10439
อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยจากสกวเพื่อผลิตงานวิจัยด้านเกษตรเชิงระบบ

ia

  • ศาสตราจารย์ ดร.เทอรี่ แรมโบ (Prof. Dr. Terry Rambo) ศาสตราจารย์พิเศษ หลักสูตรเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) เป็นเวลาสามปี เพื่อดำเนินการวิจัย เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรในภาคอีสาน: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรแบบสหสาขาวิชา” โดยมี Prof. Dr. Fukui Hayao รศ.ดร.สุจินต์ สิมารักษ์ ดร.อรุณี พรมคำบุตร และดร.นิสิต คำหล้า เป็นนักวิจัยผู้ร่วมในโครงการ ซึ่งทุนวิจัยครั้งนี้ จะสนับสนุนคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของหลักสูตรเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ ในการทำวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศาสตราจารย์ แรมโบ เป็นนักมานุษยวิทยา ที่ได้ทำวิจัยภาคสนามทั้งในประเทศมาเลเซียและเวียดนามมาอย่างกว้างขวาง มีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการรวมทั้งหนังสือเป็นจำนวนมาก ด้านนิเวศวิทยามนุษย์ (Human Ecology) และระบบเกษตร (Agricultural System) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์ที่ดีอันยาวนานกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 โดยการร่วมงานวิจัยกับ รศ.ดร.เทอด เจริญวัฒนา และ ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย ในโครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID (KKU-USAID Farming Systems Research Project) ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2543 ดำรงตำแหน่ง Senior Fellow และ Director ของ Program on Environment ที่ East-West Center รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และเคยเป็นอาจารย์ผู้สอนในภาควิชา Anthropology and Sociology ของ University of Malaya ประเทศมาเลเซีย และระหว่าง ปี พ.ศ.2543-2547 ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Center for Southeast Asian Studies) แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ แรมโบ เป็นอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ แรมโบ เผยว่า โครงการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรในภาคอีสาน: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรแบบสหสาขาวิชานี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อทำงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อการปรับปรุงความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอาจารย์รุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นรวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่นๆในภูมิภาคในการทำวิจัยระบบเกษตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ 3) เพื่อสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตรเกษตรเชิงระบบ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ แรมโบ เผยต่ออีกว่า “โครงการวิจัยเน้นการศึกษาใน 5 ประเด็นหลัก คือ การใช้เครื่องจักรกลในการเกษตร การทำเกษตรแบบเข้มข้น การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในวิถีชีวิตของครัวเรือนในชนบท บทบาทอันต่อเนื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้านในการพัฒนาการเกษตร และประเด็นสุดท้ายคือ ผลกระทบของการขยายตัวของเมืองต่อการเกษตร” ... [28/08/2013]




    ia .ia2 .ia3

  • Reported/Photo by: /
833 people like this