7409
คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาฯ สถานีทดลองและฝึกอบรมร้อยเอ็ด และกองพลทหารราบที่ 6 โครงการฝึกอบรมเรื่องเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

ia

  • วันที่ 3 มิถุนายน 2558 คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) สถานีทดลองและฝึกอบรมร้อยเอ็ด และกองพลทหารราบที่ 6 ได้จัดโครงการฝึกอบรมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รุ่นที่ 15 ณ กองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านโสกเชือก ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวนทหารเข้าร่วมฝึกอบรม กว่า 50 นาย โดยมีผศ.ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม ผู้อำนวยการสถานีทดลองและฝึกอบรมร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม ทีมวิทยากรบรรยายโดย รศ.ดร.เทวินทร์ วงษ์พระลับ นางสาวนริศรา สวยรูป และนางสาวศรัญญา ศิริปัญญา และมีทีมงานในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ คือ นางสาวจิราวรรณ ปัดอาสา นางสาวติรชล อังสันทัดสุข และนายกฤษฎา เจริญมูล โดยมีหัวข้อการฝึกอบรมที่สำคัญ อาทิ ประวัติความเป็นมา แหล่งกำเนิด ลักษณะประจำพันธุ์ไก่พันธุ์ประดู่หางดำและพันธุ์ชี การจัดการผสมพันธุ์ การฟักไข่ การจัดการเลี้ยงดูไก่พื้นเมือง อาหารและการให้อาหาร การให้วัคซีน การถ่ายพยาธิภายในและการกำจัดพยาธิภายนอก เทคโนโลยีการจัดการเลี้ยงดูไก่พื้นเมืองในชนบท และการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไก่พื้นเมือง เป็นต้น การจัดฝึกอบรมเรื่อง เทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง รุ่นที่ 15 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการจัด คือ เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรโดยเฉพาะไก่พื้นเมืองสู่ชุมชน รับฟังข้อคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการเกษตรกับบุคคลที่เข้าร่วม เป็นแหล่งอาหารโปรตีนกับค่ายทหารและคนในชุมชนรอบค่ายทหาร และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและคนในชุมชนรอบค่ายทหาร ซึ่งทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนกัน มองเห็นประโยชน์คาดว่าจะได้รับ หลังจากการฝึกอบรมดังนี้ 1) ผลผลิตหรือผลตอบแทนที่เกิดขึ้นโดยตรง 1.1 เกษตรกรสามารถจัดการการผลิตสัตว์ปีก ทำให้มีผลผลิตดีขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนในครัวเรือน 1.2 เกษตรกรสามารถเพิ่มรายในการขายไก่พื้นเมือง และสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ 1.3 สามารถผลิตจุดเรียนรู้การผลิตไก่พื้นเมืองพันธุ์ดี ทำให้เกษตรกรรายใหม่ผลิตพันธุ์ไก่พื้นเมืองเพิ่มขึ้น 2) ผลผลิตหรือผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทางอ้อม 1.1 วิถีชีวิตของเกษตรกรเป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แบบยั่งยืนของเกษตรกรทำการเกษตรควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ เกิดการเกื้อกูลทั้งรายได้ และขบวนการผลิต 1.2 ระบบนิเวศน์เข้าสู่ความสมดุล กำจัดวัสดุเหลือใช้และศัตรูทางการเกษตรโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งเกิดผลเสียอย่างกว้างขวางแล้วในปัจจุบัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 ไก่อายุ 1 สัปดาห์ จำนวน 95 ตัว และไก่พื้นเมืองพันธุ์ ชี เคเคยู 12 อายุ 4 เดือน จำนวน 23 ตัว พร้อมด้วยวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเลี้ยงดู ไก่พื้นเมืองมอบให้กองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตร เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างอาชีพชุมชนและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรให้กับทหาร เกษตรกรและบุคคลที่สนใจ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของประเทศชาติ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาต่อหมู่บ้านรอบค่ายทหารได้อย่างยั่งยืนต่อไป ... [03/06/2015]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
304 people like this