1914
กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน จัดประชุมกลุ่มวิจัยฯ ครั้งที่ 1/2561

ia

  • เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุม สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เวลา 13.00 – 16.00 น. กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน หาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ดร. บรรยง ทุมแสน ที่ปรึกษากลุ่มวิจัยฯ พร้อมด้วยนักวิจัยของกลุ่มวิจัย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤกษา หล้าวงษา ดร.ธนภัทร์สกรณ์ สุกิจประภานนท์ อาจารย์จากสาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข. ดร.เบ็ญจพร กุลนิตย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.สมชาย บุตรนันท์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ ดร.รติกร แสงห้าว อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของกลุ่มวิจัยฯ อีกจำนวน 3 คน และผู้ช่วยวิจัยของกลุ่มวิจัยฯ อีกจำนวน 3 คน จัดการประชุมกลุ่มวิจัยครั้งที่ 1/2561 เพื่อรายงานและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งร่วมวางแผนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของการวิจัยและการเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ การวิจัยเชิงพื้นฐานและเชิงประยุกต์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น กลุ่มวิจัยฯ ได้รับสมาชิกนักวิจัยเพิ่มเติม ได้แก่เพิ่มเติมกับ Prof. Terry Rambo อาจารย์จากโปรแกรมเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มข. และนางสาวสุจิตรา ยศดา นักศึกษาระดับปริญญาเอก สังกัดโปรแกรมเกษตรเชิงระบบ เพื่อสรรค์สร้างผลงานการวิจัยทางด้านปฐพีศาสตร์เชิงชาติพันธุ์ (ethnopedology) ซึ่งเป็นสาขาด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกดินของคนพื้นถิ่น หรือการจำแนกดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้กลุ่มวิจัยฯ ทำงานครอบคลุมเนื้อหาที่กว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยฯ ได้เชิญ นางสาวนงนุช ฤทธิศร เจ้าหน้าที่การเงินของกลุ่มวิจัยฯ อธิบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณตามระเบียบใหม่ด้วย

    การจัดประชุมกลุ่มวิจัยฯ ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกลุ่มวิจัยฯ แล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวความคิดในการวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินผ่านทางการสร้างและสะสมอินทรียวัตถุของดิน แก่นักวิจัยและนักศึกษา รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยร่วมมือกันสร้างผลงานเพื่อให้กลุ่มวิจัยฯ มีค่าคะแนนที่สะท้อนประสิทธิภาพของการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยในฐานะมหาวิทยาลัยวิจัยและเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์สู่สังคมต่อไป ... [14/02/2018]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2
  • Reported/Photo by: ชุติกาญจน์ ทรายลิยา / ชุติกาญจน์ ทรายลิยา
61 people like this