9714
ทีมข่าว ททบ.5 เข้าสัมภาษณ์ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ เรื่อง"ไก่ไทยสายพันธุ์พัฒนา"

ia

  • เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 ทีมข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) เข้าสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์(ไก่พื้นเมือง) ในประเด็นเรื่อง “ไก่ไทยสายพันธุ์ใหม่ 4 สายพันธุ์” ซึ่งทางศูนย์เครือข่ายวิจัยฯ(ไก่พื้นเมือง)ได้ทำการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่ โดยการใช้ประโยชน์จากไก่พื้นเมืองพันธุ์ “ชี เคเคยู12” โดยผสมกับไก่ทางการค้าจากบริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด ซึ่งได้ออกเป็นไก่ไทย 4 สายพันธุ์ ได้แก่ แก่นทอง,สร้อยนิล,สร้อยเพชร และไข่มุกอีสาน โดยในแต่ละสายพันธุ์จะให้สมรรถนะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
    1.ไก่ไทยสายพันธุ์แก่นทอง จะให้ลักษณะที่โดดเด่นคือไข่ดก เหมาะกับการนำไปเลี้ยงไก่ปล่อยแปลงเพื่อทำเป็นไข่อินทรีย์
    2. ไก่ไทยสายพันธุ์สร้อยนิล จะมีลักษณะที่โดดเด่นคือ กึ่งเนื้อกึ่งไข่ กล่าวคือ สามารถนำไปเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งเนื้อและไข่
    3. ไก่ไทยสายพันธุ์สร้อยเพชร จะให้ลักษณะที่โดดเด่นเช่นเดียวกันพันธุ์สร้อยนิล
    4. ไก่ไทยสายพันธุ์ไข่มุกอีสาน จะให้ลักษณะที่โดดเด่นคือมีอัตราการเจิญเติบโตเร็ว ให้เนื้อมาก เหมาะแก่การนำไปทำเป็นไก่เนื้อไทยในอนาคต
    ไก่ไทยทั้ง 4 สายพันธุ์นั้นจะมีชื่อพันธุ์แล้วลงท้ายด้วยเคเคยู 50 เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    โดยในการสัมภาษณ์จากทางทีมข่าวช่อง 5 นั้น นอกจากจะมีการสัมภาษณ์ถึงที่มาต่างๆ ของพันธุ์ไก่แล้วนั้น ยังมุ่งประเด็นไปถึงอื่นๆ เกี่ยวกับไก่พื้นเมืองโดยเฉพาะเรื่องการตลาดและผลประโยชน์ที่เกษตรจะได้รับอีกด้วย
    ในเรื่องตลาดของไก่พื้นเมืองและลูกผสมไก่พื้นเมืองนั้นยังเป็นตลาดที่มีความต้องการอยู่มาก เนื่องจากทุกวันนี้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งไก่พื้นเมืองนั้นมีไขมันต่ำ โปรตีนสูง หนังบาง แถมยังมีรสชาติที่อร่อยต่างจากไก่เนื้อจากต่างประเทศมาก แนวโน้มที่ผู้คนจะหันมากินไก่พื้นเมืองก็มีมากขึ้นเรื่อยๆดังที่เราจะเห็นได้ตามตลาดหรือตลาดท้องถิ่นที่ไก่พื้นเมืองจะมีราคาที่สูงและยังขาดตลาดอีกด้วย ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งของไก่พื้นเมืองคือการผลิตในแต่ละรุ่นไม่สามารถผลิตได้ในปริมาณมากแถมยังมีอัตราการเจริญเติบโตช้า
    ไก่ไทยสายพันธุ์ใหม่จึงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยทีมนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถและมากประสบการณ์ในหลายๆด้านมาร่วมมือกัน รวมไปถึงการรับฟังเหตุผลและปัญหาต่างๆที่ได้รับจากเกษตรกรในเรื่องไก่พื้นเมืองรวมไปถึงปัญหาเรื่องค่าครองชีพ เรื่องต้นทุนการผลิตที่จะถีบตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ที่เกษตรกรไม่สามารถแบกรับภาระได้ด้วยเนื่องด้วยเกษตรทางพันธะสัญญาต่างๆที่ค่อนข้างไม่เป็นธรรม การถือกำเนิดของไก่ไทยสายพันธุ์ใหม่นั้นจึงถือเป็นความหวังอย่างแท้จริงกับเกษตรกรที่สนใจในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
    ซึ่งไก่ไทยสายพันธุ์ใหม่นี้ก็เป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงได้ตามหลังบ้านทั่วไป สามารถหาอาหารกินเองได้ และสามารถผสมและแพร่พันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เกษตรกรที่เลี้ยงก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไปได้ รวมถึงค่าอาหารในการเลี้ยงที่เราสามารถเลี้ยงได้โดยให้อาหารเม็ดผสมกับอาหารตามที่หาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งตรงนี้ก็สามารถลดต้นทุนไปได้มาก รวมไปถึงไก่ยังมีลักษณะที่ทนร้อน ทนทานต่อโรคต่างๆด้วย ... [27/03/2015]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2
  • Reported/Photo by: ฤทธิ์ สุดโต / ฤทธิ์ สุดโต
542 people like this