1302
กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมกลุ่มวิจัยฯ ครั้งที่ 3/2561

ia

  • เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุม สาขาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เวลา 13.00 – 16.00 น. กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ หัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ดร. บรรยง ทุมแสน ที่ปรึกษากลุ่มวิจัยฯ พร้อมด้วยนักวิจัยของกลุ่มวิจัยฯ ได้แก่ ดร.ธนภัทร์สกรณ์ สุกิจประภานนท์ อาจารย์จากสาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข. ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.เสาวคนธ์ เหมวงษ์ จากมหาวิทยาลัยนครพนม และดร.รติกร แสงห้าว จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รวมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของกลุ่มวิจัยฯ 4 คน และผู้ช่วยวิจัยของกลุ่มวิจัยฯ 3 คน จัดการประชุมกลุ่มวิจัยครั้งที่ 3/2561 เพื่อรายงานและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งร่วมวางแผนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของการวิจัยและการเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ การวิจัยเชิงพื้นฐานและเชิงประยุกต์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

    การจัดประชุมกลุ่มวิจัยฯ ในครั้งนี้ เป็นการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกลุ่มวิจัยฯ ในรอบสองเดือน (เมษายน-พฤษภาคม 2561) และเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวความคิดในการวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และรักษาสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะการลดก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน เป็นต้น ในบรรยากาศ ผ่านทางการสร้างและสะสมอินทรียวัตถุหรืออินทรีย์คาร์บอนของดิน โดยการรายงานของนักวิจัย ผู้ช่วยวิจัยและนักศึกษาในกลุ่มวิจัยฯ ซึ่งผลงานในรอบสองเดือนนี้ กลุ่มวิจัยฯ สามารถผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในฐาน Scopus ได้อีก 1 ฉบับ คือ บทความวิจัยเรื่อง Charcoal production and distribution as a source of energy and its potential gain as a soil amendment in Northeast Thailand ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Pertanika กิจกรรมการใส่สารอินทรีย์ที่แปลงทดลองระยะยาว (ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต. ท่าพระ) ซึ่งการใส่ครั้งนี้เป็นการเริ่มรอบปีที่ 24 ของการใส่อย่างต่อเนื่องปีละครั้ง แปลงการทดลองระยะยาวนี้ได้ใช้เป็นสถานที่วิจัยและให้วัสดุในการทำวิจัย ทำให้สามารถสร้างองค์ความรู้ต่อยอดและต่อเนื่องมา นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าด้านการสร้างบัณฑิตซึ่งมีนศ. ระดับปริญญาโท สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม สังกัดกลุ่มวิจัยฯ ผ่านการสอบวิทยานิพนธ์อีก 1 คน และแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม ซึ่งกลุ่มวิจัยฯ ได้วางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ ในหัวข้อ “การถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตและการใช้ถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้ในครัวเรือน และการผลิตพืชอย่างยั่งยืน” ที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างสมาชิกกลุ่มวิจัยฯ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยนครพนม การจัดประชุมกลุ่มวิจัยฯ เป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยร่วมมือกันสร้างผลงานเพื่อให้กลุ่มวิจัยฯ มีค่าคะแนนที่สะท้อนประสิทธิภาพของการวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิจัยฯ ได้รับประโยชน์ ในขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะมหาวิทยาลัยวิจัย และเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์สู่สังคม ... [15/06/2018]





    ia .ia2 .ia3 .ia3
    ia2 .ia3 .ia3
  • Reported/Photo by: ชุติกาญจน์ ทรายลิยา / ชุติกาญจน์ ทรายลิยา
51 people like this