13271
คณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ia

  • เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.45 น. ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิทยากรโดย ดร.วิไลลักษณ์ ชินะจิตร บรรยายในหัวข้อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น และ นางฐิติพร พิทยาวุธวินิจ บรรยายในหัวข้อ กล้วยไม้ การจำแนก การผลิตเพื่อการค้า และการอนุรักษ์พันธุ์ หลังจากนั้นเป็นการฝึกปฏิบัติการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ การผสมเกสรกล้วยไม้ การฟอกฆ่าเชื้อฝักและเนื้อเยื่อกล้วยไม้ การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ การย้ายเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณ การย้ายปลูก และดูแลรักษาต้นกล้ากล้วยไม้ มี นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ จำนวน 17 คน ณ ศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำรายได้จากการส่งออกมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจัยสำคัญเนื่องมาจากได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่การปลูกเลี้ยง การปรับปรุงพันธุ์ และการขยายพันธุ์ เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีบทบาทสำคัญต่อการขยายพันธุ์กล้วยไม้ในเชิงการค้า ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้ในปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว ในส่วนของการปรับปรุงพันธุ์ การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ จะทำให้ได้ต้นอ่อนมากกว่าการเพาะในสภาพธรรมชาติประมาณ 90% เทคนิคการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ ยังมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ซึ่งพบในประเทศไทย จำนวน 1,176 ชนิด และมีการกระจายพันธุ์อยู่เป็นจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ของศูนย์ศึกษาค้นคว้าฯ ดำเนินงานวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว และในช่วงที่ผ่านมา มีนักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป มาติดต่อขอความรู้ ขอศึกษาดูงานอยู่เนืองๆ ซึ่งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงเพื่อเพื่อให้ความรู้และประสบการณ์ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเข้าสู่ระบบงานการผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการอีกด้วย

    การให้ความรู้และทักษะการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการประกอบอาชีพ งานอดิเรก และช่วยปลูกฝังความคิดด้านการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดน้อยลงในสภาพธรรมชาติต่อไป ... [10/08/2015]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: กรรณิการ์ / กรรณิการ์
596 people like this