20893
คณะเกษตรฯ มข. จับงานวิจัย ข้าวโพด พริก มะเขือเทศ ใส่มือชาวบ้านไปขยายผล

ia

  • การฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง การผลิตและการแปรรูปข้าวโพด พริก มะเขือเทศ ให้แก่ ผู้แทนเกษตรกรจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดเลย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นวิทยากรหลักด้านแปรรูปข้าวโพด และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร เป็นวิทยากรหลักด้านแปรรูปพริกและมะเขือเทศ พร้อมด้วยผู้ช่วยวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม ในการถ่ายทอดความรู้ทั้งในห้องอบรมและในภาคสนาม สนับสนุนการฝึกอบรมโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2555 ณ ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และ ห้องประชุมแตงกวา อาคารพืชสวน 2 ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับวันแรก เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง การผลิตและการแปรรูปข้าวโพด เป็นการถ่ายทอดความรู้และให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแปรรูปข้าวโพดพันธุ์ข้าวเหนียวข้าวก่ำ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายอย่าง อาทิ นมข้าวโพดสีม่วง น้ำข้าวโพดสีม่วง คุกกี้ข้าวโพด คอนนัท หลากหายรส ได้แก่ รสดั้งเดิม รสบาบีคิว รสปาปิก้า รสสาหร่าย รสคอร์นชีส และรสเกลือกระเทียม เป็นต้น โดยให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองชิมข้าวโพดคลุก น้ำข้าวโพด และคอนนัทรสต่างๆแล้วให้คะแนนตามความชอบของแต่ละคน ส่วนวันต่อมา เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง การผลิตและการแปรรูปพริกและมะเขือเทศ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร พร้อมด้วยผู้ช่วยวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในการถ่ายทอดความรู้ทั้งในห้องอบรมและในภาคสนาม โดยการนำผู้เข้าอบรมเข้าเรียนรู้ในแปลงปลูกพริก แล้วอธิบายในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่พันธุ์พริกทีจะนำมาปลูก การดูแลรักษาให้เจริญงอกงามหรือการเขตกรรม การตัดแต่งทรงต้นให้โปร่ง การป้องกันโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการเก็บรักษาผลผลิต จากนั้นเป็นการแนะนำการแปรรูปพริกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ครีมนวดแก้ปวดเมื่อย น้ำพริกปลาช่อน น้ำจิ้มอาหารนึ่งหรือทอดสูตรต่างๆ โดยให้ผู้เข้าอบรมได้ชิมแล้วให้คะแนนความชอบน้ำจิ้มแต่ละสูตรเปรียบเทียบกับน้ำจิ้มที่มียี่ห้อจากห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีการติชมไปตามความชอบของแต่ละคน รองศาสตราจารย์ ดร.กมล เลิศรัตน์ กล่าวถึง การฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง การผลิตและการแปรรูปข้าวโพด พริก มะเขือเทศ ในครั้งนี้ว่า “หลังจากที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการวิจัยพัฒนาพันธุ์ พัฒนาระบบแล้ว เราก็นำชาวบ้านมาเรียนรู้แล้วนำไปขยายผล ก็คือ เมื่อมีผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนในแง่ของการพัฒนาพันธุ์ และได้พันธุ์แล้ว จะเอาพันธุ์ไปทำอะไรได้บ้าง ปัจจุบันเมื่อสร้างผลงานแล้วต้องมีคนมานำไปใช้ นี่คือการขยายผล จึงนำกลุ่มที่ สวทช.มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆในแต่ละจังหวัดซึ่งมีโครงการขยายผลงานวิจัยมาเรียนรู้แล้วนำไปขยายผลต่อ โดยที่ เมื่อ สวทช.ให้การสนับสนุนทุนวิจัยทั่วประเทศแล้ว ก็ต้องนำผลงานวิจัยที่ได้มานั้น กลับลงไปให้ถึงชาวบ้านได้ใช้ ไม่ใช่วิจัยไว้บนหิ้งเท่านั้น คือเมื่อให้ทุนวิจัยแล้วก็ต้องนำผลงานวิจัยส่งออกไปด้วยนั่นเอง” รศ.ดร.กมล กล่าวต่ออีกว่า “เมื่อการวิจัยเป็นรูปธรรมแล้วชาวบ้านสามารถจับต้องได้ อย่างกรณีการทำข้าวโพดเป็นคอนนัท ถ้าหากนำไปทำแล้วมีการขยายผลต่อจนถึงระดับการค้าในท้องถิ่นได้ยิ่งดีมากๆ และสิ่งที่เราทำอยู่นี้เป็นไปในแนวของสุขภาพ โดยขั้นต่ำสุด เพียงให้เขาทำกินในหมู่บ้านก็จะช่วยลดการใช้ยารักษาโรคลงไปได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งข้าวโพดเป็นพืชหนึ่งในหลายๆพืชที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันอยู่แล้ว ในกรณีนี้ เมื่อมีการนำผลการวิจัยไปใช้แล้วส่งต่อถึงผู้บริโภค ผลโดยตรงก็คือทำให้มีรายได้ และผลโดยอ้อมก็คือมีส่วนช่วยในเรื่องของสุขภาพ มีการสร้างอาชีพใหม่ สร้างสินค้าชนิดใหม่ คือใช่มีแต่เพียงต้มข้าวโพดสดเท่านั้น เมื่อเป็นเมล็ดแห้งก็ยังแปรรูปได้อีก เช่นทำคอนนัท ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกมากมาย อย่างเช่นพริก ก็แปรรูปเป็นซอสสำหรับจิ้มอาหารได้ ซึ่งในปัจจุบันประเด็นหนึ่งของงานวิจัยคือต้องมองให้ทะลุว่า จะหาทางนำออกไปใช้จนถึงผู้บริโภคแบบสมบูรณ์ได้อย่างไร ซึ่งการวิจัยในอดีต มักหยุดอยู่แค่เพียงได้พันธุ์ใหม่เท่านั้น แต่รูปแบบของงานวิจัยพืชอาหารในอนาคตจะต้องมองให้ทะลุจนถึงขั้นสุดท้าย ที่เรียกว่า จากไร่นาถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Table) หรือ จากไร่นาสู่ช้อน ( From Farm to Fork) นั่นเอง” ... [01/11/2012]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
1354 people like this