15197
นักวิจัยคณะเกษตรฯ มข. ร่วมประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ โชว์พันธุ์พืชใหม่

ia

  • นักวิจัยจากภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ รศ.ดร.บุญมี ศิริ รศ.ดร.สุชีลา เตชะวงค์เสถียร รศ.ดร.เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล และ ผศ.ดร.พลัง สุริหาร ได้เข้าร่วมประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นประธานเปิดงาน โดยมีนักวิชาการ และนักวิจัยจาก บริษัทเมล็ดพันธุ์ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปพริก มะเขือเทศ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ผู้ส่งออกแตงกวาดองไปยังตลาดยุโรป บริษัทยา สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องประชุมอาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยการจัดประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสรุปความก้าวหน้าในภาพรวมของคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ รับฟังนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยในอนาคต รับทราบความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้นักวิจัยและภาคเอกชนได้จับคู่ในการเจรจาการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างโจทย์วิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และ เพื่อให้บุคคลทั่วไปทั้งภาคเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ได้รับทราบข้อมูล เทคโนโลยีด้านพันธุ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดอาชีพและรายได้ต่อไป ซึ่งมีลักษณะการจัดงาน คือ การบรรยาย และการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการเข้าร่วมประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ ครั้งนี้ รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ ได้เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ในหัวข้อ ศักยภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยในมิติของภาคเอกชนและเกษตรกร เรื่อง ความสำเร็จของบริษัทเมล็ดพันธุ์ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ โดย ผู้แทนบริษัทเมล็ดพันธุ์ และมุมมองของเกษตรกรกับอาชีพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพดและเมล็ดพันธุ์ผัก พร้อมทั้งร่วมอภิปราย เรื่อง จากเชื้อพันธุกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียนและหวานสายพันธุ์ใหม่ โดยที่ รศ.ดร.สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร อภิปรายเรื่อง การบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศรับประทานผลสดที่มีคุณภาพในการบริโภคดี และ เรื่อง พันธุ์พริกที่มีสารเผ็ดสูงและการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา อาหารเสริมและอาหารสัตว์ พร้อมกันนี้ รศ.ดร.เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล ได้อภิปรายเรื่อง สารชีวภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงกระตุ้นการเจริญเติบโตและควบคุมโรคในกลุ่มพืชผัก สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการพันธุ์พืชใหม่ ผลิตภัณฑ์แปรรูป และเทคโนโลยี พันธุ์พืชใหม่ที่มีศักยภาพและผลิตภัณฑ์แปรรูป ประกอบด้วย -พันธุ์ข้าวโพดหวานฝักเล็กลูกผสม พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำ พันธุ์ข้าวโพดเทียนสายพันธุ์ใหม่ -พันธุ์ข้าวโพดหวานสีแดงสายพันธุ์ใหม่ -พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ศักยภาพสูง -เชื้อพันธุกรรมพริกที่มีความหลากหลายและต้านทานโรคแอนเทรคโนส โรครากปม ไวรัส และเหี่ยวเขียว -พันธุ์พริกลูกผสมต้านทานโรคแอนแอนเทรคโนส -พันธุ์พริกต้านทานโรคใบด่างประ (CVMV) และโรคเหี่ยวเขียว -พันธุ์พริก “อัคนีพิโรธ” ที่มีความเผ็ดสูง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหารสัตว์ -พันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่เกสรตัวผู้เป็นใหม่สำหรับการผลิตพริกลูกผสม -พันธุ์มะเขือเทศอุตสาหกรรมต้านทานโรคใบหงิกเหลืองและโรคเหี่ยวเขียว -พันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลเล็กและผลใหญ่คุณภาพดี -พันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลเล็กต้านทานโรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว และโรครากปม -เชื้อพันธุกรรมแตงกวาและพันธุ์แตงกวาต้านทานโรคราน้ำค้างและไวรัส และพันธุ์ฟักทองคุณภาพสูง -แตงกวาสายพันธุ์กระเทยเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม โดยที่มาของการจัดการประชุมคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ เนื่องจาก สวทช. เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ จึงได้จัดตั้งโปรแกรมวิจัยเมล็ดพันธุ์ เป็นหนึ่งในโปรแกรมมุ่งเป้าภายใต้คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร ในแผนกลยุทธ์สวทช. ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2549 – 2553 ) โดยกำหนดแผนงานหลักของโปรแกรมให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์เมล็ดพันธุ์ มีการบูรณาการทำงานร่วมกับกลุ่มคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ ถึงแม้คลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ไม่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมอยู่ในกลุ่มคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์มากกว่า 75 หน่วยงาน (ภาครัฐ และสถาบันการศึกษา 15 หน่วยงาน และภาคเอกชน 60 บริษัท) ผลการดำเนินงานในภาพรวมของคลัสเตอร์ที่สำคัญได้แก่ การสนับสนุนการบริหารจัดการและการประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช (พริก มะเขือเทศ แตงกวา และข้าวโพด) การให้บริการฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมพืชผ่านเว็บไซต์ www.biotec.or.th/germplasm การถ่ายทอดเชื้อพันธุกรรมพืชที่ผ่านการประเมินไม่ต่ำกว่า 1,000 สายพันธุ์ แก่นักปรับปรุงพันธุ์ทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างความสำเร็จ เช่น ภาคเอกชนนำเชื้อพันธุกรรมพริกเกสรตัวผู้เป็นหมันต่อยอดเป็นพันธุ์ลูกผสมการค้า ภาคเอกชนหลายบริษัทขอรับการถ่ายทอดพันธุ์ข้าวโพดหลายสายพันธุ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อไปต่อยอดเชิงการค้า การร่วมวิจัยกับภาคเอกชนใน 14 โครงการวิจัย การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์ เช่น การปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวต้านทานโรคไวรัสร่วมกับบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด การสร้างเครือข่ายการทดสอบพันธุ์ข้าวโพดไร่ร่วมกับกลุ่ม SME ทางภาคเหนือ ส่งผลให้พันธุ์ข้าวโพดไร่ “นครสวรรค์ 3” ซึ่งเป็นพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กรมวิชาการเกษตร ขยายผลสู่ภาคเอกชนและเกษตรกร สร้างผลกระทบเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท การสร้างเครือข่ายการทดสอบพันธุ์ร่วมกับประเทศจีน การสนับสนุนด้านการผลิตนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในภาคเอกชนต่อไป การดำเนินงานโปรแกรมวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2554 – 2559 ) เน้นสร้างผลงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ของประเทศ โปรแกรมมีเป้าหมาย มุ่งเน้นสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ การสร้างสายพันธุ์พ่อแม่ของไทยเอง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง และลดความสูญเสีย กลยุทธ์การดำเนินงานมุ่งการร่วมวิจัยกับภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนวิจัยและพัฒนามากขึ้น การสร้างขีดความสามารถให้ภาคเอกชนใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเร็วขึ้น การพัฒนาบุคลากรโดยเน้นความร่วมมือกับภาคเอกชน สนับสนุนภาคเอกชนรายย่อย โดยสร้างเครือข่ายการทดสอบพันธุ์ในต่างประเทศ เพื่อให้เอกชนรายย่อยมีโอกาสส่งพันธุ์ไปทดสอบศักยภาพ ตลอดจนนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ผลักดันให้มีการยกระดับหน่วยบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมในระดับชาติ ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากภาคเอกชนสามารถพัฒนาต่อยอดและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เกิดความยั่งยืนและความมั่นคงของอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้คาดว่าผลกระทบจากการวิจัยและพัฒนา นอกจากเพิ่มมูลค่าการส่งออกเป็น 5,000 ล้านบาทแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคเอกชนและเกษตรกรเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท ... [12/02/2013]




    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: /
1152 people like this