5778
อาจารย์คณะเกษตรฯ มข. และนักศึกษาวิชาการผลิตไม้ดอก และไม้ประดับร่วมงาน 12th Asia Pacific Conference: APOC 2016

ia

  • เมื่อวันที่ 19-20 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา อ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์ และทรัพยากรการเกษตร นำคณะนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชา 123331 การผลิตไม้ดอกและไม้ประดับ จำนวน 40 คน เข้าร่วมประชุม และชมงาน 12th Asia Pacific Conference: APOC 2016 หรือการประชุมวิชาการนานาชาติกล้วยไม้แห่งเอเชีย แปซิฟิค ครั้งที่ 12 งานดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน และสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งการจัดงานในครั้งที่ 12 นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องาน ‘กล้วยไม้เพื่อมวลมนุษยชาติ (Orchids and Human Being) ณ ศูนย์การแสดงสินค้า และการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

    การประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference) ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยมี ศ.ระพี สาคริก ปรมาจารย์ด้านกล้วยไม้ของเมืองไทย เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก โดยมีการจัดการประชุมขึ้นทุก ๆ 3 ปี ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพงาน APOC ครั้งที่ 4 ที่ จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2535 โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานหลัก และในปี 2553 ศ.ระพี ในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร ได้สนองนโยบายของรัฐบาล ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การอุตสาหกรรมกล้วยไม้โลก และพัฒนาสู่การเป็นเจ้าภาพ APOC 2016

    กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการประชุมวิชาการนานาชาติ ทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ในหัวข้อต่างๆ อาทิ เช่น การอนุรักษ์กล้วยไม้ และการจำแนกอนุกรมวิธานพืช การตลาดและการเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้ การปลูกเลี้ยง การป้องกันกำจัด และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวกล้วยไม้ ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ กิจกรรมประกวดกล้วยไม้ประเภทต่างๆ การจัดสวน การจัดแจกันดอกไม้ การฝึกอบรมการแปรรูป และเพิ่มมูลค่ากล้วยไม้ เป็นต้น

    การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาวิชาการผลิตไม้ดอกและไม้ประดับในครั้งนี้ ก็เพื่อให้นักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของกล้วยไม้ไทย ในฐานะไม้ดอกเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของไทย ที่มีมูลค่าการผลิตและส่งออก ปีละหลายร้อยล้านบาท ทั้งในรูปของไม้ตัดดอก ไม้ดอกกระถาง และการแปรรูปกล้วยไม้เป็นอาหาร และพืชสมุนไพร ตลอดจนได้เรียนรู้ และรับทราบสถานการณ์การผลิตกล้วยไม้ของประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีการผลิต และจัดการด้านการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตดีเยี่ยม จากนานาประเทศ นอกจากนี้ ยังสร้างความตระหนักในคุณค่า และหวงแหนทรัพยากรกล้วยไม้ของไทย ทั้งในเชิงอนุรักษ์ และพัฒนาต่อยอดสู่การผลิตเป็นการค้าต่อไป ... [05/04/2016]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: ดร.ภาณุพล หงษ์ภักดี / www.facebook.com/apoc2016, ดร.ภาณุพล หงษ์ภักดี
193 people like this