13252
มข.หนุนเกษตรกร ใช้เทคโนโลยีชีวภาพลดต้นทุนอาหารและเพิ่มการสืบพันธุ์โคนม

ia

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ผู้ให้ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการการให้อาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนม-โคเนื้อ ให้แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด จำนวน 38 ราย เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการด้านอาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมและโคเนื้อ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดการอบรม โดยมีวิทยากรหลักในการบรรยาย คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระ ฤทธิรอด รองผู้อำนวยการฝ่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทีมวิทยากรดำเนินการฝึกอบรมอีก14 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ กล่าวว่า “การอบรมหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินการอยู่ ถือว่าเป็นภารกิจหรือบทบาทหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่ 4 ภารกิจหลัก คือ 1)การเรียนการสอน 2)การวิจัย 3)การถ่ายทอดให้ความรู้หรือการบริการวิชาการ และ 4)การบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งวันนี้ ถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งที่คณะเกษตรศาสตร์ ได้มาทำให้เกิดโครงการอบรมนี้ขึ้น ปัญหาเรื่องการผลิตน้ำนม หลักๆก็คือการคัดเลือกสายพันธุ์ ถ้าหากมีสายพันธุ์โคที่ดี เรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการเพิ่มน้ำนมก็จะสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ทั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์บริการวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ สหกรณ์โคนมขอนแก่น และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ รวมทั้งคณะผู้จัดงานทุกท่าน ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย” ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “คิดว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรเป็นหลัก เพราะว่า 1)งานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ทำขึ้นมานั้นมีมาก แต่การที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอาจยังมีข้อจำกัดอยู่ เพราะฉะนั้น โครงการนี้ได้นำผลการวิจัยทางด้านโคนม มาผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และ 2) ถือว่าทำให้บทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เป็นที่พึ่งให้ชุมชนเกษตรกรโดยเฉพาะทางภาคอีสานที่มีความชัดเจนมากขึ้น” “และคิดว่า โครงการนี้ จะเป็นประโยชน์และน่าจะเป็นตัวอย่างให้งานวิจัยด้านอื่นๆ มีการผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ได้ต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ กล่าวในที่สุด รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการการให้อาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนม-โคเนื้อ กล่าวว่า “โครงการมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยที่ทำมาเพื่อเผยแพร่ให้กับสมาชิกสหกรณ์โคนม ได้นำไปใช้ในการลดต้นทุนการผลิต เพราะปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตเทียบกับราคาที่ขายนมได้นั้น ต่างกันอยู่เพียง 1 บาท เพราะฉะนั้น ต้นทุนการผลิตจะต้องลดลง ยิ่งต่อไปจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ค่าจ้างแรงงานที่จะปรับเป็น 300 บาทต่อวัน ต้นทุนการผลิตก็จะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจะอยู่รอดได้ ก็ต้องลดต้นทุนการผลิตลง ซึ่งปัญหาเกี่ยวข้องที่สำคัญที่สุดของเกษตรกรเลี้ยงโคนมก็คือ แม่โคผสมไม่ติด จึงต้องใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว” รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระ ฤทธิรอด กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ว่า “การบริการวิชาการเป็นหนึ่งในภารกิจของมหาวิทยาลัย และในฐานะที่มาจากศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโอกาสที่ได้เห็นข้อเท็จจริง ทั้งได้พูดคุยกับประธานสหกรณ์โคนม และนักวิชาการที่มาให้บริการวิชาการ ทำให้ได้เห็นจุดเชื่อม เสริมความเข้มแข็งของงานบริการวิชาการ โดยจะนำไปรายงานต่อผู้อำนวยการศูนย์ หรือเสนอต่อด้านนโยบายเพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น" การจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการการให้อาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนม-โคเนื้อ” ในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของโคนมมีแนวโน้มที่ลงลด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคนมที่เลี้ยงในสภาพแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พิจารณาได้จากข้อมูลของ กรมปศุสัตว์ (2554) พบว่า ปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ที่ลดลงของโคนมที่เลี้ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศูนย์ขอนแก่น) เทียบกับโคนมที่เลี้ยงทั้งหมดในประเทศไทย มีอยู่ 4 ปัญหา คือ 1) อัตราการผสมติดครั้งแรกในแม่โคนม (first service) อยู่ในระดับต่ำ (42.9 เทียบกับ 53.9%) 2) อัตราการผสมติดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (42.9 เทียบกับ 51.6% 3) มีจำนวนวันท้องว่างที่ยาวนาน (113 เทียบกับ 98 วัน) และ 4) ใช้จำนวนครั้งที่ผสมเทียมต่อการผสมติดมาก (2.3 เทียบกับ 2 ครั้ง) ดังนั้นปัญหาการผสมไม่ติดหรืออัตราการผสมติดต่ำของโคนมหลังคลอดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการแก้ไขเพื่อทำให้แม่โคกลับมาตั้งท้องภายใน 98 วัน หลังคลอด ซึ่งสอดคล้องกับไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ และคณะ (2550) และ Navanukraw et al. (2010) พบว่า ปัญหาการเป็นสัดไม่สม่ำเสมอ ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุดสำหรับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมใน จังหวัดขอนแก่น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่อง การผสมพันธุ์และการผสมไม่ติดจึงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด การลดต้นทุนการผลิตโคนม-โคเนื้อ โดยการประยุกต์ผลงานวิจัยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ เช่น การเหนี่ยวนำการตกไข่และการกำหนดเวลาผสมเทียม (synchronization of ovulation and timed artificial insemination) การผสมพันธุ์ (breeding) การคัดเพศ(sexing) การจัดการการให้อาหาร (feeding management) และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (meat and milk product processing) ดังนั้นโครงการฯนี้ จึงมีลักษณะเป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (action research, development and technology transfer project) โดยการประยุกต์ใช้ผลงานที่ต่อยอดเสร็จเรียบร้อยและสามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่ภาคชุมชน/สังคมในเชิงพาณิชย์ได้ทันที โดยมีความจำเป็นในการศึกษาวิจัยถึงความคุ้มค่า/ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจด้วย โดยวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการด้านอาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมและโคเนื้อ ซึ่งมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อ สามารถนำไปปฏิบัติได้ก็คือ 1)การใช้วิธีเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียม โดยใช้โปรแกรมการผสมเทียมแบบกำหนดเวลาแบบประยุกต์ 2) การจัดการโคนมหลังการผสมเทียมเพื่อควบคุมการทำงานของรังไข่และฟอลลิเคิล และ 3)การจัดการการให้อาหารโคนมหลังคลอดเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์ ... [13/10/2012]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
1332 people like this