปศึกษา เพื่อพัฒนางานของตนเองต่อไป เพื่อให้พันธกิจของคณะเกษตรศาสตร์มีความสมบูรณ์ตามทิศทางของการพัฒนามหาวิทยาลัย

       นอกจากนี้แล้วยังมีการจัดให้มีตลาดนัดสินค้าเกษตรทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ผลิตพบกับผู้บริโภคโดยตรง และยังจัดให้มีงานวันเกษตรภาคอีสานเป็นประจำทุกปี เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนโดยให้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นิทรรศการวิชาการ การเสวนาวิชาการเกษตร การสัมมนาทางวิชาการ และการออกร้านของภาครัฐและเอกชน ซึ่งงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จะเป็นอีกบทบาทที่คณะเกษตรศาสตร์ยังคงสืบสายภาระกิจด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเน้นการส่งเสริมวัฒนธรรรม อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การจัดงานมหกรรมอาหารอีสาน ในงานเกษตรภาคอีสาน การประกวดเครื่องจักรสาน และงานหัตถกรรมต่างๆ

        ในทุกภาระกิจคณะเกษตรศาสตร์ จะแสวงหาความร่วมมือจากทุกแหล่งที่พร้อมจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา ขีดความสามารถ ก่อให้เกิดโครงการความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ทุนวิจัยที่มาจากทั้งในและต่างประเทศ วิสัยทัศน์ของการบริหารจัดการที่โดดเด่นเพื่อการพึ่งพาตนเอง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวนโยบายแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการโครงงานและองค์กรในกำกับ ที่ผ่านการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย 
ให้ทดลองจัดหาโครงการต่างๆ มาบริหารจัดการแบบพึ่งพาตนเอง เช่น โครงการเลี้ยงไก่เศรษฐกิจ การรับรองคุณภาพ เมล็ดพันธุ์เกษตรกร การผลิตนม สถาบริการสัมมนาและฝึกอบรมเขื่อนจุฬาภรณ์ และอุทยานเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งเป็นแปลงสาธิตและการฝึกอบรมขนาดใหญ่กลางพื้นที่มหาวิทยาลัย คณะเกษตรศาสตร์ได้ใช้ความพยายามและทุ่มเท เพื่อแสดงถึงศักยภาพและบทบาทแห่งความเป็นผู้นำของวิทยาการด้านการเกษตรให้เป็นที่ประจักษ์แล้วในวันนี้ 
แต่นั่นยังมิใช่การบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ หากแต่การมีบทบาทเสมือนศูนย์กลางแห่งความรู้ ที่จะดึงความร่วมมือ จากนานาประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำแห่งภาคพื้นเอเซีย อันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ผสานภูมิปัญญาของการเกษตร ไทย กับเทคโนโลยีของโลก เพื่อการพัฒนาการเกษตรที่ก้าวหน้า ยังเป็นหนทางแห่งอนาคตที่เราจะไป ให้ถึงมวล แห่งความรู้ และประสบการณ์ จะเป็นผู้ยกระดับสังคมเกษตรให้มีการปรับตัวอย่างเหมาะสม เป็นสภาวะที่เอื้ออำนวย เป็นคุณภาพชีวิต ที่มั่นคงยั่งยืน เพื่อรอยยิ้มและอนาคตอันสดใส ถึงแม้หนทางแห่งความสำเร็จจะอยู่อีกไกลแค่ไหน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมที่จะทุ่มเทความรู้ ความเพียรพยายาม อย่างเต็มกำลังสามารถ เพื่อนำสังคม ไปสู่จุดนั้น ด้วยความมั่นใจ