6230
ศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ โครงการฝึกอบรม “เรื่องเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รุ่นที่ 11” ณ ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ia

  • เมื่อวันที่ 25-27 กันยายน 2557 ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) ได้จัดโครงการฝึกอบรม “เรื่องเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รุ่นที่ 11” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนเกษตรกรเข้าร่วมฝึกอบรมกว่า 150 คน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุพิน ผาสุข รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นประธานพิธีเปิด ทีมวิทยากรบรรยายโดย รองศาสตราจารย์บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา นางสาวนริศรา สวยรูป และนางสาวศรัญญา ศิริปัญญา และทีมงานในการจัดฝึกอบรมร่วมไปด้วย คือ นางสาวจิราวรรณ ปัดอาสา และนายกฤษฎา เจริญมูล นายฤทธิ์ สุดโต โดยมีหัวข้อการฝึกอบรมที่สำคัญ อาทิ ประวัติความเป็นมา แหล่งกำเนิด ลักษณะประจำพันธุ์ไก่พันธุ์ประดู่หางดำและพันธุ์ชี การจัดการผสมพันธุ์ การฟักไข่ การจัดการเลี้ยงดูไก่พื้นเมือง อาหารและการให้อาหาร การให้วัคซีน การถ่ายพยาธิภายในและการกำจัดพยาธิภายนอก เทคโนโลยีการจัดการเลี้ยงดูไก่พื้นเมืองในชนบท และการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไก่พื้นเมือง เป็นต้น การจัดฝึกอบรมเรื่อง เทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รุ่นที่ 9 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการจัด คือ เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรโดยเฉพาะไก่พื้นเมืองสู่ชุมชน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการเกษตรกับบุคคลที่เข้าร่วมงาน เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนกับเกษตรกรและคนในชุมชน และเพื่อเป็นแหล่งรายได้ให้กับเกษตรกรและคนในชุมชน ซึ่งทางศูนย์เครือข่ายวิจัยฯมองเห็นประโยชน์คาดว่าจะได้รับ หลังจากการฝึกอบรมดังนี้ 1) ผลผลิตหรือผลตอบแทนที่เกิดขึ้นโดยตรง 1.1 เกษตรกรสามารถจัดการการผลิตสัตว์ปีก ทำให้มีผลผลิตดีขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนในครัวเรือน 1.2 เกษตรกรสามารถเพิ่มรายในการขายไก่พื้นเมือง และสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ 1.3 สามารถผลิตจุดเรียนรู้การผลิตไก่พื้นเมืองพันธุ์ดี ทำให้เกษตรกรรายใหม่ผลิตพันธุ์ไก่พื้นเมืองเพิ่มขึ้น 2) ผลผลิตหรือผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทางอ้อม 1.1 วิถีชีวิตของเกษตรกรเป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แบบยั่งยืนของเกษตรกรทำการเกษตรควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ เกิดการเกื้อกูลทั้งรายได้ และขบวนการผลิต 1.2 ระบบนิเวศน์เข้าสู่ความสมดุล กำจัดวัสดุเหลือใช้และศัตรูทางการเกษตรโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งเกิดผลเสียอย่างกว้างขวางแล้วในปัจจุบัน ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) นำไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 ลงพื้นที่ เพื่อแจกจ่ายเกษตรกรที่มาฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบ “ธนาคารไก่พื้นเมือง” ซึ่งรูปแบบจะเป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นโดยเกษตรกรและเพื่อเกษตรกรโดยระยะแรกศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้คำแนะนำ ฝึกอบรม เทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และหลักการจัดตั้งธนาคารไก่พื้นเมือง และให้เกษตรกรยืมไก่พื้นเมือง อายุ 4-6 สัปดาห์ เป็นเวลา 1 ปี เกษตรกรจะต้องคืนไก่พื้นเมืองแก่ธนาคารในจำนวนที่เกษตรกรกู้ยืมไป เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม เรื่อง เทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ยืมไก่พื้นเมืองจากธนาคารไก่พื้นเมือง จำนวน 5 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 3 ตัว) /คน เกษตรกรแต่ละคนจะต้องเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยเอาใจใส่อย่างดี เพื่อจะได้สามารถคืนไก่พื้นเมือง อายุ และจำนวน เท่ากับที่ยืมจากธนาคาร หลังจากที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองชุดนี้เป็นเวลา 1 ปี เมื่อได้ไก่คืนจากเกษตรกรผู้ยืมแล้วธนาคารไก่พื้นเมือง ก็สามารถนำไก่เหล่านี้ไปส่งเสริมให้เกษตรกรรายอื่น (แต่ต้องเป็นสมาชิกของธนาคาร)เลี้ยงต่อไป โครงการธนาคารไก่พื้นเมืองนอกจากจะกระตุ้นให้สมาชิกธนาคารเลี้ยงดูไก่พื้นเมืองอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบเป็นรายได้เสริม และการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพหลักต่อไป ... [27/09/2014]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
497 people like this