3339
คณะเกษตรฯ มข. ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าว ณ แปลงนาสาธิต จังหวัดร้อยเอ็ด

ia

  • เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการต่างประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม รองคณบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กข 6 ต้านทานโรคไหม้ (ธัญสิริน) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน พันเอกกิตติศักดิ์ บุญพธรรมชัย รองผู้บัญชาการทหารบกกองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และได้รับเกียรติจากนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีทหารจากองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เกษตรกรจากบ้านโพธิ์ชัย เกษตรกรหมู่บ้านรอบค่าย และนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวในครั้งนี้ จำนวน 60 คน ณ แปลงนาสาธิต พื้นที่บ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

    ข้าว “ธัญสิริน” เป็นชื่อพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ซึ่งพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐาน จนได้ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ กข 6 แต่มีความต้านทานโรคไหม้ ซึ่งเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี มีคุณสมบัติเด่นคือ เป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ต้านทานต่อโรคไหม้ แตกกอได้ดี มีลำต้นแข็งแรงทนการหักล้ม คุณภาพการหุงต้มดี และมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้

    กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการลงแขกเกี่ยวข้าวร่วมกันของคณะเกษตรศาสตร์ กองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเกษตรกรหมู่บ้านรอบค่ายทหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีและให้นักศึกษาและทหารที่มาร่วมงานได้ศึกษาศิลปวัฒธรรมและวิถีชีวิตในชนบท การเกี่ยวข้าวที่นักศึกษาและทหารได้ทำเป็นการเกี่ยวข้าวโดยใช้เคียวซึ่งเป็นวิธีการเกี่ยวข้าวแบบดั้งเดิมของคนไทยตาหาดูได้ยากในปัจจุบัน อีกทั้งเกษตรกรชาวนาที่เกี่ยวข้าวด้วยวิธีนี้ก็กำลังลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้รถเกี่ยวข้าวที่สะดวกและเกี่ยวข้าวได้รวดเร็วกว่า ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของนักศึกษาและทหารที่จะได้เรียนรู้วิธีการเกี่ยวข้าวแบบดั้งเดิม ช่วยทำให้เข้าใจถึงความยากลำบากของชาวนาว่า กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ดนั้นยากเย็นสักเพียงใด กิจกรรมนี้จะช่วยให้นักเรียนเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของข้าวและรู้จักบริโภคข้าวได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป ... [25/11/2016]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: กรรณิการ์ / รศ.วิโรจน์ ภัทรจินดา, กรรณิการ์
407 people like this